สุรสิทธิ์ สัตยวงษ์

(เปลี่ยนทางจาก สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์)

สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ (23 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 - พ.ศ. 2526 [1]) อดีตนักร้อง นักแสดงชาวไทย

สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด23 กรกฎาคม พ.ศ. 2466
สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์
เมืองกรุงเก่า ประเทศสยาม
เสียชีวิตพ.ศ. 2526 (60 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสประไพพิศ นวราษฎร์ธิรเดช
อาชีพนักร้อง นักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2487 - 2524
ผลงานเด่นสุภาพบุรุษเสือไทย (2492)
แม่นาคพระโขนง (2502)
จอมโจรมเหศวร (2513)
ฝนใต้ (2513) ฯลฯ
รางวัล
พระสุรัสวดีนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2501 - กตัญญูประกาศิต

วัยรุ่น แก้

สุรสิทธิ์ เป็นชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าสู่วงการจากการชักนำของหม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ ดิศกุล รับราชการเป็นนักร้องของวงดุริยางค์กองทัพเรือ (รุ่นเดียวกับ สมยศ ทัศนพันธุ์ และเสน่ห์ โกมารชุน) และเรียนร้องเพลงกับครูล้วน ควันธรรม รุ่นเดียวกับชาลี อินทรวิจิตร จากนั้นไปเป็นนักร้องในวงดนตรีของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ รุ่นเดียวกับ สุพรรณ บูรณพิมพ์ ปิติ เปลี่ยนสายสืบ และสถาพร มุกดาประกร ก่อนเข้าเรียนที่โรงเรียนจ่าอากาศ และประจำที่กองภาพยนตร์ทหารอากาศ

วัยหนุ่ม แก้

เริ่มมีชื่อเสียงในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รับบทพระเอกละครเวที พันท้ายนรสิงห์ จากบทพระนิพนธ์ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล แห่ง คณะอัศวินการละคร ในปี พ.ศ. 2487 และร้องเพลงเอกของเรื่องเป็นคนแรกบนเวที คือ "น้ำตาแสงไต้" ผลงานของครูสง่า อารัมภีร (บันทึกแผ่นเสียง โดย บุญช่วย หิรัญสุนทร) ส่วนเพลงที่ร้องบันทึกแผ่นเสียงไว้ เช่น แก้วตานิทราเถิด, เดียวดาย (จากเรื่อง นางไพร)

ต่อมาหันไปแสดงภาพยนตร์ มีผลงานจำนวนมาก หลายเรื่องที่สร้างชื่อเสียง ประสบความสำเร็จทั้งรายได้และคำชม คือ สุภาพบุรุษเสือไทย ในปี พ.ศ. 2492 ขณะอายุได้ 26 ปี หนังไทย 16 มม.สร้างจากนวนิยายเรื่องดัง 'เสือไทยผู้สุภาพ' ของ เสนีย์ บุษปะเกศ คู่กับ สอางค์ ทิพย์ทัศน์ เข้าฉายที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง[2]ตามด้วยบท "นายมาก" ใน แม่นาคพระโขนง คู่กับ "แม่นาค" ที่มีชื่อเสียงที่สุดของเมืองไทยตลอดกาล ปรียา รุ่งเรือง สร้างโดยเสน่ห์ศิลปภาพยนตร์ ของ เสน่ห์ โกมารชุน พ.ศ. 2502 (ปัจจุบันขึ้นทะเบียนเป็นหนึ่งในบรรดาภาพยนตร์มรดกชาติ เก็บรักษาไว้ที่หอภาพยนตร์)

ผลงานเด่นอื่น ๆ ในระยะต่อมา เช่น จอมโจรมเหศวร ของ อนุมาศ บุนนาค, ฝนใต้ ของ ฉลอง ภักดีวิจิตร พ.ศ. 2513 ฯลฯ

นอกจากนี้ยังนำแสดงหนังอิงประวัติศาสตร์ทุนสูงซึ่งเป็นงานร่วมสร้างระหว่างไทย-ฮ่องกง ระบบ 35 มม. สีเสียงในฟิล์ม คู่กับ วิไลวรรณ วัฒนพานิช และดาราชอว์บราเดอร์ส เรื่อง สุรนารี ฉายทั้งในและต่างประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2500

วัยปลาย แก้

มีปัญหาด้านสุขภาพ แต่ยังคงเป็นนักร้องรับเชิญในรายการเพลง ทางโทรทัศน์ช่อง 7 สียุคแรก ติดต่อกันนานหลายปี นักร้องในรายการรุ่นเดียวกัน เช่น สวลี ผกาพันธุ์, เฉลา ประสพศาสตร์ ฯลฯ

รางวัล แก้

ผลงาน แก้

ละครเวที แก้

ฯลฯ

ภาพยนตร์ แก้

  • 2492: สุภาพบุรุษเสือไทย
  • 2493: ชายใจเพชร
  • 2493: ศาสนารักของนางโจร
  • 2494: โตนงาช้าง
  • 2494: เสือดำ
  • 2494: ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
  • 2496: สมิงสาว
  • 2496: กาหลงรัง
  • 2496: ไฟรักไฟบาป
  • 2497: สามหัวใจ
  • 2497: น้ำตาชาย
  • 2497: สามเสือสมุทร
  • 2497: เกาะมุกดาดำ
  • 2498: เทวีขวัญฟ้า
  • 2498: เหนือธรณี
  • 2498: สลัดดำ
  • 2498: สามเสือ
  • 2498: รักคู่ฟ้า
  • 2498: เพลิงโลกันตร์
  • 2498: ยอดกตัญญู
  • 2498: สี่สิงห์นาวี
  • 2499: วิมานชีวิต
  • 2499: ตรางดวงใจ
  • 2499: พรจากนรก
  • 2499: หงส์หยก
  • 2499: ชายสะไบ
  • 2499: สุภาพบุรุษเสือผา
  • 2499: แผ่นดินว่างกษัตริย์
  • 2500: สุรนารี
  • 2500: ขุนโจร 5 นัด
  • 2500: โรงแรมนรก
  • 2501: สวรรค์หาย
  • 2501: กตัญญูประกาศิต
  • 2501: หนึ่งต่อเจ็ด
  • 2501: ยูงรำแพน
  • 2501: สาวน้อย
  • 2501: สุรนารี
  • 2502: รอยเสือ
  • 2502: กล่อมกากี
  • 2502: แม่นาคพระโขนง
  • 2505: ยอดธง
  • 2505: สิงห์เมืองชล
  • 2506: ใจเดียว
  • 2506: กลางดงเสือ
  • 2507: ทรพีร้องไห้
  • 2508: นางไม้
  • 2509: คมสีหราช
  • 2509: ชุมทางหาดใหญ่
  • 2510: บุหรงทอง
  • 2510: สุดแผ่นดิน
  • 2510: 5 พยัคฆ์สาว
  • 2510: 7 พระกาฬ
  • 2511: จ้าวอินทรี
  • 2511: สิงห์เหนือเสือใต้
  • 2511: 7 ป่าช้า
  • 2511: สิงห์ล้างสิงห์
  • 2511: เลือดอาชาไนย
  • 2511: เล็บครุฑ ตอนประกาศิตจางซูเหลียง
  • 2512: ดอนเจดีย์
  • 2512: ด่วนเหนือ
  • 2512: ยอดรักยูงทอง
  • 2512: หลั่งเลือดแดนสิงห์
  • 2513: จอมโจรมเหศวร
  • 2513: ฟ้าคะนอง
  • 2513: กำแพงแสน
  • 2513: เทวีกายสิทธิ์
  • 2513: วนาสวรรค์
  • 2513: กิ่งแก้ว
  • 2513: ฝนใต้
  • 2513: เงินจางนางจร
  • 2514: มันมากับความมืด
  • 2514: มันมากับความมืด
  • 2515: แควเสือ
  • 2515: ชาละวัน
  • 2515: รักต้องห้าม
  • 2515: เพชรตาแมว
  • 2516: ทางสายใหม่
  • 2516: หนึ่งในดวงใจ
  • 2516: รัญจวนจิต
  • 2516: ผู้กองยอดรัก
  • 2517: แม่
  • 2518: หัวใจราชสีห์
  • 2519: กบฎหัวใจ
  • 2520: มันทะลุฟ้า
  • 2520: เจ้าพ่อ 7 คุก
  • 2520: ดวล
  • 2522: เตือนใจ
  • 2522: เรือเพลง
  • 2522: กำนันช้อง
  • 2522: อาญานรก
  • 2522: อยุธยาทีข้ารัก
  • 2522: หักเหลี่ยมนักเลงปืน
  • 2522: เพียงคำเดียว
  • 2523: ฉุยฉาย
  • 2523: ไอ้ขุนเพลง
  • 2523: ตาพระยาบ้าเลือด
  • 2523: รักลอยลม
  • 2524: รักพยาบาท
  • 2524: เฉยแหลก

โทรทัศน์ แก้

  • ทศวรรษ 2500-2510: เพลงแห่งความหลัง

มรณกรรม แก้

เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2526 ด้วยหัวใจล้มเหลว ขณะอายุได้ 60 ปี ณ รพ.เมโย

อ้างอิง แก้

  • ไพบูลย์ สำราญภูติ. เพลงลูกกรุง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 168 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-8218-82-3
  1. "กระทู้จาก thaifilm.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2008-03-13.
  2. วีดิทัศน์ "หนังแท้" รวมผลงานหลายเรื่องของแท้ ประกาศวุฒิสาร ศิลปินแห่งชาติ จัดทำโดย มูลนิธิหนังไทย ,2544