ทัศนีย์ บุณยคุปต์
ท่านผู้หญิง ทัศนีย์ บุณยคุปต์ (9 กันยายน พ.ศ. 2465 - 28 มิถุนายน 2566) เป็นอดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนจิตรลดา และเป็นพระอาจารย์ผู้ถวายการสอนแด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[1]
ทัศนีย์ บุณยคุปต์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ทัศนีย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา 9 กันยายน พ.ศ. 2465 จังหวัดพระนคร อาณาจักรสยาม |
เสียชีวิต | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2566 (100 ปี) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | สมพร บุณยคุปต์ |
บุพการี | พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) ท่านผู้หญิงขจร ภะรตราชา |
เป็นที่รู้จักจาก | อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนจิตรลดา |
ประวัติ
แก้ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์ (ราชสกุลเดิม อิศรเสนา ณ อยุธยา) เป็นธิดาคนเล็กของพระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) อดีตผู้บัญชาการ (อธิการบดี) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับท่านผู้หญิงขจร ภะรตราชา เกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2465 มีพี่ชายพี่สาวร่วมบิดามารดาสามคน ได้แก่
- กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา
- อายุส อิศรเสนา ณ อยุธยา
- สุคนธา โบเยอร์
ท่านผู้หญิงทัศนีย์เริ่มเข้าทำงานเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนจิตรลดา เมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยถวายการสอนแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พร้อมกับพระสหายเจ็ดคน ซึ่งท่านผู้หญิงทัศนีย์เป็นพระอาจารย์คนแรกที่เข้าถวายการสอน[2] และอดีตท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์ เคยเป็นที่ปรึกษาโรงเรียนจิตรลดา[3]
ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์ สมรสกับ สมพร บุณยคุปต์ มีบุตร 1 คน
ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์ ได้ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบโดยโรคหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2566 สิริอายุได้ 100 ปี[4][5] วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 17.14 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร[6]
วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 17.15 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ในโอกาสนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[9]
- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[10]
- พ.ศ. 2523 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[11]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[12]
- พ.ศ. 2565 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๒ (ว.ป.ร.๒)[13]
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของทัศนีย์ บุณยคุปต์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับสั่งถึงพระอาจารย์ “ที่อ่านออกได้เพราะครูทัศนีย์”
- ↑ "ประวัติโรงเรียนจิตรลดา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
- ↑ "แผนภูมิผู้บริหารงานโรงเรียนจิตรลดา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-17. สืบค้นเมื่อ 2011-11-18.
- ↑ "สิ้น "ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์" ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนจิตรลดา สิริอายุ 100 ปีเศษ". pptvhd36.com. 2023-06-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์ อดีตอาจารย์ใหญ่และผู้จัดการโรงเรียนจิตรลดา คนแรก, สืบค้นเมื่อ 2023-08-17
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-02. สืบค้นเมื่อ 2023-10-07.
- ↑ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-24. สืบค้นเมื่อ 2024-09-22.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นสายสะพายและชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี 2539" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 113 (ตอนที่ 22ข): 2. 4 ธันวาคม 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-15. สืบค้นเมื่อ 2021-02-14.
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2526" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 100 (ตอน 84 ง ฉบับพิเศษ): หน้า 13. 20 พฤษภาคม 2526. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2563.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๓ จากเว็บไชต์ thaiscouts
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 99 (ตอนที่ 79 ง ฉบับพิเศษ): 37. 29 มีนาคม 2525. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 (ตอนที่ 93 ข): 2. 12 กันยายน 2565. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2565.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)