แม่อายสะอื้น
แม่อายสะอื้น เป็นละครโทรทัศน์ไทยที่ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 และครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2561 บทประพันธ์ของอนัญจนา (ชุติมา สุวรรณรัตน์) ครั้งแรกสร้างโดยค่าย เป่า จิน จง และครั้งที่สองสร้างโดยค่าย มีเดียสตูดิโอ โดยออกอากาศตอนแรกวันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2561 ต่อจากละครหงส์เหนือมังกร
แม่อายสะอื้น | |
---|---|
ประเภท | ละครโทรทัศน์ |
สร้างโดย | พ.ศ. 2547 :เป่า จิน จง พ.ศ. 2561 :มีเดียสตูดิโอ |
เขียนโดย | บทประพันธ์ :ชุติมา สุวรรณรัต บทโทรทัศน์ :สาวิตา |
กำกับโดย | พ.ศ. 2547:นพพล โกมารชุน พ.ศ. 2561:ปัญญา ชุ่มฤทธิ์ |
แสดงนำ | อรรคพันธ์ นะมาตร์ ฝนทิพย์ วัชรตระกูล |
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่อง | พ.ศ. 2561 เพลง เสียงสะอื้นในใจ ภาษาเหนือ - แก้วกาญจน์ ชื่นเป็นนิจ เพลง ความรักไม่เคยไปไหน - ชลาทิศ ตันติวุฒิ |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | พ.ศ. 2547 เสียงสะอื้น - รพีพร ประทุมอานนท์ |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | พ.ศ. 2547 คนที่รักเธอ - เดชา สุวรรณสุโข เพราะรัก - ณัชชา ติยะวรบุญ |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
จำนวนตอน | พ.ศ. 2547 : 15 ตอน พ.ศ. 2561: 16 ตอน |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | พ.ศ. 2547 ช่อง 7 พ.ศ. 2561 ช่อง 7 |
สถานที่ถ่ายทำ | ไทย |
ความยาวตอน | พ.ศ. 2547 : 120 นาที พ.ศ. 2561 : 130 นาที |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2561) |
ออกอากาศ | 22 มกราคม พ.ศ. 2561-13 มีนาคม พ.ศ. 2561 |
โดยก่อนหน้านี้เคยเป็นภาพยนตร์จอเงินขนาด 35 มิลลิเมตร ออกฉายในปี พ.ศ. 2515 และกลับมาฉายอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2523 นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี, เนาวรัตน์ วัชรา, ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์, กำธร สุวรรณปิยะศิริ, สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์, นงลักษณ์ โรจนพรรณ, เมตตา รุ่งรัตน์, นฤพนธ์ ดุริยพันธ์, จำรูญ หนวดจิ๋ม, มาลี เวชประเสริฐ[1]
เรื่องย่อ
แก้เรื่องราวของดาวนิล หญิงสาวที่สวยที่สุดของหมู่บ้านหนึ่งในอำเภอแม่อาย ที่มีฝีมือในการรำดาบเป็นอย่างมาก เธอเป็นลูกสาวของคำปัน ครูสอนศิลปะการแสดงล้านนา ที่เลี้ยงชีพด้วยการแสดงของคณะละคร จนกระทั่ง ถูกหนานเมืองเจ้าของคณะละครคู่แข่งกลั่นแกล้งทุกวิถีทาง ทำให้คณะละครของคำปันย่ำแย่ จนในท้ายที่สุด ดาวนิลจึงต้องตัดสินใจเดินทางมาหาเงินในกรุงเทพฯ แต่แท้ที่จริงแล้วเธอโดนหลอกให้ไปขายตัว แทนที่จะเป็นงานแสดงศิลปะล้านนาที่เธอถนัด
เหตุการณ์ผ่านไป เธอกลายเป็นดาราที่มือชื่อเสียงขึ้นมา แต่เธอต้องแลกด้วยการลืมอดีตของเธอ นั่นหมายถึง พ่อ น้อง และลูกของเธอไว้ที่แม่อาย และนี่เอง ที่กลายเป็นปมที่กดดันเธอ ให้ทำสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด [2]
นักแสดง
แก้ปี | พ.ศ. 2515 | พ.ศ. 2547 | พ.ศ. 2561 |
---|---|---|---|
ทรงพล ทรงอักษร | สมบัติ เมทะนี | วีรภาพ สุภาพไพบูลย์ | อรรคพันธ์ นะมาตร์ |
หนุ่มนักธุรกิจวัย 27 ปี ลูกชายคนกลางของตระกูลที่ร่ำรวย เป็นนักธุรกิจที่เก่งบุคลิกดี และฉลาด คบหากับจิดาภาสาวไฮโซแต่มีเหตุให้ต้องเลิกรากัน ได้ดาวนิลมาช่วยดูแลหัวใจหวังจะคู่ชีวิตแต่พอรู้ความจริงเกี่ยวกับคนรักก็รับไม่ได้ | |||
ดาวนิล ปวงคำ / ดาวนิล ศรีเมือง (2515) ดาวนิล ประดับเดือนเด่น (2547) ดาวนิล ภัทรเดชาไชย (2561) |
เนาวรัตน์ วัชรา | วรนุช ภิรมย์ภักดี | ฝนทิพย์ วัชรตระกูล |
สาวสวยวัย 21 ปี ลูกสาวคนโตของคำปัน พ่อครูศิลปินพื้นบ้าน เพียบพร้อมในความสามารถฟ้อนดาบโชว์จนเป็นที่เลื่องลือ ดาวนิลสวยอ่อนหวานแต่แฝงความเข้มแข็งและอดทนฉายชัด ยอมเสียสละทุกอย่างเพื่อความสุขของพ่อและน้อง เพื่อหาเงินมาให้ครอบครัวและรักษาตาของพ่อ แต่โชคร้ายโดนหลอกมาขายตัว ต่อมาได้เป็นดาราใหญ่และได้รักกับทรงพล นักธุรกิจหนุ่มชายในฝัน ด้วยความกลัวเขาจะรู้ประวัติแล้วจะรังเกียจจึงพยายามปิดบังทุกอย่าง ในที่สุดก็ถูกจับได้ว่าประวัติเดิมของเธอเป็นอย่างไร จึงเป็นเหตุให้เธอกลับแม่อาย แต่กลับมาเจอเรื่องร้ายๆอีกเพราะพ่อเธอเสียชีวิต และเธอได้นำศิลปะรำดาบที่พ่อเธอสอน มารำโชว์ในงานศพของพ่อเธอ และปาดคอตัวเองเสียชีวิตจากไปโดยไม่มีคำร่ำลา | |||
ช่อเอื้อง ปวงคำ | ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ | สุฐิตา ปัญญายงค์ | พรชดา เครือคช |
สาวน้อยวัย 17 ปี น้องสาวของดาวนิล ปากไว ซุกซนเหมือนเด็ก รักแรงเกลียดแรง ไม่ยอมคน รักพ่อกับพี่มากจนมีเรื่องกับรินคำที่มารังแกพี่สาวบ่อยๆ รักและบูชาพี่สาวจนทำใจไม่ได้เมื่อรู้ว่าโดนพี่หลอกและทอดทิ้ง พยายามทำทุกทางให้พี่สาวยอมรับความจริงเรื่องที่มาของตัวเอง | |||
หมอทรงเกียรติ (2515) หมอเทวัญ ทรงอักษร (2547/2561) | กำธร สุวรรณปิยะศิริ | พลวัฒน์ มนูประเสริฐ | พีรวัศ กุลนันท์วัฒน์ |
พี่ชายคนโตของครอบครัวอายุ 35 ปี เป็นหมอที่มีอุดมการณ์ สุขุม เงียบขรึม รักและหวังดีกับดาวนิลอย่างจริงใจมาตลอด แม้จะเป็นรักข้างเดียวก็ตาม เป็นคนที่รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับดาวนิลแต่ไม่เคยปริปากบอกใคร | |||
ครูคำปัน ปวงคำ | จำรูญ หนวดจิ๋ม | สุประวัติ ปัทมสูต | สรพงศ์ ชาตรี |
พ่อครูศิลปินพื้นบ้านวัย 65 ปี มีชีวิตอุทิศเพื่อศิลปะ พ่อของดาวนิลและช่อเอื้อง เป็นที่นับหน้าถือตาของชาวบ้าน คำปันเป็นเจ้าของคณะรำที่มีชื่อเสียงเลื่องลือของหมู่บ้าน แต่ภายหลังคณะรำเริ่มไม่มีงาน และคำปันเริ่มมีปัญหาเรื่องสายตา จนตอนหลังตาบอดในที่สุด ต่อมาได้ตรอมใจตายเพราะดาวนิลไม่กลับมาหา | |||
สาวน้อย (2547) คุณนมน้อย (2561) | จุรี โอศิริ | ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ | |
แม่บ้านประจำตระกูลของทรงพลอายุ 63 ปี คอยเป็นหูเป็นตาดูแลชายหนุ่มทั้งสามแทนพ่อแม่ที่เสียชีวิตไปเพราะอุบัติเหตุ กิจวัตรหลักคือจับจ้องตรวจความประพฤติของผู้หญิงทุกคนที่จะมาเป็นสะใภ้ มีลูกมือคือ กล้วย และ อ้อย สองสาวใช้ร่างอ้วนผอมจอมแสบ | |||
หนานเมือง ปรีชามาศ | ถนอม นวลอนันต์ | สมชาย ศักดิกุล | |
หัวหน้าคณะคู่อริกับคำปันอายุ 60 ปี เจ้าเล่ห์เพทุบาย รำไม่สวย ไม่ค่อยมีงานเข้าคณะจึงผูกใจเจ็บและอิจฉาคณะคำปัน หาทางกลั่นแกล้งแข่งงานตลอดเวลา และภายหลังได้ผูกมิตรกับครูคำปัน จนอยู่ในคณะเดียวกัน | |||
ป้าแม้น (2515) ป้าบัว อาชาพร (2547/2561) | มาลี เวชประเสริฐ | เปียทิพย์ คุ้มวงศ์ | ราตรี วิทวัส |
แม่ของวิไล อายุ 55 ปี มีเงินจากน้ำพักน้ำแรงของลูก ที่ล่อลวงสาวๆไปขายตัวปากหวานพูดจาดีแต่งก เก็บดอกเงินกู้ไม่ขาดสักสตางค์แดงเดียว | |||
ทอน จินดา | ปิติพน พรตรีสัตย์ | ||
ลูกชายผู้ใหญ่บ้านเป็นเพื่อนของดาวนิลที่หมู่บ้าน อายุ 22 ปี เป็นคนใจดี แอบชอบดาวนิล แต่ดาวนิลมองเขาเป็นแค่เพื่อน ทอนจะคอยช่วยเหลือบ้านดาวนิลและช่อเอื้องเสมอ ต่อมาสืบรู้ว่าดาวนิลไปขายบริการจึงผิดหวังและเสียใจมาก | |||
ทรงยุทธ์ (2515) ทรงวุฒิ ทรงอักษร (2547/2561) | นฤพนธ์ ดุริยพันธ์ | กฤษฎี พวงประยงค์ | ฌาน์รัชต์ มณฑากูล |
หนุ่มน้อยวัย 18 ปี น้องชายคนเล็กของบ้าน เจ้าชู้ เสน่ห์แรงกะล่อนตามประสาวัยรุ่น แต่จิตใจดี รักครอบครัว เชื่อฟังพี่บางเวลา ชอบและตามจีบช่อเอื้อง แต่ช่อเอื้องไม่สนใจ เลยกลายเป็นเพื่อนกับช่อเอื้องแทน | |||
เยาวภา(2515) จิดาภา รัตนภักดี (2547/2561) | นงลักษณ์ โรจนพรรณ | มณีนุช ธนโชติ | ขวัญกวินท์ ธำรงรัฐเศรษฐ์ |
สาวไฮโซวัย 23 ปี ไม่มีอาชีพอะไรเพราะเกิดมาสบายตั้งแต่เด็ก รักทรงพลเพราะความโก้หรูและร่ำรวยทัดเทียมกัน อิจฉาตาร้อนหากใครสวยกว่าดีกว่า จิดาภาเป็นคู่ปรับของสาวน้อย และเป็นคนเปิดโปงอดีตของดาวนิลโดยร่วมมือกับคุณนายติ๊ด | |||
วิไล อาชาพร | กนกอร เจริญลาภวิชโย | กัญญารัตน์ พงศ์กัมปนาท | |
คนหมู่บ้านเดียวกันกับดาวนิล อายุ 22 ปี งกเงินและหลงผิด รักความสบาย ทำได้ทุกอย่างเพื่อเงิน แม้กระทั่งหลอกสาวๆในหมู่บ้านไปขาย เป็นผู้ทำให้ชีวิตดาวนิลพลิกผัน เพราะหลอกให้ดาวนิลเข้ากรุงเทพฯไปขายบริการ | |||
รินคำ ปรีชามาศ | มารยาท ถายะเดช | ธนพร บางชะวงษ์ | |
ลูกสาวหนานเมืองอายุ 20 ปี ไม่ชอบรำ เอาแต่แต่งตัวสวยเพราะอยากชนะดาวนิลแต่ไม่เคยสำเร็จ ปากร้ายหาเรื่องแขวะกัด ทะเลาะกับดาวนิลตลอดเวลา | |||
วรรณา ธรรมรงค์ | เมตตา รุ่งรัตน์ | อรวิน เงินยวง | ปริตา ไชยรักษ์ |
บุคลิกเป็นผู้หญิงห้าว วรรณาช่วยเหลือช่อเอื้องไว้ ตอนช่อเอื้องเข้ามาตามหาดาวนิลที่กรุงเทพ เป็นคนใจดีและคอยช่วยเหลือสืบข่าวมาบอกช่อเอื้อง | |||
หลิวหลิว แซ่เหวิน | ศาศวัต เสนตา | ธีระพล หอมจม | |
สไตลิสต์เสื้อผ้า เป็นเกย์อายุ 27 ปี มีอาชีพแมวมองที่ความสวยของดาวนิลเตะตาเข้า จนชักจูงเข้าสู่วงการ ปากร้าย ลื่นไปตามสถานการณ์ เป็นคนคอยช่วยดาวนิลจากปัญหาต่างๆ และปั้นเรื่องประวัติของดาวนิลขึ้นมาใหม่ | |||
คุณนายติ๊ด ธิชาภัทร์ รัตนวงศ์วานร | ปิยะ เศวตพิกุล | ศิรินุช เพ็ชรอุไร | |
เจ้าของร้านเสื้อที่เทวัญพาดาวนิลไปฝากไว้ อายุ 45 ปีเป็นคนหน้าไหว้หลังหลอก ขี้งก ขี้อิจฉา ปากร้าย เห็นแก่ตัว กลั่นแกล้งดาวนิลทุกวิถีทาง ผูกใจเจ็บที่ดาวนิลไปได้ดีเป็นดาราดัง จึงหาทางทำลายโดยร่วมมือกับจิดาภา | |||
อ้ายศักดิ์ สมปอง | กัณพล ปรีดามาโนช | ||
นายหน้าหางานอายุ 50 ปี ที่หวังล่วงเกินดาวนิล แต่ดาวนิลไม่เล่นด้วย จึงเจ็บใจจนต่อมาไปรวมหัวกับหนานเมืองแก้แค้นให้คณะของคำปันไม่มีงานแสดง | |||
ผึ้ง พัชรา | ตวงรัตน์ คะชะสะ | ||
ลูกน้องในร้านของ คุณนายติ๊ด อายุ 25 ปี หมั่นไส้ดาวนิล และร่วมมือกับคุณนายติ๊ดผู้เป็นนาย กลั่นแกล้งดาวนิลตลอดเวลา | |||
กลอง ทรงอักษร | ด.ช.บัญชา แก้วพุกุ้ม | ด.ช.อานนท์ แซ่อึ้ง | ด.ช.ปราการ จันรัมย์ |
ลูกชายพิการของดาวนิล อายุประมาณ 6 ขวบ รักตารักน้ามาก ถึงจะเป็นเด็กพิการแต่ความพิการไม่เคยเป็นอุปสรรค กลองมีจิตใจที่บริสุทธิ์และกล้าหาญ เป็นเด็กน่ารัก ร่าเริงสดใส มองโลกในแง่บวก คอยให้กำลังใจตากับน้า ทำให้ทั้งคู่ยิ้มได้ตลอดเวลา |
เพลงประกอบละคร
แก้- เสียงสะอื้นในใจ ขับร้อง แก้วกาญจน์ ชื่นเป็นนิจ
- ความรักไม่เคยไปไหน ขับร้อง ชลาทิศ ตันติวุฒิ
รางวัลที่ได้รับ
แก้ละครปี 2547 [3]
- รางวัลHamburger Awards นักแสดงชายยอดเยี่ยม (สุประวัติ ปัทมสูต) ปี 2547
- รางวัลHamburger Awards นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม (วรนุช วงษ์สวรรค์) ปี 2547
- รางวัลHamburger Awards นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม (วรนุช วงษ์สวรรค์) ปี 2547
- รางวัล ASIAN TELEVISION AWARDS 2004 ประเทศสิงคโปร์ นักแสดงชายยอดเยี่ยม (สุประวัติ ปัทมสูต) ปี 2547
- รางวัลท็อปอวอร์ด 2004 นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (วรนุช วงษ์สวรรค์) ปี 2547
- รางวัลท็อปอวอร์ด 2004 นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (สุประวัติ ปัทมสูต) ปี 2547
- รางวัลท็อปอวอร์ด 2004 นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (สุฐิตา เรืองรองหิรัญญา) ปี 2547
- รางวัลท็อปอวอร์ด 2004 ผู้กำกับละครยอดเยี่ยม (นพพล โกมารชุน) ปี 2547
- รางวัลท็อปอวอร์ด 2004 ละครยอดเยี่ยม ปี 2547
- รางวัลคมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 2 ละครยอดเยี่ยม ปี 2547
- รางวัลสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2004 ครั้งที่ 3 ละครยอดเยี่ยม ปี 2547
- รางวัลสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2004 ครั้งที่ 3 ผู้เขียนบทยอดเยี่ยม (เพ็ญสิริ เศวตวิหารี) (พัญสร เศวตวิหารี) ปี 2547
- รางวัลสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2004 ครั้งที่ 3 นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (วรนุช วงษ์สวรรค์) ปี 2547
- รางวัลสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2004 ครั้งที่ 3 นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (สุประวัติ ปัทมสูต) ปี 2547
- รางวัลสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2004 ครั้งที่ 3 นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (สุฐิตา เรืองรองหิรัญญา) ปี 2547
- รางวัลสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2004 ครั้งที่ 3 ผู้กำกับละครยอดเยี่ยม (นพพล โกมารชุน) ปี 2547
- รางวัลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (วรนุช วงษ์สวรรค์) ปี 2547
- รางวัลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (สุประวัติ ปัทมสูต) ปี 2547
- รางวัลรางวัลเมขลา ผู้เขียนบทยอดเยี่ยม (เพ็ญสิริ เศวตวิหารี) (พัญสร เศวตวิหารี) ปี 2547
- รางวัลรางวัลเมขลา นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (วรนุช วงษ์สวรรค์) ปี 2547
- รางวัลรางวัลเมขลา นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (สุประวัติ ปัทมสูต) ปี 2547
- รางวัลรางวัลเมขลา ผู้กำกับละครยอดเยี่ยม (นพพล โกมารชุน) ปี 2547
- รางวัลรางวัลเมขลา ละครชีวิตยอดเยี่ยม ปี 2547
- รางวัลรางวัลเมขลา รางวัล SMS ละครมหาชน (สุฐิตา เรืองรองหิรัญญา) ปี 2547
- รางวัลละครเรทติ้งสูงสุดติดต่อกัน 4 สัปดาห์ จากสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
ละครปี 2561
- รางวัลรางวัล สยามดารา สตาร์ อวอร์ดส นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม สาขาละครโทรทัศน์ (ฝนทิพย์ วัชรตระกูล) ปี 2561
- รางวัล รางวัล สยามดารา สตาร์ อวอร์ดส นักแสดงดาวรุ่งหญิง (พรชดา เครือคช) ปี 2561
อ้างอิง
แก้- ↑ "แม่อายสะอื้น (2515) โดยชุมทางหนังไทยในอดีต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-14.
- ↑ "แม่อายสะอื้น เรื่องย่อ". ออนไลน์ไอดอล. 19 ต.ค. 2560.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-12. สืบค้นเมื่อ 2016-04-12.