รายชื่อสมุหราชองครักษ์ของไทย

สมุหราชองครักษ์ กำเนิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเดิมเรียกว่า "นายทหารรักษาพระองค์" โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิบัติหน้าที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาท พิทักษ์รักษาความปลอดภัยแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในกาลต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ที่จะต้องมีราชองครักษ์ไว้ปฏิบัติราชการสนองพระเดชพระคุณโดยใกล้ชิด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คัดเลือก นายทหารรักษาพระองค์มาจากกรมทหามหาดเล็กรักษาพระองค์และทรงพระราชทานนามนายทหารเหล่านี้ว่า "ราช-แอด-เดอ-แกมป์" จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2434 ได้เปลี่ยนนามเป็น "ราชองครักษ์" เมื่อจำนวนราชองครักษ์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เป็นระเบียบแบบแผนสืบไปจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติราชองครักษ์ ร.ศ. 117 ขึ้น เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2441 ให้ตั้งราชองครักษ์เป็นกรมหนึ่ง ขึ้นอยู่ในกรมยุทธนาธิการ มีสมุหราชองครักษ์เป็นผู้รับผิดชอบราชองครักษ์ทั้งปวง

สมุหราชองครักษ์
ตราประจำกรมราชองครักษ์
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
ตำแหน่งว่าง

ตั้งแต่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ไทย
วาระตามพระราชอัธยาศัย
ผู้ประเดิมตำแหน่งนายพลโท เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์
สถาปนาพ.ศ. 2441
รองรองสมุหราชองครักษ์
เว็บไซต์http://www.radc.go.th/

รายพระนาม/รายนามสมุหราชองครักษ์ แก้

ลำดับ รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1   พลโท เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) พ.ศ. 2441 พ.ศ. 2452
2   พลตรี พระยาสุรเสนา (หม่อมราชวงศ์ชิต กำภู)[1] พ.ศ. 2452 พ.ศ. 2456
3   พลตรี พระยาเทพอรชุน (อุ่ม อินทรโยธิน) พ.ศ. 2456 พ.ศ. 2460
4   พลเอก เจ้าพระยารามราฆพ พ.ศ. 2460 พ.ศ. 2469
5   พลตรี หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร[2] พ.ศ. 2469 พ.ศ. 2471
6   พลเอก พระยาเทพอรชุน (อุ่ม อินทรโยธิน)[3] พ.ศ. 2471 พ.ศ. 2475
7   พลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ์ สุทัศน์)[4] พ.ศ. 2475 พ.ศ. 2479
8   พันเอก พระสราภัยสฤษฏิการ[5] พ.ศ. 2480 พ.ศ. 2485
9   พลอากาศโท พระศิลปศัสตราคม พ.ศ. 2489 พ.ศ. 2491
10   พลเอก หลวงสุรณรงค์[6] พ.ศ. 2491 พ.ศ. 2507
11   พลเรือเอก หม่อมเจ้ากาฬวรรณดิศ ดิศกุล[7] พ.ศ. 2507 พ.ศ. 2517
12   พลเอก จำเป็น จารุเสถียร พ.ศ. 2517 พ.ศ. 2521
13   พลเรือเอก นิรันดร์ ศิรินาวิน พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2526
14   พลเอก นวล จันทร์ตรี พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2530
15   พลเอก ดำรง สิกขะมณฑล[8] พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2545
16   พลเอก สายัณห์ คัมภีร์พันธุ์[9] พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2560[10]

อ้างอิง แก้

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งสมุหราชองครักษ์(พระยาสุรเสนา)
  2. ประกาศ ตั้งสมุหราชองครักษ์(หม่อมเจ้าอมรทัต กฤษดากร )[ลิงก์เสีย]
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งสมุหราชองครักษ์ (นายพลเอก พระยาเทพอรชุน)
  4. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ปลดสมุหราชองครักษ์
  5. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งสมุหราชองครักษ์และราชองครักษ์ประจำ
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้สมุหราชองครักษ์พ้นจากตำแหน่งและตั้งสมุหราชองครักษ์
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้สมุหราชองครักษ์พ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งสมุหราชองครักษ์
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ให้พลโท ดำรง สิกขะมณฑล เป็นสมุหราชองครักษ์และพลตรี เดชา บุนนาค เป็นรองสมุหราชองครักษ์
  9. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (พลเอก สายัณห์ คัมภีร์พันธุ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-05-25.
  10. พระราชโองการ ประกาศ เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายทหารลาออกจากราชการ (พลเอก สายัณห์ คัมภีร์พันธุ์)

ดูเพิ่ม แก้