อำเภอบางมูลนาก

อำเภอในจังหวัดพิจิตร ประเทศไทย

อำเภอบางมูลนาก เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพิจิตร เดิมมีพื้นที่กว่า 2,441.60 ตารางกิโลเมตร ต่อมามีการแบ่งพื้นที่การปกครองออกในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ครอบคลุมท้องที่ทั้งหมดของอำเภอทับคล้อ[1] อำเภอดงเจริญ[2][3] พื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอตะพานหิน[4] ในจังหวัดพิจิตร พื้นที่ของอำเภอชนแดนทั้งหมด[5][6] จังหวัดเพชรบูรณ์ บางส่วนของอำเภอชุมแสง[7] บางส่วนของอำเภอหนองบัว[7] จังหวัดนครสวรรค์ และเป็นพื้นที่ 1 ใน 5 สุขาภิบาลท้องที่ในอดีต (โพธาราม, บ้านโป่ง, ชุมแสง, บางมูลนาก และบ้านหมี่) ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต

อำเภอบางมูลนาก
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bang Mun Nak
พิพิธภัณฑ์ชาวบางมูลนาก
พิพิธภัณฑ์ชาวบางมูลนาก
คำขวัญ: 
ปลายอขึ้นชื่อ เลื่องลือมะม่วงแผ่น
ดินแดนหลวงพ่อหิน ถิ่นข้าวขาวกอเดียว
แผนที่จังหวัดพิจิตร เน้นอำเภอบางมูลนาก
แผนที่จังหวัดพิจิตร เน้นอำเภอบางมูลนาก
พิกัด: 16°1′42″N 100°22′42″E / 16.02833°N 100.37833°E / 16.02833; 100.37833
ประเทศ ไทย
จังหวัดพิจิตร
พื้นที่
 • ทั้งหมด354.94 ตร.กม. (137.04 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด44,189 คน
 • ความหนาแน่น124.49 คน/ตร.กม. (322.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 66120 (ไปรษณีย์บางมูลนาก - เฉพาะตำบลเนินมะกอก ตำบลบางไผ่ ตำบลบางมูลนาก (เทศบาล) ตำบลภูมิ ตำบลลำประดา ตำบลวังกรด ตำบลวังสำโรง ตำบลห้วยเขน และตำบลหอไกร),
66210 (ไปรษณีย์วังตะกู - เฉพาะตำบลวังตะกู รวมไปถึงตำบลวังงิ้ว ตำบลวังงิ้วใต้ ตำบลสำนักขุนเณร ตำบลห้วยพุก และตำบลห้วยร่วม ในเขตอำเภอดงเจริญ)
รหัสภูมิศาสตร์6605
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบางมูลนาก ถนนประเทืองถิ่น ตำบลบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร 66120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
สถานีรถไฟบางมูลนาก
ภายในพิพิธภัณฑ์ชาวบางมูลนาก

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอบางมูลนากมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

 
สถานีรถไฟวังกร่าง

ประวัติ แก้

อำเภอบางมูลนากในอดีตเคยเป็นเมืองภูมิมาก่อน โดยมีที่ตั้งอยู่ที่บ้านหนองเต่า ตำบลภูมิ จากคำบอกเล่าได้ความว่า เมืองภูมินี้มีพระธรรมยาเป็นเจ้าเมืองแต่ไม่ปรากฏว่าเป็นเจ้าเมืองมาตั้งแต่สมัยใด ปัจจุบันมีผู้สร้างศาลพระธรรมยาขึ้นที่วัดหนองเต่า ตำบลภูมิ ชาวบ้านนับถือกันมาก หลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเมืองภูมิก็คือ ใบบอกเมืองพิจิตร พ.ศ. 2432 ในสมัยรัชกาลที่ 5 และราชกิจจานุเบกษา เล่ม 10 แผ่นที่ 12 วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2436 ได้ความต้องตรงกันว่าเมืองภูมิเป็นเมืองขึ้นของเมืองพิจิตรและผู้ว่าราชการเมืองชื่อพระณรงค์เรืองนาช

ใน พ.ศ. 2446 เมืองพิจิตรแบ่งเป็น 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง (ท่าหลวง) อำเภอบางคลาน และอำเภอเมืองภูมิ สันนิษฐานว่าที่ว่าการอำเภอเมืองภูมินี้ตั้งอยู่ที่บ้านหนองเต่า ตำบลภูมิ ต่อมา พ.ศ. 2450 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งใหม่ที่ริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกเหนือวัดบางมูลนาก แต่ยังคงใช้ชื่ออำเภอภูมิอย่างเดิม จนกระทั่งวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460 กระทรวงมหาดไทยจึงได้มีประกาศใช้ชื่ออำเภอที่เปลี่ยนใหม่ให้ตรงกับชื่อตำบลที่ตั้งว่าการอำเภอ ซึ่งที่ว่าอำเภอเมืองภูมิตั้งอยู่ที่ตำบลบางมูลนาก จึงเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบางมูลนาก และมาตั้งถิ่นฐานใหม่ ณ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านกระทั่งปัจจุบัน โดย"บางมูลนาก" เดิมเรียกว่า "บางขี้นาก" เพราะเดิมที่คลองบุษบง (เหนือตลาดบางมูลนาก) มีนากชุกชุมและได้ถ่ายมูลไว้เกลื่อนกลาดทั่งบริเวณนั้น จึงเรียกว่า "บางขี้นาก" ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเป็น "บางมูลนาก"

  • วันที่ 17 มกราคม 2460 จัดตั้งสุขาภิบาลท้องที่บางมูลนาก ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางมูลนาก[8]
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอภูมิ จังหวัดพิจิตร มณฑลพิษณุโลก เป็น อำเภอบางมูลนาก[9]
  • วันที่ 6 กันยายน 2468 ขยายเขตสุขาภิบาลท้องที่บางมูลนาก[10][11] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
  • วันที่ 22 มีนาคม 2478 ตั้งตำบลทับคล้อ แยกออกจากตำบลท้ายทุ่ง[1]
  • วันที่ 10 ธันวาคม 2478 ยกฐานะท้องถิ่นสุขาภิบาลท้องที่บางมูลนาก ให้เป็น เทศบาลเมืองบางมูลนาก[12]
  • วันที่ 24 มกราคม 2479 แยกพื้นที่ตำบลห้วยเกตุ ของอำเภอเมืองพิจิตร ตำบลทับคล้อ ตำบลคลองคูณ ของอำเภอบางมูลนาก และตำบลวังสำโรง ของอำเภอโพทะเล มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอตะพานหิน[4] ขึ้นกับอำเภอเมืองพิจิตร
  • วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลหนองเต่า อำเภอบางมูลนาก เป็น ตำบลภูมิ[13]
  • วันที่ 25 มีนาคม 2482 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอบางมูลนาก กับกิ่งอำเภอตะพานหิน อำเภอเมืองพิจิตร โดยโอนพื้นที่ตำบลทุ่งโพธิ์ และตำบลท้ายทุ่ง ของอำเภอบางมูลนาก ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอตะพานหิน อำเภอเมืองพิจิตร[14]
  • วันที่ 8 เมษายน 2483 ยกฐานะกิ่งอำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก เป็น อำเภอตะพานหิน
  • วันที่ 7 ตุลาคม 2484 ตั้งตำบลวังงิ้ว แยกออกจากตำบลวังตะกู และตำบลหนองกลับ[15]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลห้วยเขน แยกออกจากตำบลวังกรด[16]
  • วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2493 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดพิจิตร และจังหวัดนครสวรรค์ โดยโอนพื้นที่ตำบลหนองกลับ ของอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร มาขึ้นกับกิ่งอำเภอหนองบัว อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ และโอนพื้นที่หมู่ 1,2 และ 3 (ในขณะนั้น) ของตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ไปขึ้นกับตำบลพิกุล อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์[7]
  • วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลภูมิ ในท้องที่ตำบลภูมิ[17]
  • วันที่ 23 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลห้วยพุก แยกออกจากตำบลห้วยร่วม[18]
  • วันที่ 15 พฤศจิกายน 2509 จัดตั้งสุขาภิบาลวังตะกู ในท้องที่บางส่วนของตำบลวังตะกู[19] และจัดตั้งสุขาภิบาลบางไผ่ ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางไผ่[20]
  • วันที่ 21 มีนาคม 2510 ตั้งตำบลสำนักขุนเณร แยกออกจากตำบลวังงิ้ว[21]
  • วันที่ 4 ธันวาคม 2522 ตั้งตำบลลำประดา แยกออกจากตำบลภูมิ[22]
  • วันที่ 4 พฤษภาคม 2525 โอนพื้นที่หมู่ 9 บ้านสามแยก และหมู่ 13 บ้านห้วยหลัว (ในขณะนั้น) ของตำบลบางไผ่ ไปขึ้นกับตำบลลำประดา และจัดตั้งเป็นหมู่ 6 บ้านสามแยก และหมู่ 7 บ้านห้วยหลัว ของตำบลลำประดา[23]
  • วันที่ 18 ตุลาคม 2526 โอนพื้นที่หมู่ 5–6 (ในขณะนั้น) ของตำบลห้วยเขน ไปตั้งเป็นหมู่ 8–9 ของตำบลลำประดา[24]
  • วันที่ 3 มิถุนายน 2529 จัดตั้งสุขาภิบาลสำนักขุนเณร ในท้องที่หมู่ 1 บ้านสำนักขุนเณร,บ้านห้วยแห้ง หมู่ 2 บ้านไทรย้อย และหมู่ 4 บ้านกุดระกำ ตำบลสำนักขุนเณร[25]
  • วันที่ 9 มกราคม 2539 ตั้งตำบลวังงิ้วใต้ แยกออกจากตำบลวังงิ้ว[26]
  • วันที่ 26 มิถุนายน 2539 แยกพื้นที่ตำบลวังงิ้วใต้ ตำบลวังงิ้ว ตำบลห้วยร่วม ตำบลห้วยพุก และตำบลสำนักขุนเณร อำเภอบางมูลนาก มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอดงเจริญ[2] ขึ้นกับอำเภอบางมูลนาก
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลวังตะกู สุขาภิบาลบางไผ่ และสุขาภิบาลสำนักขุนเณร เป็นเทศบาลตำบลวังตะกู เทศบาลตำบลบางไผ่ และเทศบาลตำบลสำนักขุนเณร ตามลำดับ[27]
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะกิ่งอำเภอดงเจริญ อำเภอบางมูลนาก เป็น อำเภอดงเจริญ[3]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 แยกหมู่บ้านไดปลาดุก หมู่ 2 ตำบลวังสำโรง จัดตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่อีก 1 หมู่บ้าน ชื่อหมู่บ้านสายห้วย โดยตั้งเป็นหมู่ 8 ตำบลวังสำโรง[28]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอบางมูลนากแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 79 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บางมูลนาก (Bang Mun Nak) - 6. ภูมิ (Phum) 5 หมู่บ้าน
2. บางไผ่ (Bang Phai) 12 หมู่บ้าน 7. วังกรด (Wang Krot) 6 หมู่บ้าน
3. หอไกร (Ho Krai) 9 หมู่บ้าน 8. ห้วยเขน (Huai Khen) 5 หมู่บ้าน
4. เนินมะกอก (Noen Makok) 12 หมู่บ้าน 9. วังตะกู (Wang Taku) 12 หมู่บ้าน
5. วังสำโรง (Wang Samrong) 8 หมู่บ้าน 10. ลำประดา (Lam Prada) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอบางมูลนากประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองบางมูลนาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางมูลนากทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางไผ่ เฉพาะหมู่ที่ 2, 4 และบางส่วนของหมู่ที่ 5
  • เทศบาลตำบลวังตะกู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังตะกู เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1, 3, 11
  • เทศบาลตำบลหอไกร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหอไกรทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเนินมะกอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเนินมะกอกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางไผ่ เฉพาะหมู่ที่ 1, 3, 6–12 และบางส่วนของหมู่ที่ 5
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังสำโรงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลภูมิ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลภูมิและตำบลห้วยเขนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังกรด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังกรดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังตะกู เฉพาะหมู่ที่ 2, 4–10, 12 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 3, 11
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลำประดา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำประดาทั้งตำบล

การคมนาคม แก้

มีทางรถไฟสายเหนือตัดผ่านพื้นที่ โดยอำเภอบางมูลนากมีสถานีรถไฟทั้งหมด 4 สถานี ได้แก่

  • สถานีรถไฟวังกร่าง ตั้งอยู่ที่หมู่ 4,9 บ้านวังกร่าง และหมู่ 12 บ้านวังกร่างใต้ ตำบลเนินมะกอก เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 290.24 (จากสถานีรถไฟกรุงเทพ) ใช้ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟแบบไฟสีสามท่า (Three Aspect) ใช้ระบบบังคับประแจแบบประแจกลไฟฟ้าชนิดบังคับสัมพันธ์ด้วยรีเลย์ (All Relay Interlocking) ตัวย่อสถานี คือ กา. มีขบวนรถให้บริการทั้งหมด 8 ขบวน ได้แก่ ขบวนรถท้องถิ่น 201/202 (กท.–พล.–กท.), ขบวนรถธรรมดา 211/212 (กท.–ตห.–กท.), ขบวนรถท้องถิ่น 401/402 (ลบ.–พล.–ลบ.) และขบวนรถท้องถิ่น 407/408 (นว.–ชม.–นว.)
  • สถานีรถไฟบางมูลนาก ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองบางมูลนาก ตำบลบางมูลนาก เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 297.03 (จากสถานีรถไฟกรุงเทพ) ใช้ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟแบบไฟสีสามท่า (Three Aspect) ใช้ระบบบังคับประแจแบบประแจกลไฟฟ้าชนิดบังคับสัมพันธ์ด้วยรีเลย์ (All Relay Interlocking) ตัวย่อสถานี คือ นา. มีขบวนรถให้บริการทั้งหมด 14 ขบวน ได้แก่ ขบวนรถเร็ว 102 (ชม.-กท.), ขบวนรถเร็ว 107/108 (กท.–ดช.–กท.), ขบวนรถเร็ว 109 (กท.-ชม.), ขบวนรถเร็ว 111/112 (กท.–ดช.–กท.), ขบวนรถท้องถิ่น 201/202 (กท.–พล.–กท.), ขบวนรถธรรมดา 211/212 (กท.–ตห.–กท.), ขบวนรถท้องถิ่น 401/402 (ลบ.–พล.–ลบ.),ขบวนรถท้องถิ่น 407/408 (นว.–ชม.–นว.)
  • สถานีรถไฟหอไกร ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 บ้านหอไกร ตำบลหอไกร เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 303.50 (จากสถานีรถไฟกรุงเทพ) ใช้ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟแบบไฟสีสามท่า (Three Aspect) ใช้ระบบบังคับประแจแบบประแจกลไฟฟ้าชนิดบังคับสัมพันธ์ด้วยรีเลย์ (All Relay Interlocking) ตัวย่อสถานี คือ ไก. มีขบวนรถให้บริการทั้งหมด 9 ขบวน ได้แก่ ขบวนรถเร็ว 102 (ชม.-กท.), ขบวนรถท้องถิ่น 201/202 (กท.–พล.–กท.), ขบวนรถธรรมดา 211/212 (กท.–ตห.–กท.), ขบวนรถท้องถิ่น 401/402 (ลบ.–พล.–ลบ.),ขบวนรถท้องถิ่น 407/408 (นว.–ชม.–นว.)
  • สถานีรถไฟดงตะขบ ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 บ้านสถานีดงตะขบ ตำบลบางไผ่ เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 309.87 (จากสถานีรถไฟกรุงเทพ) ใช้ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟแบบไฟสีสามท่า (Three Aspect) ใช้ระบบบังคับประแจแบบประแจกลไฟฟ้าชนิดบังคับสัมพันธ์ด้วยรีเลย์ (All Relay Interlocking) ตัวย่อสถานี คือ กา. มีขบวนรถให้บริการทั้งหมด 8 ขบวน ได้แก่ ขบวนรถท้องถิ่น 201/202 (กท.–พล.–กท.), ขบวนรถธรรมดา 211/212 (กท.–ตห.–กท.), ขบวนรถท้องถิ่น 401/402 (ลบ.–พล.–ลบ.) และขบวนรถท้องถิ่น 407/408 (นว.–ชม.–นว.)

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลทับคล้อ อำเภอบางมูลนาค จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0 ง): 3938–3939. วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2478
  2. 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ตั้งเป็นกิ่งอำเภอดงเจริญ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1113 (พิเศษ 18 ง): 17. วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539
  3. 3.0 3.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-04-20. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
  4. 4.0 4.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอตะพานหิน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 2715. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-04. สืบค้นเมื่อ 2020-04-20. วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2479
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศลดอัตราเงินค่าราชการและยกเว้นไม่เก็บเงินค่าที่อนุญาตจับสัตว์น้ำและอากรสมพักศร ในตำบลชนแดน วังยาง ท่าข้าม ดงขุย ท้องที่อำเภอภูมิ แขวงเมืองพิจิตร ตั้งแต่ ศก ๑๒๘ เป็นต้นไป" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 821–822. วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2452
  6. [1] เก็บถาวร 2019-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประวัติความเป็นมาของอำเภอชนแดน
  7. 7.0 7.1 7.2 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดพิจิตร พ.ศ. ๒๔๙๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (10 ก): 196–198. วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประกาศจัดการศุขาภิบาล อำเภอบางมูลนาค จังหวัดพิจิตร์ มณฑลพิศณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 576–578. วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2460
  9. [2] เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ขยายเขตร์สุขาภิบาล ท้องที่บางมูลนาค อำเภอบางมูลนาค จังหวัดพิจิตร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 153–155. วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2468
  11. "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา แผนกกฤษฎีกา เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๒๓ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ขยายเขตร์สุขาภิบาล ท้องที่บางมูลนาค อำเภอบางมูลนาค จังหวัดพิจิตร์ หน้า ๑๕๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ง): 1841. วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2468
  12. "พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเทศบาลเมืองบางมูลนาค จังหวัดพิจิตร พุทธศักราช ๒๔๗๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0 ก): 1777–1780. วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478
  13. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2020-04-20. วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 3703. วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2482
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 58 (0 ง): 3571. วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2484
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-04-20. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2501
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอยางตลาด และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอน้ำพอง อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอพล อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อำเภอบัวใหญ่ อำเภอพิมาย และอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอศรีมหาโพธิ์ และอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี กับอำเภอตะพานหิน และอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (109 ง): 3084–3117. วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2501
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลวังตะกู อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (102 ง): 3355–3356. วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางไผ่ อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (102 ง): 3357–3358. วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509
  21. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโพทะเล และอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (26 ง): 977–982. วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2510
  22. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (200 ง): 4611–4616. วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2522
  23. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (64 ง): 1436–1440. วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2525
  24. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (167 ง): 3860–3863. วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2526
  25. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสำนักขุนเณร อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (95 ง): 2403–2405. วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2529
  26. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางมูลนาก อำเภอโพทะเล อำเภอตะพานหิน และกิ่งอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (3 ง): 25–47. วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2539
  27. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-04-20 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  28. "ประกาศจังหวัดพิจิตร เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน [อำเภอบางมูลนาก แยกหมู่บ้าน บ้านไดปลาดุก หมู่ที่ ๒ ตำบลวังสำโรง จัดตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่อีก ๑ หมู่บ้าน ชื่อหมู่บ้านสายห้วย โดยตั้งเป็นหมู่ที่ ๘ ตำบลวังสำโรง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (39 ง): 92–94. วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2566