หม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค
ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค (เดิม หม่อมหลวงมณีรัตน์ สนิทวงศ์; 23 มิถุนายน พ.ศ. 2465 - 23 เมษายน พ.ศ. 2543) เป็นธิดาของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) กับท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) มีพี่ร่วมบิดามารดาคือ หม่อมหลวงบัว กิติยากร และพลโท นายแพทย์หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ มีศักดิ์เป็นพระมาตุจฉาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีผลงานที่สร้างชื่อเสียงมากมาย เช่น ผู้ประพันธ์คำร้องภาษาไทยในเพลงพระราชนิพนธ์ ความฝันอันสูงสุด เพลินภูพิงค์ เกิดเป็นไทย ตายเพื่อไทย แผ่นดินของเรา เตือนใจ ไร้เดือน เกาะในฝัน มาร์ชราชนาวิกโยธิน
มณีรัตน์ บุนนาค | |
---|---|
เกิด | 23 มิถุนายน พ.ศ. 2465 |
เสียชีวิต | 23 เมษายน พ.ศ. 2543 (77 ปี) |
สัญชาติ | ไทย |
มีชื่อเสียงจาก | พระมาตุจฉาและนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง |
คู่สมรส | สุรเทิน บุนนาค |
บุตร | กรีเมศร์ บุนนาค สุรธัช บุนนาค |
บิดามารดา | เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) |
หม่อมหลวงมณีรัตน์ สมรสกับสุรเทิน บุนนาค บุตรอำมาตย์ตรี พระพิศาลสุริยศักดิ์ (เทิน บุนนาค) กับผัน พิศาลสุริยศักดิ์ (สกุลเดิม สินธุสาร) มีบุตรชาย 2 คน คือ พลเอก กรีเมศร์ บุนนาค (นามเดิม ศูลี) และพันเอก สุรธัช บุนนาค[1]
หม่อมหลวงมณีรัตน์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ จึงใช้คำนำหน้าท่านผู้หญิง
การศึกษา
แก้การทำงาน
แก้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค รับราชการเป็นนางสนองพระโอษฐ์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 ซึ่งเป็นปีราชาภิเษกสมรส จนถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2543 สิริอายุ 77 ปี การนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศมณฑป ฉัตรเครื่องสูงทองแผ่ลวด และรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด ตั้งศพสวดพระอภิธรรม ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
นอกจากคำร้องเพลงพระราชนิพนธ์แล้ว ยังเป็นผู้รับสนองพระราชเสาวนีย์ในการแต่งเพลงเพื่อพระราชทานแก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติ โดยใช้ทำนองเพลงเดิมที่เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว อาทิ
- วอลซ์ทหารมหาดเล็ก ใช้ทำนองเพลง A Bicycle build for two
- ชมประดู่ ใช้ทำนองเพลง La Mer
- ตำรวจตระเวนชายแดน ใช้ทำนองเพลง Danny Boy
- ย่าเหล
- ดอกต้อยติ่ง
- ผู้ดี
ในงานสาธารณประโยชน์ด้านอื่น ท่านผู้หญิงมณีรัตน์เป็นต้นคิดและเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ริเริ่มผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดในการสร้างสวนหลวง ร.9 ขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[2]
- พ.ศ. 2519 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[3]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของหม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ "ชมรมสายสกุลบุนนาค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-07. สืบค้นเมื่อ 2008-05-22.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี 2538" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (17): 2. 4 ธันวาคม 2538. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-07. สืบค้นเมื่อ 2012-12-17.
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2519" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (80): 1354. 1 มิถุนายน 2519.