ท้าวอินทรสุริยา (เชื้อ พึ่งบุญ)
ท้าวอินทรสุริยา มีนามเดิมว่า เชื้อ พึ่งบุญ (9 กรกฎาคม พ.ศ. 2423 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2467) เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายในเพียงคนเดียวประจำราชสำนักพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในช่วงต้นรัชกาล ท่านเป็นธิดาพระนมทัด พึ่งบุญ ณ อยุธยา เป็นพี่สาวต่างบิดาของเจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) และพระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) ซึ่งเป็นข้าราชการคนสนิทของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
คุณ ท้าวอินทรสุริยา (เชื้อ พึ่งบุญ) | |
---|---|
เกิด | เชื้อ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2423 |
เสียชีวิต | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2467 (44 ปี) บ้านนรสิงห์ จังหวัดพระนคร อาณาจักรสยาม |
บิดามารดา | ทัด พึ่งบุญ ณ อยุธยา (มารดา) |
ประวัติ
แก้ชีวิตช่วงต้น
แก้ท้าวอินทรสุริยา มีนามเดิมว่า เชื้อ เกิดเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรงโทศก จุลศักราช 1242 ตรงกับวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2423 เป็นธิดาคนโตของพระนมทัด เกิดแต่สามีเก่า มีน้องสาวร่วมบิดามารดาคนหนึ่งชื่อ ชื้น แต่เสียชีวิตไปนานแล้ว[1] ด้วยความท่านเกิดในปีเดียวกันกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนมทัดจึงเข้าถวายตัวเป็นพระนม ท่านจึงได้ร่วมนมกับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินอยู่พักหนึ่ง[2]
ต่อมาพระนมทัดเข้าเป็นภรรยาของพระยาประสิทธิศุภการ (หม่อมราชวงศ์ละม้าย พึ่งบุญ) บุตรชายของหม่อมกัมพล (เดิมคือหม่อมเจ้ากัมพล) และเป็นหลานของหม่อมไกรสร (เดิมคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงรักษ์รณเรศ) ต้นราชสกุลพึ่งบุญ[3] คุณท้าวจึงมีน้องชายต่างบิดาอีกสองคน คือ เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) และพระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ)[1]
ถวายตัว
แก้เบื้องต้น ท้าวอินทรสุริยาถวายตัวในราชสำนักสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง หรือเรียกว่าสำนักสมเด็จที่บน เมื่อ พ.ศ. 2439 ก่อนได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระพี่เลี้ยงใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์[2]
หลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัตแผ่นดินสยาม ราชสำนักของพระองค์มีความผสมผสานระหว่างตะวันออกกับตะวันตกชัดเจน โดยโปรดที่จะประทับอยู่ฝ่ายหน้าตามอย่างวัฒนธรรมยุควิกตอเรีย แวดล้อมด้วยมหาดเล็กและกรมวังที่เป็นบุรุษเพศที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคัดเลือกและอุปการะไว้[4] โดยทรงรับท้าวอินทรสุริยาผู้เคยร่วมนมกับพระนมทัด เป็นเจ้าคุณพนักงานฝ่ายในตำแหน่งพระภูษา และพระสุคนธ์เพียงคนเดียวเมื่อแรกนิวัตพระนคร[5] ถือเป็นข้าราชสำนักฝ่ายในเพศหญิงที่ปฏิบัติหน้าที่ต่อพระองค์โดยตรง หรือรับใช้ส่วนพระองค์เพียงคนเดียว[4] ใน ประวัติท้าวอินทรสุริยา (2480) ระบุว่า "...และไม่ว่าจะเสด็จพระราชดำเนินประพาศหัวเมืองแห่งใด ท้าวอินทรสุริยา มีน่าที่โดยเสด็จพระราชดำเนินแทบทุกคราว..."[2] ด้วยมีเรือนไม้ในพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เรียกว่า เรือนพระสุรภี สร้างไว้สำหรับคุณท้าวโดยเฉพาะ[6] แม้จะมีข้าราชสำนักฝ่ายในที่เป็นสตรีเพศคอยปฏิบัติหน้าที่ในเขตพระราชฐานชั้นใน แต่ก็ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าโดยตรงดั่งท้าวอินทรสุริยาเลย[4]
ในกาลต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหมั้นหมายกับพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ก็ได้แต่งตั้งคุณหญิงตระกูล ภูบาลบันเทิง เป็นนางสนองพระโอษฐ์ (Lady in Waitting) หม่อมหลวงป้อง มาลากุล เป็นต้นพระตำหนัก (Lady Bed-Chamber) เปรื่อง สุจริตกุล และประไพ สุจริตกุล เป็นนางพระกำนัล (Maid of Honour) ตามแบบราชสำนักยุโรปเป็นครั้งแรก[7] และสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา อดีตพระบรมราชินีในรัชกาลก็ได้มีการแต่งตั้งเจ้าคุณพนักงานฝ่ายในอีก 12 คน[8] ถึงกระนั้นท้าวอินทรสุริยายังมีบทบาทถวายการรับใช้สนองพระเดชพระคุณมาโดยตลอดรัชกาล[2] เพราะช่วงท้ายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวอินทรสุริยารับหน้าที่พระเครื่องต้นไทยอีกตำแหน่งหนึ่ง[2][5]
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้ท้าวอินทรสุริยาถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคหัวใจ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2467 ณ บ้านนรสิงห์ จังหวัดพระนคร[2] สิริอายุ 44 ปี ศพของท้าวอินทรสุริยาตั้งบำเพ็ญกุศลที่ตึกพระขรรค์ (ปัจจุบันคือตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล)[6] ก่อนพระราชทานเพลิงศพใน พ.ศ. 2480 ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส[2]
ความเชื่อ
แก้เจ้าหน้าที่กรมยุทธโยธาทหารบกทำการรื้อตึกนารีสโมสรที่มีโครงสร้างเป็นไม้และกระจกจำนวนมากเพื่อฉีดกำจัดปลวกเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ขณะเจ้าหน้าที่คนหนึ่งกำลังเก็บอุปกรณ์เพื่อย้ายสิ่งของ ก็ได้กลิ่นน้ำอบไทยคละคลุ้งไปทั่วจึงร้องตะโกนเรียกให้ช่วย เจ้าหน้าที่คนอื่นที่ตามเข้าไปช่วยก็ได้กลิ่นน้ำอบคลุ้งเช่นกัน[6][9] ซึ่งตึกดังกล่าวเคยเป็นที่ตั้งศพของท้าวอินทรสุริยา และท่านก็เคยถวายงานพระสุคนธ์ ซึ่งเกี่ยวกับการทำน้ำอบไทยมาก่อน[6] ก่อนหน้านี้ได้มีการทำบุญทำเนียบรัฐบาลครั้งใหญ่ในเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557 โดยอัญเชิญพระสงฆ์จากวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร จำนวน 9 รูป และวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ก็ได้เชิญพระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ (ชวิน รังสิพราหมณกุล) กระทำพิธีสักการะพระพรหม พระภูมิ และศาลตายาย[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ
แก้- พ.ศ. 2464 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[10]
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 พระราชวงศ์จักรี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6, หน้า 126
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 "ประวัติท้าวอินทรสุริยา", จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประพาสสหรัฐมะลายู พ.ศ. 2467, ไม่มีหน้า
- ↑ พระราชวงศ์จักรี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6, หน้า 124
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "นายใน" สมัยรัชกาลที่ 6, หน้า 15
- ↑ 5.0 5.1 ราชสำนักรัชกาลที่ 6, หน้า 51
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 ส.ท่าเกษม (6 พฤษภาคม 2560). "จาก "เรือนพระสุรภี" พระราชวังสนามจันทร์ สู่… "ตึกนารีสโมสร" ทำเนียบรัฐบาล (ตอนจบ)". หนังสือพิมพ์ไทยแอลเอ. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชสำนักรัชกาลที่ 6, หน้า 52-53
- ↑ ราชสำนักรัชกาลที่ 6, หน้า 58
- ↑ "ขนหัวลุก ! รื้อตึกนารีสโมสรไม่จุดธูปไหว้ของขมา". เดลินิวส์. 19 กรกฎาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน
- บรรณานุกรม
- ชานันท์ ยอดหงษ์. "นายใน" สมัยรัชกาลที่ 6. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. 328 หน้า. ISBN 978-974-02-1088-7
- พูนพิศมัย ดิศกุล, หม่อมเจ้า. พระราชวงศ์จักรี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น สมัยรัชกาลที่ 6). กรุงเทพฯ : มติชน, 2561. 320 หน้า. ISBN 978-974-02-1602-5
- วรชาติ มีชูบท. ราชสำนักรัชกาลที่ 6. กรุงเทพฯ : มติชน, 2561. 296 หน้า. ISBN 978-974-02-1601-8
- จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประพาสสหรัฐมะลายู พ.ศ. 2467. พระนคร : พระจันทร์, 2480. 154 หน้า.