พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา)

มหาอำมาตย์ตรี พระยาภะรตราชา [พะ-รด-รา-ชา] นามเดิม หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา (19 ธันวาคม พ.ศ. 2429 – 28 ธันวาคม พ.ศ. 2518) เป็นบิดาของนายกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา อดีตองคมนตรี ผู้บัญชาการ (อธิการบดี) คนที่ 2 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ปลัดเทศบาลนครกรุงเทพคนแรก และอดีตสมาชิกวุฒิสภา

พระยาภะรตราชา
(หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา)
อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
10 ธันวาคม พ.ศ. 2472 – 1 กันยายน พ.ศ. 2475
(2 ปี 265 วัน)
ก่อนหน้าพระยาอนุกิจวิธูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
ถัดไปแอลเลอร์ เอลลิส
ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2486 – 28 ธันวาคม พ.ศ. 2518
(32 ปี 361 วัน)
ก่อนหน้าพระพณิชยสารวิเทศ (ผาด มนธาตุผลิน)
ถัดไปกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 ธันวาคม พ.ศ. 2429
เสียชีวิต28 ธันวาคม พ.ศ. 2518 (89 ปี)
คู่สมรสท่านผู้หญิงขจร ภะรตราชา
บุตรกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา
อายุส อิศรเสนา ณ อยุธยา
สุคนธา โบเยอร์
ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์
บุพการี
  • หลวงราชดรุณรักษ์ (หม่อมราชวงศ์สะอาด อิศรเสนา) (บิดา)
  • นางเอี่ยม อิศรเสนา ณ​ อยุธยา (มารดา)

ประวัติ

แก้

พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) เป็นบุตรของหลวงราชดรุณรักษ์ (หม่อมราชวงศ์สะอาด อิศรเสนา) กับนางเอี่ยม ราชดรุณรักษ์ (สกุลเดิม ตุลยานนท์) เกิดเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2429 ที่บ้านถนนพระสุเมรุ ตำบลผ่านฟ้าลีลาศ อำเภอชนะสงคราม จังหวัดพระนคร[1] เริ่มเรียนหนังสือที่บ้านก่อน แล้วจึงเข้ารับการศึกษาเบื้องต้นต่อที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ (ที่วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร) ต่อมาย้ายไปเรียนที่วัดมหาธาตุและโรงเรียนราชวิทยาลัย (ปัจจุบันคือ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์) ตามลำดับ ปี พ.ศ. 2446 จึงได้รับทุนกระทรวงธรรมการไปศึกษาวิชาครูที่ประเทศอังกฤษ โดยเข้าเรียนที่โรงเรียนเอาน์เดอล และมหาวิทยาลัยลอนดอน และได้เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมลาเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2447[2] พ.ศ. 2453 ก่อนจบการศึกษาเพียงภาคเดียว กระทรวงธรรมการก็เรียกตัวกลับมารับราชการเป็นอาจารย์โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบและโรงเรียนราชวิทยาลัย โดยได้กลับเข้ามาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทที่ พระที่นั่งอภิเศกดุสิต เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2453[3]สอนได้เพียงปีเดียวก็ย้ายไปสอนที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่ตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งต่อมาได้ย้ายไปที่สวนกระจัง (ปัจจุบันคือวชิราวุธวิทยาลัย) ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาการ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอภิบาลบุริมศักดิ์ ถือศักดินา 400[4]

ปี พ.ศ. 2454 ย้ายกลับไปรับราชการกระทรวงธรรมการและเปลี่ยนราชทินนามเป็น หลวงประพันธ์เนติประวัติ เมื่อปี พ.ศ. 2458 ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้ากองสอบไล่วิชา วันที่ 31 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2459 เป็น พระปรีชานุสาสน์ และเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2463 จึงเลื่อนเป็น พระยาภะรตราชา ถือศักดินา 1,600[5] และเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ดูแลนักเรียนไทยในอังกฤษทำหน้าที่ระหว่าง ปี พ.ศ. 2464 – พ.ศ. 2469 รวมเวลา 5 ปี และเป็น 1 ใน 58 ของนักเรียนเก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ ที่ร่วมก่อตั้งสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้นในต่างประเทศ

หลังจากกลับจากประเทศอังกฤษได้มาเป็นเลขานุการเสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ แล้วจึงย้ายไปเป็นคณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2470 ต่อมาอีก 2 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2472 จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คนที่ 2 ต่อจากพระยาอนุกิจวิธูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) และในช่วงเดียวกันได้ทำหน้าที่ผู้รักษาการคณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปพร้อมกัน จนออกจากราชการเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 พระยาภะรตราชาได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดเทศบาลนครกรุงเทพคนแรกในสมัยที่พลเอก เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เป็นนายกเทศมนตรี ต่อมาได้เป็นเทศมนตรีหลายสมัยและเป็นสมาชิกวุฒิสภาสองสมัย ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2486 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย กระทั่งถึงแก่อนิจกรรม รวมเวลาที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวถึง 39 ปี

ชีวิตครอบครัว

แก้

พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) สมรสกับท่านผู้หญิงขจร ภะรตราชา (สกุลเดิม ทับเป็นไทย) คุณข้าหลวงในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2455 โดยจอมพล สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทรงพระกรุณาสวมมงคลและพระราชทานน้ำสังข์ แล้วคู่สมรสได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสนี้ทรงพระมหากรุณาพระราชทานเงินทุนแก่คู่สมรสเป็นจำนวน 100 ชั่ง (8,000 บาท)[6] มีบุตร ธิดารวม 6 คน ดังนี้

ถึงแก่อนิจกรรม

แก้

พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) กราบถวายบังคมลาถึงอนิจกรรมเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ที่เรือนพักในวชิราวุธวิทยาลัย สิริอายุ 89 ปี 9 วัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเกียรติยศพิเศษเสมอด้วยองคมนตรี โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งศพที่ศาลาบัณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พระราชทานพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมของหลวงมีกำหนด 7 คืน สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี พระราชทานพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมมีกำหนด 7 คืน และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชทานพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมอีก 1 คืน แล้วทรงบำเพ็ญพระราชกุศล 50 และ 100 วันพระราชทานตามลำดับ ถึงกำหนดพระราชทานเพลิงศพ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เป็นกรณีพิเศษ[7]

ยศ และบรรดาศักดิ์

แก้
  • พ.ศ. 2453 - มหาดเล็กวิเศษ
  • พ.ศ. 2454 - รองหุ้มแพร
  • พ.ศ. 2454 - หุ้มแพร
  • 9 สิงหาคม พ.ศ. 2455 - จ่า[8]
  • 3 มิถุนายน พ.ศ. 2458 - อำมาตย์ตรี[9]
  • 6 มีนาคม พ.ศ. 2458 - อำมาตย์โท[10]
  • 20 ธันวาคม พ.ศ. 2460 - อำมาตย์เอก[11]
  • 25 ธันวาคม พ.ศ. 2461 - รองหัวหมื่นพิเศษในกรมมหาดเล็ก[12]
  • พ.ศ. 2466 - มหาอำมาตย์ตรี[13]

บรรดาศักดิ์

แก้
  • พ.ศ. 2454 - หลวงอภิบาลบุริมศักดิ์
  • พ.ศ. 2458 - หลวงประพนธ์เนติประวัติ[14]
  • 31 ธันวาคม พ.ศ. 2459 - พระปรีชานุสาสน์[15]
  • 2 มกราคม 2463 - พระยาภะรตราชา ถือศักดินา 1600[16]

ยศทางเสือป่า

แก้
  • 14 สิงหาคม พ.ศ. 2454 - นายหมู่ตรี[17]
  • 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - นายหมู่โท[18]
  • 29 มีนาคม พ.ศ. 2455 - นายหมู่เอก[19]
  • พ.ศ. 2457 - นายหมวดตรี[20]
  • 17 มกราคม พ.ศ. 2457 - นายหมวดโท[21]
  • พ.ศ. 2459 - นายหมวดเอก[22]
  • พ.ศ. 2461 - นายกองตรี[23]

ตำแหน่งราชการ หน้าที่การงาน

แก้

ราชการประจำ

แก้
  • พ.ศ. 2453 - อาจารย์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเลขานุการส่วนตัวเสนาบดีกระทรวงธรรมการ
  • พ.ศ. 2453 - อาจารย์โรงเรียนราชวิทยาลัย ณ สายสวลีสันฐาคาร
  • พ.ศ. 2454 - อาจารย์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2454 - ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชา โรงเรียนมหาดเล็กหลวง
  • พ.ศ. 2458 - สำรองราชการกรมศึกษาธิการ, ผู้ช่วยเลขานุการกระทรวงธรรมการ
  • พ.ศ. 2459 - ปลัดกรมสามัญศึกษา
  • พ.ศ. 2463 - เจ้ากรมการสอบไล่
  • พ.ศ. 2464 - ผู้ปกครองนักเรียนสยาม (ผู้ดูแลนักเรียนไทย) ณ ประเทศอังกฤษ
  • พ.ศ. 2469 - ประจำกองบัญชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, เลขานุการกระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2470 - รักษาการเลขานุการ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2470 - คณบดีคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2472 - ผู้บัญชาการ (อธิการบดี) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรักษาการคณบดีคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์
  • พ.ศ. 2475 - รักษาการผู้อำนวยการแผนกวิชาข้าราชการพลเรือน (คณบดีคณะรัฐศาสตร์) อีกตำแหน่งหนึ่ง

ราชการการเมือง

แก้
  • พ.ศ. 2480 - พ.ศ. 2481 - สมาชิกสภาเทศบาลนครกรุงเทพฯ, ปลัดเทศบาลนครกรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2487 - เทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2490 - พ.ศ. 2494 - สมาชิกวุฒิสภา

ราชการลูกเสือและเสือป่า

แก้
  • พ.ศ. 2459 - พ.ศ. 2464 - ราชองครักษ์เวรเสือป่า
  • พ.ศ. 2467 - หัวหน้าคณะผู้แทนลูกเสือไทยในการชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 2 ณ ประเทศเดนมาร์ค
  • พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2507 - สภากรรมการจัดการลูกเสือแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2518 - กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาลูกเสือแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2509 - ผู้แทนคณะลูกเสือไทยร่วมการประชุมคณะลูกเสือภาคตะวันออกไกล ครั้งที่ 5 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • พ.ศ. 2511 - ผู้แทนคณะลูกเสือไทยร่วมการประชุมคณะลูกเสือภาคตะวันออกไกล ครั้งที่ 6 ณ สาธารณรัฐเกาหลี

ราชการในพระองค์

แก้
  • พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2518 - ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย

เกียรติประวัติ

แก้

พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) เป็นครูตลอดจนวาระสุดท้ายของชีวิตด้วยเกียรติประวัติอันงดงามยิ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้อนุมัติปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2511

เกียรติยศ

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เข็ม เหรียญและเครื่องหมายพระราชทาน

แก้
  • พ.ศ. 2455 – เสมา ว.ป.ร. ชั้นที่ 3
  • พ.ศ. 2456 – เข็มข้าหลวงเดิม[34]
  • พ.ศ. 2460 – แหนบนาฬิกา ว.ป.ร. ชั้นที่ 1
  • พ.ศ. 2462 – ลูกกระดุมทองคำลงยา ว.ป.ร. ชั้นที่ 1
  • พ.ศ. 2462 – เข็มอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ ว.ป.ร. ชั้นที่ 2

อนุสรณ์

แก้

เรือนภะรตราชา เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ รูปแบบสถาปัตยกรรมโคโลเนียล ได้รับการบูรณะเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานและเป็นการระลึกถึงพระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) อาคารได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. 2540

หอสมุดภะรตราชา เป็นอาคารชั้นเดียว ซึ่งพระยาภะรตราชาได้บริจาคทุนทรัพย์จำนวน 200,000 บาท สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นหอสมุดวชิราวุธวิทยาลัย โดย พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดหอสมุดเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2506 และต่อมาในคราวฉลองหนึ่งศตวรรษชาตกาลพระยาภะรตราชา เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2529 คณะนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยนำโดย พลตำรวจตรีจักร จักษุรักษ์ ได้พร้อมกันบริจาคทุนทรัพย์ก่อสร้างอาคารหอสมุดไปทางทิศตะวันออกของอาคารเดิมเพิ่มเติมอีก 1 หลัง พร้อมทั้งทำทางเชื่อมต่ออาคารทั้งสองเข้าด้วยกัน และได้ขออนุญาตขนานนามอาคารหอสมุดทั้งส่วนเก่าและที่ต่อเติมใหม่นั้นว่า “หอสมุดภะรตราชา” เพื่อเป็นเกียรติแก่พระยาภะรตราชาสืบมาแต่บัดนั้น [35]

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  • ประมวลประวัติครู คุรุสภาจัดพิมพ์ร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2535
  • อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ มหาอำมาตย์ตรี พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา)
  1. อนุสรณงานพระราชทานเพลิงศพ มหาอำมาตย์ตรี พระยาภะรตราชา (ม.ล. ทศทิศ อิศรเสนา), 2519, หน้า
  2. นักเรียนหลวงกราบถวายบังคมลา
  3. นักเรียนหลวงเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
  4. พระราชทานบรรดาศักดิ์
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์, เล่ม 37, 16 มกราคม 2463, หน้า 3453
  6. จดหมายเหตุวชิราวุธ ตอนที่ 37
  7. จดหมายเหตุวชิราวุธ ตอนที่ 37
  8. แจ้งความกรมมหาดเล็ก
  9. พระราชทานยศและเลื่อนยศ
  10. พระราชทานยศและเลื่อนยศ
  11. พระราชทานยศ
  12. ประกาศกรมมหาดเล็ก
  13. พระราชทานยศ, หน้า 66
  14. พระราชทานบรรดาศักดิ์
  15. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ (หน้า ๒๗๕๖)
  16. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  17. พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
  18. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า (หน้า 1891)
  19. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
  20. ประกาศเลื่อนยศเสือป่า (หน้า 1997)
  21. ตั้งตำแหน่งยศนายเสือป่า (หน้า 2522)
  22. พระราชทานยศเสือป่า, หน้า 3
  23. พระราชทานยศเสือป่า, หน้า 6
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
  26. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๔๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๗ พฤษภาคม ๒๕๐๗
  27. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๖, ๑๑ เมษายน ๒๔๕๘
  28. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2018-02-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๓๙, ๑๙ มกราคม ๑๓๑
  29. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๑๔ ง หน้า ๓๓๑, ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๕
  30. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๕๕, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๕๖
  31. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๑๕๗๕, ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๙๗
  32. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๔๑๙, ๑๙ พฤษภาคม ๑๓๑
  33. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๙๓๘, ๒๒ มีนาคม ๒๕๐๓
  34. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๗๙, ๔ มกราคม ๒๔๕๖
  35. จดหมายเหตุวชิราวุธ ตอนที่ 72


ก่อนหน้า พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) ถัดไป
มหาอำมาตย์ตรี พระยาอนุกิจวิธูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)    
ผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(10 ธันวาคม พ.ศ. 2472 – 1 กันยายน พ.ศ. 2475)
  ศาสตราจารย์อุปการคุณ นายแพทย์แอลเลอร์ เอลลิส
พระพณิชยสารวิเทศ (ผาด มนธาตุผลิน)   ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย
(1 มกราคม พ.ศ. 2486 – 28 ธันวาคม พ.ศ. 2518)
  ศาสตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา