เกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (เกิด 13 สิงหาคม พ.ศ. 2465) เป็นนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ท่านผู้หญิง เกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ท.จ.ว., ภ.ป.ร.3, ว.ป.ร.2 | |
---|---|
![]() | |
เกิด | เกนหลง หงส์นันทน์ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2465 |
คู่สมรส | หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ |
บุตร | 3 คน |
บิดามารดา | พระอาทรปฏิฑัต ผาด หงสนันทร์ |
ประวัติแก้ไข
ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม หงส์นันทน์) เป็นธิดาของพระอาทรปฏิฑัต กับผาด (สกุลเดิม สิทธิสารีบุตร) เกิดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2465 เป็นนางสนองพระโอษฐ์ และเป็นผู้ประพันธ์หนังสือที่สำคัญ ได้แก่ “ทำเป็นธรรม” (หนังสือพระราชประวัติการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร) และ "เป็น อยู่ คือ" (หนังสือพระราชประวัติของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)
ชีวิตครอบครัวแก้ไข
ท่านผู้หญิงเกนหลง สมรสกับพลโท นายแพทย์ หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ น้องชายของหม่อมหลวงบัว กิติยากร (พระราชชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) ท่านผู้หญิงเกนหลงจึงมีศักดิ์เป็นพระมาตุลานี (น้าสะใภ้) ของสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง หม่อมหลวงจินดาและท่านผู้หญิงเกนหลง มีบุตร-ธิดา 3 คน ได้แก่
- พลอากาศเอกจารึก สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สมรสกับกานดา (สกุลเดิม ศรีรัชยานนท์)
- คุณหญิงบุษยา (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) สมรสกับจิตรพัฒน์ ไกรฤกษ์
- พันตรีภาดร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สมรสกับพรพิมล (สกุลเดิม เอี่ยมบุญลือ)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[1]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[2]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๒ (ว.ป.ร.๒)[3]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[4]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2521" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 95 (ตอน 51 ง): ฉบับพิเศษ หน้า 7. 12 พฤษภาคม 2521. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2556.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 107 (ตอนที่ 65): ฉบับพิเศษ หน้า 1. 25 สิงหาคม 2527. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2557.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ประกาศพระบรมราชโองการ เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ (ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 (ตอน 24 ข): หน้า 5. 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ