หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา

หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2409 — 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2438) เป็นหม่อมห้ามสะใภ้หลวงในสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช[1]


แม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา

เกิดคุณแม้น
9 พฤษภาคม พ.ศ. 2409
เสียชีวิต2 พฤษภาคม พ.ศ. 2438 (28 ปี)
วังบูรพาภิรมย์ จังหวัดพระนคร อาณาจักรสยาม
คู่สมรสสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
บุตรพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล
บิดามารดาเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
ท่านผู้หญิงอิ่ม สุรวงศ์ไวยวัฒน์

ประวัติ

แก้

หม่อมแม้น เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2409 เป็นธิดาคนเล็กของเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) สมุหพระกลาโหมในสมัยรัชกาลที่ 5 เกิดกับท่านผู้หญิงอิ่ม และเป็นหลานสาวของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หม่อมแม้นมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 9 คน โดยพี่หญิงของท่านสองคนได้เป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ และเจ้าจอมมารดาโหมด

วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นหม่อมห้ามในสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช[2] และให้ประสูติพระโอรสพระธิดารวม 3 พระองค์ คือ

  1. พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช (7 กันยายน พ.ศ. 2428 – 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2477)
  2. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช (7 มีนาคม พ.ศ. 2432 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2452)
  3. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล (10 มีนาคม พ.ศ. 2435 – 23 มกราคม พ.ศ. 2500)

หม่อมแม้นตามเสด็จสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชไปคล้องช้าง ระหว่างทางเกิดป่วยหนัก[3] ครั้นเมื่อกลับถึงพระนคร หม่อมแม้นก็ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอหิวาตกโรคเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2438[4]อายุ 28 ปี ได้รับการพระราชทานเพลิงเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2451 พร้อมพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช ซึ่งสิ้นพระชนม์ระหว่างศึกษาวิชาทหารที่เยอรมัน ที่เมรุหลวงวัดเทพศิรินทราวาส และได้บรรจุอัฐิที่อนุสาวรีย์ในตึกแม้นนฤมิตร และหล่อรูปท่านทั้งสองเอาไว้

เกียรติยศ

แก้

ตราประจำตัว

แก้

หม่อมแม้นตราประจำตัว เป็นรูปผึ้งหลวงเกาะท่อนอ้อยที่วางเรียงเป็นอักษรนามภาษาอังกฤษ M ด้านบนเป็นตราสุริยะอย่างตะวันตก ซึ่งเป็นตราประจำตัวสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ปู่ของท่านเอง นอกจากนี้ยังมีอักษรนามคู่กับสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช โดยใช้เป็นชื่อย่อในอักษรโรมัน M.B.S. โดย M. หมายถึง หม่อมแม้น และ B.S. หมายถึงเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ มีลักษณะเป็นอักษรไขว้ เบื้องบนมีตราอาทิตย์อุทัย[5]

สถานที่ที่ตั้งตามนาม

แก้
  • สะพานแม้นศรี – เป็นชื่อสะพานข้ามคลองที่สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ใช้เงินที่ได้รับจากผู้ช่วยในงานศพหม่อมแม้นมาสร้างสะพานข้ามคลองที่ขบวนแห่ศพที่ยิ่งใหญ่หม่อมแม้นเคลื่อนผ่าน เพื่อสาธารณะประโยชน์ และอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่หม่อมแม้น เริ่มใช้งานเมื่อ พ.ศ. 2451[6]
  • แยกแม้นศรี – ตั้งชื่อตามสะพานแม้นศรี ซึ่งภายหลังถูกรื้อออกเพื่อสร้างแยกแม้นศรี
  • ตึกแม้นนฤมิตร – เป็นอาคารภายในโรงเรียนเทพศิรินทร์ที่สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระราชทานทุนทรัพย์เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลแก่หม่อมแม้น โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามอาคาร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2445[7]
  • ตึกแม้นศึกษาสถาน หรือ ตึกแม้นสถานศึกษา – เป็นอาคารภายในโรงเรียนเทพศิรินทร์ที่ทดแทนอาคารแม้นนฤมิตรที่ถูกระเบิดทำลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทางราชการจึงก่อสร้างอาคารใหม่ใน พ.ศ. 2491 โดยรักษาเค้าโครงเดิมของตึกแม้นนฤมิตรไว้[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. โรงเรียนเทพศิรินทร์,หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา เก็บถาวร 2013-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ไม่ทราบ
  2. ราชกิจจานุเบกษา. ประวัติแม้นในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ กรมพระภาณุพันธุวงษวรเดช เล่ม ๑๒, ตอน ๗, วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๘, หน้า ๕๒.
  3. "โคลงแสดงประวัติพระเจ้าวรวงษเธอ พระองค์เจ้าศิริวงษวัฒนเดชกับแม้นในพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ กรมพระภาณุพันธุวงษวรเดช". นามานุกรมวรรณคดีไทย. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ข่าวตายในกรุง
  5. ปิติรัชต์ จูช่วย (18 พฤศจิกายน 2563). ""M.B.S." ตัวอย่างธรรมเนียมการใช้ตราร่วมกันทั้ง "ฝ่ายหน้า" และ "ฝ่ายใน" ที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕". Siam Renaissance. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ที่มาของ "สี่แยกแม้นศรี" และ "สะพานแม้นศรี"". สยามานุสสติ. 7 กุมภาพันธ์ 2561. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "หม่อมแม้น ปฐมเหตุแห่ง แม้นนฤมิตร". โรงเรียนเทพศิรินทร์. 29 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ตึกแม้นสถานศึกษา". สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. 7 กันยายน 2559. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. ราชกิจจานุเบกษา, การถวายบังคมพระบรมรูปแลพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์, 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1894, หน้า 262