จุรี โอศิริ
จุรี โอศิริ (2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 – 24 มกราคม พ.ศ. 2555) ชื่อเล่น จุ๊ หรือรู้จักโดยทั่วไปว่า “ป้าจุ๊” เป็นนักร้อง เป็นผู้ประกาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย นักพากย์ นักแสดงละครเวที ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ ได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง 4 ครั้ง (สาขาผู้พากย์ยอดเยี่ยม 3 รางวัล และผู้แสดงประกอบยอดเยี่ยม 1 รางวัล) ได้รับเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักพากย์และนักแสดง) ปี พ.ศ. 2541[1] และอดีตประธานกรรมการมูลนิธิสวัสดิการนักแสดงอาวุโสคนแรก
จุรี โอศิริ | |
---|---|
เกิด | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 24 มกราคม พ.ศ. 2555 (82 ปี) อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย |
คู่สมรส | เสนอ โกมารชุน สมชาย สามิภักดิ์ |
บุตร | 2 คน |
อาชีพ | นักร้อง นักแสดง นักพากย์ |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2488 - 2555 |
ศิลปินแห่งชาติ | สาขาศิลปะการแสดง - ภาพยนตร์และละคร นักพากย์ พ.ศ. 2541 |
พระสุรัสวดี | ผู้พากย์ยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง โบตั๋น พ.ศ. 2500 ผู้พากย์ยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง นกน้อย พ.ศ. 2507 ผู้แสดงประกอบยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง วัยตกกระ พ.ศ. 2522 ผู้พากย์ยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง ไร้เสน่หา พ.ศ. 2522 ผู้พากย์ยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง เทพธิดาโรงงาน พ.ศ. 2525 |
โทรทัศน์ทองคำ | ดาราสมทบยอดเยี่ยม จากละครโทรทัศน์เรื่อง สายโลหิต |
เมขลา | สาขารางวัลเกียรติคุณ พ.ศ. 2554 (หลังจากเสียชีวิต) |
ThaiFilmDb |
ประวัติ
แก้จุรี เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 ที่กรุงเทพมหานคร บิดาชื่อเตียง โอศิริ มารดาชื่อเลมียด โอศิริ มีพี่น้อง 4 คน จุรีเป็นบุตรคนที่ 2 นายเตียงผู้เป็นบิดา เป็นคนไทยคนแรก ๆ ที่ทำกิจการผลิตแผ่นเสียงในนามของห้างฮัมบวร์คสยาม ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผ่นเสียงตราสุนัขนั่งฟังลำโพงหีบเสียง (His Master 's Voice) ทำให้ได้ซึมซับกับบรรยากาศของเสียงเพลง ต่อมาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนาฏศิลป์ กรมศิลปากร โดยจุรีมีความสนใจด้านการเต้นรำ เช่น บัลเล่ต์ และการร้องรำทำเพลงแบบสากลต่าง ๆ จึงได้เลือกเรียนเอกทางด้านนาฏศิลป์สากล และขับร้องเพลงสากล จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (เป็นนักเรียนนาฏศิลป์รุ่นเดียวกับนภา หวังในธรรมและจันทนา โอบายวาทย์)
เข้าสู่วงการ
แก้นักร้อง
แก้หลังจบการศึกษาจุรีสมัครเป็นพนักงานต้อนรับบนรถไฟในเวลาสั้นๆก่อนเข้าทำงานวงการบันเทิงเต็มตัวในหลากหลายด้าน เริ่มจากเป็นนักร้องหน้าม่าน สลับละครของคณะผกาวลีและคณะศิวารมย์ ได้มีโอกาสแสดงเป็นนางเอกในละครเพลงเรื่อง “นเรศวรมหาราช” และเข้าเป็นนักร้องประจำวงดุริยางค์ทหารบก ต่อมาย้ายมาเป็นนักร้องสังกัดวงดนตรีกรมโฆษณาการหรือวงดนตรีสุนทราภรณ์ตามคำชักชวนของครูเอื้อ สุนทรสนาน
นักแสดง
แก้จุรีเคยผ่านงานแสดงมาบ้างแล้ว ในละครเวทีเรื่อง"ตะรุเตา"ของไถง สุวรรณทัตตั้งแต่ยังเรียนอยู่ที่โรงเรียนนาฏศิลป ต่อมาหลังละครเวทีซบเซานักแสดงละครเวทีหันมาแสดงภาพยนตร์กันเป็นส่วนใหญ่คุณจรี อมาตยกุลจึงมีแผนจะสร้างภาพยนตร์เรื่องสุภาพบุรุษจากอเวจีโดยวางตัวส.อาสนจินดาเป็นพระเอกแต่ยังขาดตัวนางเอกจึงมีคนแนะนำให้ไปดูตัวจุรี คุณจรีเห็นว่าหน้าตาพอใช้ได้และเคยมีประสบการณ์มาก่อนจึงชักชวนให้ร่วมแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกรับบทเป็นนางเอกในเรื่อง “สุภาพบุรุษจากอเวจี” กำกับการแสดงโดยครูเนรมิต[2]
นักพากย์
แก้เมื่อการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องสุภาพบุรุษจากอเวจีซึ่งเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเธอเสร็จสิ้นลง คุณจรี อมาตยกุลผู้อำนวยการสร้าง ต้องการหานักพากย์หญิงมาให้เสียงพากย์คู่กับเสน่ห์ โกมารชุนนักพากย์ฝ่ายชาย จึงลองชักชวนจุรีให้ลองมาพากย์เสียงดู จุรีตอบตกลงทั้ง ๆ ที่ตัวเธอเองยังไม่เคยพากย์เสียงเลยสักครั้ง แต่เมื่อถึงเวลาที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายจุรีได้ให้เสียงพากย์ตัวละครฝ่ายหญิงโดยใช้น้ำเสียงที่สื่ออารมณ์ของตัวละครได้ชัดเจน พร้อมกับการใส่มุก ใส่ลูกเล่น ให้ผู้ชมภาพยนตร์ได้มีอารมณ์ขันไปด้วยตลอดจนจบเรื่อง การพากย์เสร็จสิ้นลงด้วยดี
จุรีเกิดชอบทางด้านพากย์เสียง จึงรับพากย์ให้กับดาราหญิงและเด็กทั้งหญิงชายในหลากหลายบทบาททั้งนางเอก นางรอง ตัวอิจฉา และตัวประกอบมากมายนับไม่ถ้วน อาทิ อมรา อัศวนนท์ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง วิไลวรรณ วัฒนพานิช กัณฑรีย์ นาคประภา เพชรา เชาวราษฎร์ พิศมัย วิไลศักดิ์ ภาวนา ชนะจิต ขวัญตา บัวเปลี่ยนสี เยาวเรศ นิศากร มาเรีย จาง เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ ลลนา สุลาวัลย์ ภัทราวดี ศรีไตรรัตน์ นันทนา เงากระจ่าง ชูศรี มีสมมนต์ สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต มาลี เวชประเสริฐ ล้อต๊อกน้อย เด็กหญิงบรรจง นิลเพชร ฯลฯ
ผลงานการพากย์เสียงของจุรี มีหลายคนที่ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองและสุพรรณหงส์ทองคำ ได้แก่ สมจิต ทรัพย์สำรวย จากภาพยนตร์เรื่อง ยอดอนงค์ และ ค่าน้ำนม, ภาวนา ชนะจิต จากภาพยนตร์เรื่อง แสงสูรย์, พิศมัย วิไลศักดิ์ จากภาพยนตร์เรื่อง ดวงตาสวรรค์ ไร้เสน่หา และ เงิน เงิน เงิน, เนาวรัตน์ วัชรา จากภาพยนตร์เรื่อง เดือนร้าว, เพชรา เชาวราษฎร์ จากภาพยนตร์เรื่อง นกน้อย, เปียทิพย์ คุ้มวงศ์ จากภาพยนตร์เรื่อง ตลาดพรหมจารีย์ และ อาอี๊, บุปผารัตน์ จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา, ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา จากภาพยนตร์เรื่อง ประสาท, ทาริกา ธิดาทิตย์ จากภาพยนตร์เรื่อง เหนือกว่ารัก, นิจ อลิสา จากภาพยนตร์เรื่อง เพื่อน-แพง, ล้อต๊อกน้อย จากภาพยนตร์เรื่อง ยอดอนงค์, เด็กหญิงบรรจง นิลเพ็ชร จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา และ มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช จากภาพยนตร์เรื่อง ป่ากามเทพ จุรีเคยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พากย์ภาพยนตร์ถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการเสด็จพระราชดำเนิน ทอดพระเนตรภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น ในฝูงหงส์ สาวน้อย นกน้อย แม่นาคพระโขนง เป็นต้น
ตัวอย่างผลงาน
แก้ละครโทรทัศน์
แก้- คนเริงเมือง (2522) ช่อง 3
- สี่แผ่นดิน (2523) ช่อง 5
- นางทาส (2524) ช่อง 3
- สามหัวใจ (2525) ช่อง 3
- ทุ่งทองกวาว (2526) ช่อง 3
- พระจันทร์หลงเงา (2526) ช่อง 3
- ครูมาลัย (2526) ช่อง 5
- ไม้ผลัดใบ (2526) ช่อง 3
- แรงรัก (2526) ช่อง 9
- พ่อปลาไหล (2526) ช่อง 3
- ห้องที่จัดไม่เสร็จ (2527) ช่อง 3
- เก้าอี้ขาวในห้องแดง (2527) ช่อง 3
- แค่เอื้อม (2527) ช่อง 5
- พฤกษาสวาท (2527) ช่อง 3
- รักริมทาง (2527) ช่อง 9
- เพลงพรหม (2527) ช่อง 3
- บนถนนสายเดียวกัน (2528) ช่อง 9
- พลับพลึงสีชมพู (2528) ช่อง 7
- เบญจรงค์ห้าสี (2528) ช่อง 3
- สายรุ้ง (2528) ช่อง 3
- บ้านขนนก (2528) ช่อง 3
- สายโลหิต (2529) ช่อง 3
- เคหาสน์ภูต (2529) ช่อง 3
- มายาลวง (2529) ช่อง 3
- เนื้อนาง (2529) ช่อง 7
- วัยตกกระ (2529) ช่อง 3
- ทองเนื้อเก้า (2530) ช่อง 7
- แต่ปางก่อน (2530) ช่อง 3 รับเชิญ
- ละครคน (2530) ช่อง 3
- เวทีนี้...มีปัญหา(มาก) (2530) ช่อง 7
- เงา (2530) ช่อง 3
- ปริศนา (2530) ช่อง 3
- สกาวเดือน-รัศมีแข (2530) ช่อง 7
- ฟ้าต่ำ (2530) ช่อง 3
- เจ้าสาวของอานนท์ (2531) ช่อง 3
- เกมกามเทพ (2531) ช่อง 3
- เดอะผับ (2531) ช่อง 7
- คนเริงเมือง (2531) ช่อง 3
- บริษัทจัดคู่ (2531) ช่อง 7
- ลายหงส์ (2531) ช่อง 3
- แผลเก่า (2531) ช่อง 7
- รัตนาวดี (2531) ช่อง 3
- แก้วตาพี่ (2532) ช่อง 3
- เกิดจากวัด (2532) ช่อง 3
- อยู่เพื่อรัก (2532) ช่อง 7
- ผู้ชนะสิบทิศ (2532) ช่อง 3
- เมียหลวง (2532) ช่อง 7
- ตะกายดาว (รับเชิญ) ช่อง 9
- กตัญญูประกาศิต (2533) ช่อง 3
- วงศาคณาญาติ (2533) ช่อง 3
- แรงรัก (2533) ช่อง 3
- ปาก (2534) ช่อง 3
- พระสุริโยทัย (2534) ช่อง 5
- 3 หนุ่ม 3 มุม (รับเชิญ) ช่อง 7
- โทน (2535) ช่อง 3
- หัวใจนี้เพื่อเธอ (2535) ช่อง 9
- ชื่นชีวานาวี (2535) ช่อง 3
- ไผ่ลอดกอ (2535) ช่อง 3
- หนึ่งในทรวง (2535) ช่อง 3
- ไฟโชนแสง (2535) ช่อง 3
- บ้านเล็ก (2535) ช่อง 3
- วัยนี้ไม่มีเบรก (2536) ช่อง 3
- น้ำตาหยดสุดท้าย (2536) ช่อง 3
- คำมั่นสัญญา (2536) ช่อง 3
- บัลลังก์เมฆ (2536) ช่อง 5
- บาดาลใจ (2536) ช่อง 3
- แม่พลอยหุง (2536) ช่อง 3
- โสมส่องแสง (2537) ช่อง 3
- นางฟ้าหลงทาง (2537) ช่อง 3
- พ่อจ๋า แม่ขา ลูกรัก (2537) ช่อง 3
- สามหนุ่ม หลายมุม (2537) ช่อง 7
- ไฟในทรวง (2537) ช่อง 3 รับเชิญ
- ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท (2537) ช่อง 3
- เหมือนคนละฟากฟ้า (2538) ช่อง 3
- พริกขี้หนูกับหมูแฮม (2538) ช่อง 3 รับเชิญ
- ร่มฉัตร (2538) ช่อง 3
- ฝันเฟื่อง (2538) ช่อง 3
- สกาวเดือน (2538) ช่อง 3 รับเชิญ
- เยี่ยมวิมาน (2539) ช่อง 3 รับบท วีณา
- จัดสรรหรรษา (2539) ช่อง 3
- แผ่นดินของเรา (2539) ช่อง 5
- ละครเล่ห์ เสน่หา (2539) ช่อง 3
- สาวใช้ไฮเทค (2540) ช่อง 3
- ทานตะวัน (2540) ช่อง 3
- เรือนมยุรา (2540) ช่อง 3
- ธรณีนี่นี้ใครครอง (2541) รับบท คุณย่า ช่อง 3
- คนึงหา 240 วันไม่ทันห้ามใจ (2541) ช่อง 3
- กะล่อนคูณสอง (2541) ช่อง 3
- กัลปังหา (2541) ช่อง 3
- ชีวิตเปื้อนฝุ่น (2541) ช่อง 7
- รักเล่ห์เพทุบาย (2542) ช่อง 3 รับเชิญ
- รักสุดท้ายที่ปลายฟ้า (2542) ช่อง 3
- โดดเดี่ยวไม่เดียวดาย (2542) ช่อง 7
- คุณชาย (2542) ช่อง 7
- พ่อ ตอน เทียนขี้ผึ้ง (2542) ช่อง 5
- เลือกแล้วคือเธอ (2542) ช่อง 5
- สามี (2542) ช่อง 3
- ละครเทิดพระเกียรติชุดใต้แสงตะวัน ตอน แสงเทียน (2542) ช่อง 7
- น้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์ (รับเชิญ) ช่อง 3
- ทิพยดุริยางค์ (2543) ช่อง 7
- แม่น้ำ (2543) ช่อง 5
- สายธารหัวใจ (2543) ช่อง 7
- คมพยาบาท (2544) รับบท คุณหญิงอนุรักษ์ อนุรักษ์ธานินทร์ ช่อง 7
- สงครามดอกรัก (2544) รับบท ยายส้าน ช่อง 7
- อุบัติ..ที่หัวใจ (2544) ช่อง 3
- บ่วงบรรจถรณ์ (2545) ช่อง 7
- เส้นไหมสีเงิน (2545) ช่อง 3
- สะใภ้จ้าว (2545) ช่อง 3
- น้ำพุ (2545) ช่อง 7
- ครูสมศรี (2546) ช่อง 7
- แม่อายสะอื้น (2547) รับบท สาวน้อย ช่อง 7
- เรือนไม้สีเบจ (2547) ช่อง 3
- พยัคฆ์ร้ายหัวใจจิ๋ว (2548) ช่อง 7
- เล่ห์ร้าย อุบายรัก (2548) รับบท จินตนา ช่อง 7
- ดาวหลงฟ้า (2548) รับบท ย่าหงส์ ช่อง 3
- เพลิงนรี (2548) ช่อง 7
- วิมานมังกร (2551) รับบท อาม่า ช่อง 7
- เคหาสน์สีแดง (2554) รับบท ยายจ้วน ช่อง 3
ภาพยนตร์
แก้- สุภาพบุรุษจากอเวจี (2494)
- หงส์หยก (2499)
- มังกรทอง (2500)
- กิโมโน (2502)
- รุ้งเพชร (2504)
- สกาวเดือน (2505)
- ร้อยป่า (2507)
- ดรุณีสีเลือด (2509)
- แก้วกลางสลัม (2509)
- เป็ดน้อย (2511)
- ทับสะแก (2512)
- สวรรค์เบี่ยง (2513)
- ม้ามืด (2513)
- โทน (2513)
- เรือมนุษย์ (2513)
- บ้านสาวโสด (2513)
- แม่นาคพระนคร (2513)
- จงอางผยอง (2514)
- เขยตีนโต (2514)
- วิวาห์พาฝัน (2514)
- ไก่นา (2514)
- เชียงตุง (2515)
- พ่อปลาไหล (2515)
- วิวาห์ลูกทุ่ง (2515)
- สุดสายป่าน (2515)
- จินตะหรา (2516)
- แหวนทองเหลือง (2516)
- เหยื่ออารมณ์ (2518)
- คืนนี้ไม่มีพระจันทร์ (2518)
- ตะวันตกดิน (2518)
- ฝ้ายแกมแพร (2518)
- เหยื่ออารมณ์ (2518)
- คมกุหลาบ (2519)
- สวรรค์ยังมีชั้น (2519)
- กูซิใหญ่ (2520)
- รักเลือกไม่ได้ (2520)
- หัวใจที่ไม่อยากเต้น (2520)
- เทพธิดาบาร์ 21 (2521)
- ยิ้มสวัสดี (2521)
- วัยตกกระ (2521)
- วันเพ็ญ (2521)
- รักประหาร (2522)
- ฟ้าผ่าวัดคณิกาแก้ว (2522)
- รักริษยา (2522)
- จากเธอที่เขาพิงกัน (2523)
- หลวงตา (2523)
- อีพริ้ง คนเริงเมือง (2523)
- เด็ดหนวดพ่อตา (2524)
- ดาวพระศุกร์ (2524)
- รักครั้งสุดท้าย (2524)
- รักครั้งแรก (2524)
- คุณปู่ซู่ซ่า (2524)
- สาวจอมกวน (2525)
- เทพธิดาโรงงาน (2525)
- พระเอกรับจ้าง (2525)
- กระท่อมนกบินหลา (2525)
- คุณย่าเซ็กซี่ (2525)
- รักข้ามรุ่น (2525)
- บัวขาว (2526)
- รักกันวันละนิด (2526)
- เจ้าสาวเงินล้าน (2526)
- แม่ดอกกระถิน (2526)
- วันนั้นคงมาถึง (2527)
- สวัสดีคุณนาย (2527)
- ซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อย (2528)
- ผู้ใหญ่ลีกับนางมา (2528)
- หยุดโลกเพื่อเธอ (2528)
- ข้างหลังภาพ (2528)
- ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท (2529)
- ยิ้ม (2529)
- รักพลิกล็อก (2529)
- ขบวนการคนใช้ (2529)
- ท่านชายกำมะลอ (2529)
- เกมส์มหาโชค (2529)
- รักใคร่ (2530)
- ปีกมาร (2530)
- พลอยทะเล (2530)
- แรงเทียน (2531)
- นางกลางไฟ (2531)
- คนกลางเมือง (2531)
- บุญชูผู้น่ารัก (2531)
- กองร้อยสอยรัก (2531)
- รอยไถ (2532)
- เศรษฐีใหม่ (2532)
- บุญชู 2 น้องใหม่ (2532)
- ขอชื่อสุธีสามสี่ชาติ (2532)
- พริกขี้หนูกับหมูแฮม (2532)
- บุญชู 5 เนื้อหอม (2533)
- ภูตอเวจี (2533)
- คนละวัยอลวน (2533)
- เปลวไฟในตะวัน (2534)
- ขอลูกแก้วเป็นพระเอก (2534)
- บุญชู 6 โลกนี้ดีออกสุดสวยน่ารักน่าอยู่ ถ้าหงุ่ย (2534)
- ครั้งนี้โลกก็ฉุดไม่อยู่ (2535)
- เพราะฉะนั้น นั่นน่ะซี (2535)
- บุญชู 7 รักเธอคนเดียวตลอดกาลใครอย่าแตะ (2536)
- บุญชู 8 เพื่อเธอ (2538)
- กล่อง (2541)
- อั้งยี่ ลูกผู้ชายพันธุ์มังกร (2543)
- ม.3 ปี 4 เรารักนาย (2552)
ละครเวที
แก้- ตะรุเตา (2488)
- หัวเราะกับน้ำตา (มณเฑียรทองเธียเตอร์)
- กว่าจะรักกันได้ สุนทราภรณ์ เดอะมิวสิกัล (2554)
คอนเสิร์ต
แก้- สุนทราภรณ์ครึ่งศตวรรษ (2532)
- จุรีอินคอนเสิร์ต (2547)
- วันแห่งความรักของผู้ชายชื่อ เศรษฐา ศิระฉายา (2550)
ผลงานด้านการเขียน
แก้- ป้าจุ๊อยากเล่า เล่ม 1 (2533)
- เรื่องสั้นฝันหวาน (2534)
- ป้าจุ๊อยากเล่า เล่ม 2 (2536)
- โชคดีได้บินฟรีครึ่งโลก (2537) ผลงานการเขียนต่อเนื่องในนิตยสารสกุลไทย
- โลกของจุรี โอศิริ (2542)
- เรารักกัน (2552)
- ตั้งแต่รู้จักกัน (2555)
มิวสิกวิดีโอ
แก้- ไชน่า เกิร์ล - วงทู (2534)
- มนุษย์หมาป่า - ยุรนันท์ ภมรมนตรี (2535)
- รักเดียวใจเดียว - ธนพล อินทฤทธิ์ (2543) (ร่วมกับ สมชาย สามิภักดิ์)
- อยู่คนเดียวไม่ได้แล้ว (ชัด) (2545) (ร่วมกับ สมชาย สามิภักดิ์)
- หัวใจสบายดี - โปงลางสะออน (2553)
- จดหมายถึงเธอ - Boyd-Nop (2553)
โฆษณา
แก้- ยาบำรุงโลหิต เฮโมวิต (2545) (ร่วมกับ สมชาย สามิภักดิ์)
- รถไฟฟ้ามหานคร (2547) (ร่วมกับ สมชาย สามิภักดิ์)
ผลงานเพลง
แก้- เริงสุข (นำหมู่ร่วมกับมนัส รามโยธิน)
- สิ้นแสงจันทร์
- ปัญหามีคู่ (ขับร้องคู่กับชวลี ช่วงวิทย์)
- ละครชีวิต (บุษยา รังสีนำมาบันทึกเสียงใหม่)
รางวัลและเกียรติคุณ
แก้จุรีได้รับรางวัลเกียรติยศ จากทั้งการพากย์ และการแสดงภาพยนตร์ ในหลายรางวัล ได้แก่
- รางวัลสำเภาทอง ในฐานะผู้พากย์ยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง โบตั๋น
- รางวัลตุ๊กตาทอง ในฐานะผู้พากย์ยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง นกน้อย เมื่อปี พ.ศ. 2507
- รางวัลตุ๊กตาทอง ในฐานะผู้แสดงประกอบยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง วัยตกกระ เมื่อปี พ.ศ. 2522
- รางวัลตุ๊กตาทอง ในฐานะผู้พากย์ยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง ไร้เสน่หา เมื่อปี พ.ศ. 2522
- รางวัลตุ๊กตาทอง ในฐานะผู้พากย์ยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง เทพธิดาโรงงาน เมื่อปี พ.ศ. 2525
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ในฐานะดาราสมทบยอดเยี่ยม จากละครโทรทัศน์เรื่อง สายโลหิต เมื่อปี พ.ศ. 2529
- รางวัลวิก 07 ทองคำ ในฐานะดาราผู้ชนะใจกรรมการ เมื่อปี พ.ศ. 2533
- รางวัลวิก 07 ทองคำ ในฐานะดาราผู้ชนะใจผู้ร่วมงาน เมื่อปี พ.ศ. 2534
- ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักพากย์และนักแสดง) เมื่อปี พ.ศ. 2541
- รางวัลเมขลา ครั้งที่ 24 สาขารางวัลเกียรติคุณ ประจำปี พ.ศ. 2554 (หลังจากเสียชีวิต)
- รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 3 รางวัลเกียรติยศทางด้านโทรทัศน์ ประจำปี พ.ศ. 2554 (หลังจากเสียชีวิต)
กิจกรรมเพื่อสังคม
แก้จุรีเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ต่างๆ มิได้ขาด ไม่ว่าจะเป็นการแสดงละครการกุศล การขับร้องเพลงในคอนเสิร์ตการกุศล และอื่นๆ ทั้งยังเป็นศิลปินอาวุโสที่ให้ความเมตตา ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องแก่ดารารุ่นหลัง จึงเป็นที่เคารพรักใคร่ ของบรรดาศิลปินรุ่นน้อง และรุ่นลูกหลานทั้งหลาย ที่สำคัญก็คือ จุรีเป็นดาราผู้มีภาพพจน์ดีงาม เป็นที่ชื่นชมของแฟนๆ ภาพยนตร์ และละครทั่วประเทศ ทุกเพศทุกวัยมาเป็นเวลายาวนาน คุณสมบัติที่ดีเด่นอีกประการหนึ่งคือ เป็นผู้ที่ใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง นับเป็นแบบอย่างที่ดี แก่นักแสดงอื่นๆ และประชาชนทั่วไปอีกด้วย
ชีวิตส่วนตัวและบั้นปลาย
แก้ด้านชีวิตครอบครัว สมรสและใช้ชีวิตคู่ครั้งแรก กับ เสนอ โกมารชุน (พี่ชายของ เสน่ห์ โกมารชุน) มีบุตรชาย 2 คนคือ นายจามร โกมารชุน (ถึงแก่กรรม) และ นพพล โกมารชุน หลังจากสามีเสียชีวิต ก็ใช้ชีวิตคู่กับสมชาย สามิภักดิ์ มาเป็นเวลา 50 กว่าปี จนกระทั่งสมชายถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552
จุรี โอศิริ ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555 ที่บ้านพักใน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย สิริอายุ 82 ปี 2 เดือนเศษ[3] ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร[4][5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ศิลปินแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-26. สืบค้นเมื่อ 2007-07-15.
- ↑ นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ 2414 ปีที่ 47 ประจำวันอังคารที่ 23 มกราคม 2544 เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เขียนโดย นิติกร กรัยวิเชียร
- ↑ "ป้าจุ๊" จุรี โอศิริ เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 83 ปี ตั้งศพบำเพ็ญกุศลวัดมกุฏกษัตริยาราม เก็บถาวร 2012-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มติชน
- ↑ ข่าวพระราชสำนัก ช่อง 7
- ↑ ข่าวพระราชสำนัก[ลิงก์เสีย] ช่อง 3
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ (ประจำปี ๒๕๔๒ ศิลปินแห่งชาติ) เล่ม ๑๑๖ ตอน ๒๑ ข ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒ หน้า ๒๓.