นางสนองพระโอษฐ์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
นางสนองพระโอษฐ์ (อังกฤษ: lady-in-waiting) หมายถึงสตรีผู้ช่วยส่วนพระองค์ในราชสำนัก ซึ่งถวายการรับใช้แด่สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี เจ้าฟ้าหญิง หรือสตรีสูงศักดิ์ นางสนองพระโอษฐ์มักจะมีพื้นหลังมากจากครอบครัวที่มีฐานะทางสังคมสูงแต่มีฐานันดรต่ำกว่าสตรีที่ตนรับใช้ ซึ่งแม้ว่านางสนองพระโอษฐ์คนใดจะรับค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม มักจะไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นคนรับใช้หรือข้าราชบริพาร

นางสนองพระโอษฐ์ ยังหมายถึงกลุ่มของสตรีผู้มีฐานะครอบครัว บรรดาศักดิ์ และตำแหน่งหน้าที่ทางการที่หลากหลาย ซึ่งความแตกต่างกันในฐานะ บรรดาศักดิ์ และตำแหน่งหน้าที่เหล่านี้มักจะมีเกียรติศักดิ์สูง พระบรมวงศานุวงศ์หญิงหรือสตรีผู้สูงศักดิ์อาจทรงสามารถเลือกนางสนองพระโอษฐ์ได้ด้วยพระองค์เองหรือไม่ก็ได้ แต่แม้ว่าจะทรงมีสิทธิในการเลือกนางสนองพระโอษฐ์ได้อย่างเสรี หากตามประวัติศาสตร์แล้ว การตัดสินใจดังกล่าวมักจะได้รับอิทธิพลจากองค์พระมหากษัตริย์ พระราชบิดา-พระราชมารดา พระราชสวามี หรือเหล่าเสนาบดีของพระมหากษัตริย์
ภาระหน้าที่
แก้ภาระหน้าที่ของนางสนองพระโอษฐ์มีความหลากหลาย แต่ภาระหน้าที่ตามประวัติศาสตร์ของนางสนองพระโอษฐ์มักถูกมอบหมายตามความชำนาญส่วนตัว เช่น ความชำนาญในการวางตนเหมาะสมกับมารยาท ภาษา การเต้นรำซึ่งเป็นที่นิยมในราชสำนักขณะนั้น การรับผิดชอบงานด้านเลขานุการ การมอบหมายงานตามกระแสรับสั่งแก่ข้าราชบริพารคนอื่น ๆ และการร่างกระแสพระราชเสาว์นีย์ การเย็บปักถักร้อย การวาดภาพ การขี่ม้า การเล่นดนตรี การดูแลงานด้านฉลองพระองค์ (เสื้อผ้า) การควบคุมเหล่าข้าราชบริพารผู้มีตำแหน่งต่ำกว่า การดูแลพระชายาหรือพระสนมพระองค์อื่น เป็นต้น
ประเทศไทย
แก้นางสนองพระโอษฐ์เป็นตำแหน่งของสุภาพสตรีสูงศักดิ์ที่เกี่ยวข้องกับราชสำนัก จากความหมายของพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ระบุว่า คุณพนักงานหญิงที่แต่งงานแล้ว มีหน้าที่รับพระราชเสาวนีย์ ไปปฏิบัติหรือเชิญพระราชเสาวนีย์ไปติดต่อข้อราชการตามพระราชประสงค์ของพระราชินี[1] นางพระกำนัล คือสตรีที่ยังไม่ได้แต่งงาน มีหน้าที่เช่นเดียวกับนางสนองพระโอษฐ์ ทั้งนางสนองพระโอษฐ์และนางพระกำนัลได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ส่วนข้าราชบริพารสตรีอื่นที่มิได้ดำรงตำแหน่งพิเศษทั้งสองอย่างนี้อาจเรียกว่า "ข้าหลวง" ทั้งนี้ สตรีเหล่านี้ไม่อยู่ในฐานะเจ้าจอมหรือบาทบริจาริกา
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นางสนองพระโอษฐ์โดยมากจะเป็นราชสกุล เป็นบุคคลที่มีทรัพย์สินและความรู้อยู่พอสมควร แต่เดิมมีความผาสุกและมีผู้รับใช้ช่วยเหลือให้สะดวกสบาย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงจะทรงนำบุคคลเหล่านี้มาทรงอบรมและให้มารู้จักความยากลำบาก ทรงนำนางสนองพระโอษฐ์ตามการเสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ห่างไกลความเจริญ เพื่อให้ได้พบเห็นชีวิตประจำวันที่แท้จริงของประชาชนทั่วไป[2]
ต่อมาในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศหลักเกณฑ์การเป็นนางสนองพระโอษฐ์ โดยการแต่งตั้งและการพ้นตำแหน่งให้เป็นตามพระราชอัธยาศัย โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี เว้นแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ต่อเวลาการดำรงตำแหน่งต่ออีกคราวละ 3 ปี โดยการดำรงตำแหน่งนางสนองพระโอษฐ์ จะสิ้นสุดลงเมื่อพ้นจากตำแหน่งข้าราชการในพระองค์, ลาออก, ถึงแก่กรรม หรือเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ ผู้ดำรงตำแหน่งนางสนองพระโอษฐ์ก่อนหน้าวันดังกล่าว ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปตามวาระในประกาศฉบับนี้[3][4]
รายชื่อนางสนองพระโอษฐ์และนางพระกำนัล
แก้สมัยรัชกาลที่ 5
แก้ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
แก้- เจ้าจอมอาบ ในรัชกาลที่ 5 (สกุลเดิม บุนนาค)[5]
- เจ้าจอมเลียม ในรัชกาลที่ 5 (สกุลเดิม บุนนาค)[6]
- เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5 (ราชสกุลเดิม ปราโมช ณ อยุธยา)[6]
- เจ้าจอมเชื้อ พลกนิษฐ์[6]
- เจ้าจอมแส ในรัชกาลที่ 5 (สกุลเดิม บุนนาค)[6]
- เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 5 (สกุลเดิม ไกรฤกษ์) นางสนองพระโอษฐ์คนแรกของราชสำนักสยาม[7]
- ท่านผู้หญิงตลับ ยมราช (สกุลเดิม ณ ป้อมเพชร) นางสนองพระโอษฐ์[8]
- หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม ณ น่าน) นางพระกำนัล[9][10]
- คุณแปลก โรจนกุล นางพระกำนัล[11]
- คุณหญิงบุญปั่น เทพสมบัติ (สกุลเดิม พิทักษ์เทวี) นางสนองพระโอษฐ์[12]
สมัยรัชกาลที่ 6
แก้- คุณหญิงแปลก สัตยานุกูล (สกุลเดิม โรจนกุล) (วาระที่ 2) นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2455 เป็นต้นไป
- คุณลำจวน บุนนาค นางพระกำนัล[13]
- ท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศาลิคุปต์) นางสนองพระโอษฐ์[14]
- พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) นางพระกำนัล[15]
- พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) นางพระกำนัล[15]
สมัยรัชกาลที่ 7
แก้- หม่อมพร้อย กฤดากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค) นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2468 เป็นต้นไป[16]
- หม่อมหลวงคลอง ไชยันต์ (สกุลเดิม สนิทวงศ์) นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2468 เป็นต้นไป[16]
- หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ เทวกุล นางพระกำนัลตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2468 เป็นต้นไป[16]
- คุณประยงค์ สุขุม นางพระกำนัลตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2468 เป็นต้นไป[16]
- คุณดุษฎีมาลา ไกรฤกษ์ นางพระกำนัลตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2468 เป็นต้นไป[16]
- คุณโพยม ณ นคร นางพระกำนัลตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2468 เป็นต้นไป[16]
- คุณหญิงเนื่อง บุรีนวราษฐ์[17][18][19]นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2470 เป็นต้นไป
- หม่อมหลวงคลอง ไชยันต์[20][21][22][23]นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2470 เป็นต้นไป
- คุณกอบแก้ว วิเศษกุล นางพระกำนัล[24]
- หม่อมหลวงบัว กิติยากร นางพระกำนัลตั้งแต่ พ.ศ. 2471 เป็นต้นไป
- คุณหญิงนิตย์ มโนปกรณ์นิติธาดา[25]นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2472 เป็นต้นไป
- คุณหญิงรื่น อภิบาลราชไมตรี[26]นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 เป็นต้นไป
สมัยรัชกาลที่ 9
แก้- ท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร[27] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2494 เป็นต้นไป
- หม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค[28] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2494 เป็นต้นไป
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 เป็นต้นไป[29][30]
- คุณหญิงสทนา โสณกุล ณ อยุธยา[31] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2514 เป็นต้นไป
- หม่อมราชวงศ์สุประภาดา เกษมสันต์[32] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2515 เป็นต้นไป
- ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา[33] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2515 เป็นต้นไป
- ท่านผู้หญิงวิยะฎา กฤดากร ณ อยุธยา นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 เป็นต้นไป
- ท่านผู้หญิงนราวดี ชัยเฉนียน[34] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 เป็นต้นไป
- ท่านผู้หญิงกุณฑี ไกรฤกษ์[35] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2515 เป็นต้นไป
- ท่านผู้หญิงมนัสนิตย์ วณิกกุล[36] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2515 เป็นต้นไป
- คุณหญิงทองทิพย์ รัตนะรัต[37] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 เป็นต้นไป
- ท่านผู้หญิงสมสุข ศรีวิสารวาจา[38] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 เป็นต้นไป
- ท่านผู้หญิงสุวรี เทพาคำ[39] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 เป็นต้นไป
- หม่อมราชวงศ์ดัชรีรัชนา รัชนี[40] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2518 เป็นต้นไป
- ท่านผู้หญิงพรรณวดี จุฑารัตนกุล[41] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 เป็นต้นไป
- คุณหญิงเปรมจิตต์ จามรจันทร์[42] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2521 เป็นต้นไป
- ท่านผู้หญิงอินทิรา พลธร[43] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2522 เป็นต้นไป
- ท่านผู้หญิงเพ็ญศรี วัชโรทัย[44] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 เป็นต้นไป
- จีรนันทน์ ลัดพลี[45] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2523 เป็นต้นไป
- ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ[46] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2523 เป็นต้นไป
- คุณหญิงบุษยา ไกรฤกษ์[47] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2523 เป็นต้นไป
- ท่านผู้หญิงฉัตรสุดา วงศ์ทองศรี[48] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 เป็นต้นไป
- คุณหญิงสุชาดา ขำเกษม[49] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2524 เป็นต้นไป
- ท่านผู้หญิงลดาวัลย์ สมันตรัฐ[50] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2524 เป็นต้นไป
- ท่านผู้หญิงสุภรภ์เพ็ญ หลวงเทพนิมิต[51] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2525 เป็นต้นไป
- คุณหญิงผะอบทิพย์ ศาตะมาน[52] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2525 เป็นต้นไป
- ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน[53] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2525 เป็นต้นไป
- หม่อมหลวงถนอมจิต นวรัตน[54] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 เป็นต้นไป
- คุณหญิงสุนิดา บุนนาค[55] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 เป็นต้นไป
- ท่านผู้หญิงอรนุช อิศรางกูร ณ อยุธยา[56] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
- ท่านผู้หญิงรวิจิตร์ สุวรรณบุบผา[57] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
- หม่อมหลวงอรจิตรา สนิทวงศ์[58] นางสนองพระโอษฐ์ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
อ้างอิง
แก้- ↑ "พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2009-05-05.
- ↑ ท่านผู้หญิง เกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, รำลึกถึง ข้าราชบริพารผู้ภักดี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์อุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ในขบวนตามเสด็จตกเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง การดำรงตำแหน่งนางสนองพระโอษฐ์ ข้าราชบริพารในพระองค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา.
- ↑ "ราชกิจจาฯ ประกาศหลักเกณฑ์ การดำรงตำแหน่งนางสนองพระโอษฐ์ ให้มีวาระ 3 ปี". กรุงเทพธุรกิจ.
- ↑ "อาคารเอื้อนอาชว์แถมถวัลย์ : นาฏศิลป์". สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2568.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 กรมศิลปากร. (2505). พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสมณฑลราชบุรี ร.ศ. ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๒). พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าจอมอาบ ต.จ. ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส ๒๑ ธันวาคม ๒๕๐๕. หน้า ฆ–ง.
- ↑ "สมเด็จราชินีนาถ ทรงฉายกับ "นางสนองพระโอษฐ์" คนแรกแห่งสยาม เจ้าจอมมารดา ชุ่ม (ไกรฤกษ์) ทรงฉลองพระองค์แบบตะวันตกในปี 2439," สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์, 55(45-52)(2551): 49.
- นวรัตน์ ไกรฤกษ์ และบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์), พระยา. (2497). เรื่องปกิณกะในรัชกาลที่ ๕. พระนคร: ม.ป.พ. หน้า 30.
- สมภพ จันทรประภา และจีริก กิติยากร, ม.ร.ว. (2528). สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมราชวงศ์หญิง จีริก กิติยากร ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2528. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์. หน้า 58. OCLC 940954826
- ↑ ศรณรงค์ ปิยะกาญจน์. (2544). เกียรติประวัติปูชนียบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รวมสาส์น. หน้า 244. ISBN 9789742465735
- ↑ ศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา, หม่อม. (2522). อัตชีวประวัติ หม่อมศรีพรหมา กฤดากร พร้อมด้วยคําสัมภาษณ์และเรื่องวิธีถนอมรักษาอาหาร. กรุงเทพฯ: มูลนิธิจิมทอมป์สัน. หน้า 114. OCLC 1376278745
- ↑ "ลางบอกเหตุ-สภาพวันสวรรคต ร.5 จากบันทึกหม่อมศรีพรหมา และสิ่งที่ร.6 ทรงพระพิโรธ". (2565, 23 ตุลาคม). ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2568.
- ↑ จินดา เฮงสมบูรณ์. (2560). รูปแบบการปฏิบัติต่อเวทนาในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน: A Model of Practice toward Vedanã in Vipassanã Meditation. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พระพุทธศาสนา). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หน้า 81. :– "...อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี กับคุณหญิงแปลก (นางพระกํานัลใน ร. ๕) เมื่อท่านอายุได้ ๓๕ ปี..."
- ↑ สกุลไทย, 52(2672-76): 174. "คุณหญิงบุญปั่น ซึ่งเป็นนางสนองพระโอษฐ์ของเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว".
- ↑ พวงแก้ว พรพิพัฒน์. "ชีวิตและการทำงานของพระยาสุริยานุวัตร : ประดับไว้ในโลกา," วารสารเศรษฐกิจและสังคม (เม.ย.-มิ.ย. 2550): 14.
- ↑ สกุลไทย, 1942-1949(2535): 25. "ท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช เมื่อครั้งเป็นนางสาวอุศนา ศาลิคุปต์ นางสนองพระโอษฐ์ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๖".
- ↑ 15.0 15.1 "วันนี้ในอดีต ๙ มีนาคม ๒๕๒๔ พระสุจริตสุดาถึงแก่กรรม". สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2568.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 พฤทธิสาณ ชุมพล. (2559). "ล้อมกรอบที่ 4.2: นางสนองพระโอษฐ์และนางพระกำนัลในสมัยรัชกาลที่ 7 (ตามลาดับการโปรดเกล้าฯ)," รายงานวิจัยการสังเคราะห์ประวัติศาสตร์บอกเล่าในสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7. สถาบันพระปกเกล้า. หน้า 38–44.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงวัง ตั้งนางสนองพระโอษฐ์ และนางพระกำนัล เล่ม 44, 19 มิถุนายน 2470, หน้า 895.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงวัง ตั้งนางสนองพระโอษฐ์ และนางพระกำนัล เล่ม 46, 9 มิถุนายน 2472, หน้า 731 - 732.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงวัง ตั้งนางสนองพระโอษฐ์ เล่ม 48, 19 เมษายน 2476, หน้า 188.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงวัง ตั้งนางสนองพระโอษฐ์ และนางพระกำนัล[ลิงก์เสีย] เล่ม 44, 18 มีนาคม 2470, หน้า 4060.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง ตั้งนางสนองพระโอษฐ์ และนางพระกำนัล เล่ม 46, 23 มีนาคม 2472, หน้า 4573.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงวัง เรื่อง ตั้งนางสนองพระโอษฐ์ และนางพระกำนัล เล่ม 49, 8 พฤษภาคม 2475, หน้า 501.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศศาลาว่าการพระราชวัง เรื่อง ตั้งนางสนองพระโอษฐ์ และนางพระกำนัล เล่ม 50, 4 มิถุนายน 2476, หน้า 704.
- ↑ "วันนี้ในอดีต: พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ผู้สำเร็จราชการแทนล้นเกล้า ร.8". (2562, 24 กรกฎาคม). คมชัดลึก. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2568. "...อภิเษกสมรสกับ หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา นางพระกำนัลในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7..."
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง ตั้งนางสนองพระโอษฐ์ และนางพระกำนัล เล่ม 46, 23 มีนาคม 2472, หน้า 4573.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงวัง เรื่อง ตั้งนางสนองพระโอษฐ์ เล่ม 49, 5 มิถุนายน 2475, หน้า 850.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง ที่ 2/2496เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนางสนองพระโอษฐ์ และนางพระกำนัล เล่ม 70, ตอนที่ 16, 3 มีนาคม 2496, หน้า 930.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง ที่ 2/2496เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนางสนองพระโอษฐ์ และนางพระกำนัล เล่ม 70, ตอนที่ 16, 3 มีนาคม 2496, หน้า 930.
- ↑ ไกรฤกษ์ นานา. "สมเด็จพระพันปีหลวง ภาพลักษณ์ของแผ่นดิน เมืองไทยสมัยตั้งหลัก," ศิลปวัฒนธรรม, 44(10)(สิงหาคม 2566): 101. "นายปีแอร์ บัลแมง เจ้าของห้องเสื้อชาวฝรั่งเศสผู้บังเอิญกลับจากไปพักผ่อนที่ออสเตรีย ได้แวะผ่านเข้ามากรุงเทพฯ ก่อนกลับปารีส จึงได้มีผู้แนะนำให้รู้จักกับพระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ซึ่งเป็นนางสนองพระโอษฐ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในสมัยนั้น"
- ↑ สกุลไทย, 53(2733-2736)(2550): 161.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คุณหญิงสทนา โสณกุล ณ อยุธยา เป็นนางสนองพระโอษฐ์ เล่ม 88, ตอนที่ 99, 16 กันยายน 2514, ฉบับพิเศษ หน้า 9.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นางสนองพระโอษฐ์รับราชการสนองพระเดชพระคุณ เล่ม 89, ตอนที่ 71, 4 พฤษภาคม 2515, ฉบับพิเศษ หน้า 21.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นางสนองพระโอษฐ์รับราชการสนองพระเดชพระคุณ เล่ม 89, ตอนที่ 71, 4 พฤษภาคม 2515, ฉบับพิเศษ หน้า 21.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นางสนองพระโอษฐ์รับราชการสนองพระเดชพระคุณ เล่ม 89, ตอนที่ 87, 2 มิถุนายน 2515, ฉบับพิเศษ หน้า 27.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นางสนองพระโอษฐ์รับราชการสนองพระเดชพระคุณ เล่ม 89, ตอนที่ 185, 5 ธันวาคม 2515, หน้า 2912.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นางสนองพระโอษฐ์รับราชการสนองพระเดชพระคุณ เล่ม 89, ตอนที่ 185, 5 ธันวาคม 2515, หน้า 2912.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นางทองทิพย์ รัตนะรัต เป็นนางสนองพระโอษฐ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 90, ตอนที่ 100, 7 สิงหาคม 2516, หน้า 2331.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นางสนองพระโอษฐ์รับราชการสนองพระเดชพระคุณ เล่ม 90, ตอนที่ 153, 27 พฤศจิกายน 2516, หน้า 3906.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คุณหญิงสุวรี เทพาคำ เป็นนางสนองพระโอษฐ์ เล่ม 91, ตอนที่ 204, 3 ธันวาคม 2517, หน้า 4313.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์ดัชรีรัช รัชนี เป็นนางสนองพระโอษฐ์ เล่ม 92, ตอนที่ 66, 25 มีนาคม 2518, หน้า 814.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นางพรรณวดี จุฑารัตนกุล เป็นนางสนองพระโอษฐ์ เล่ม 93, ตอนที่ 100, 5 สิงหาคม 2519, ฉบับพิเศษ หน้า 37.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คุณหญิงเปรมจิตต์ จามรจันทร์ เป็นนางสนองพระโอษฐ์ เล่ม 95, ตอนที่ 130, 21 พฤศจิกายน 2521, หน้า 4099.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นางอินทิรา พลธร เป็นนางสนองพระโอษฐ์ เล่ม 96, ตอนที่ 106, 3 กรกฎาคม 2522, หน้า 2483.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมหลวงเพ็ญศรี วัชโรทัย เป็นนางสนองพระโอษฐ์ เล่ม 96, ตอนที่ 134, 7 สิงหาคม 2522, หน้า 2822.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นางจีรนันทน์ ลัดพลี เป็นนางสนองพระโอษฐ์ เล่ม 97, ตอนที่ 15, 4 กุมภาพันธ์ 2523, ฉบับพิเศษ หน้า 1.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คุณหญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ เป็นนางสนองพระโอษฐ์ เล่ม 97, ตอนที่ 69, 30 เมษายน 2523, ฉบับพิเศษ หน้า 4.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นางบุษยา ไกรฤกษ์ เป็นนางสนองพระโอษฐ์ เล่ม 97, ตอนที่ 142, 11 กันยายน 2523, ฉบับพิเศษ หน้า 6.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนางสนองพระโอษฐ์ เล่ม 98, ตอนที่ 75, 19 พฤษภาคม 2524, หน้า 1506.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนางสนองพระโอษฐ์ เล่ม 98, ตอนที่ 99, 20 มิถุนายน 2524, ฉบับพิเศษ หน้า 17.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนางสนองพระโอษฐ์ เล่ม 99, ตอนที่ 3, 12 มกราคม 2525, หน้า 104.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนางสนองพระโอษฐ์ เล่ม 99, ตอนที่ 14, 2 กุมภาพันธ์ 2525, หน้า 313.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนางสนองพระโอษฐ์ เล่ม 99, ตอนที่ 195, 29 ธันวาคม 2525, ฉบับพิเศษ หน้า 19.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนางสนองพระโอษฐ์ เล่ม 99, ตอนที่ 195, 29 ธันวาคม 2525, ฉบับพิเศษ หน้า 19.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนางสนองพระโอษฐ์ เล่ม 100, ตอนที่ 125, 27 กรกฎาคม 2526, ฉบับพิเศษ หน้า 14.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนางสนองพระโอษฐ์ เล่ม 100, ตอนที่ 130, 5 สิงหาคม 2526, ฉบับพิเศษ หน้า 12.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนางสนองพระโอษฐ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 119, ตอนพิเศษ 38 ง, 1 พฤษภาคม 2545, หน้า 56.
- ↑ พระราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนางสนองพระโอษฐ์
- ↑ พระราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนางสนองพระโอษฐ์