นเรศวรมหาราช
นเรศวรมหาราช เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องยิ่งใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2500[1] โดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล แห่งอัศวินภาพยนตร์ แนวสงครามอิงประวัติศาสตร์ การกอบกู้เอกราชของไทยจากพม่า
นเรศวรมหาราช | |
---|---|
กำกับ | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล |
นักแสดงนำ | ชูชัย พระขรรค์ชัย รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง (ณ ราชสีมา) ถนอม อัครเศรณี สุรชัย ลูกสุรินทร์ สถาพร มุกดาประกร สมถวิล มุกดาประกร ทัต เอกทัต พูนสวัสดิ์ ธีมากร สมพงษ์ พงษ์มิตร ล้อต๊อก ดอกดิน กัญญามาลย์ อธึก อรรถจินดา ชูศรี โรจนประดิษฐ์ ฯลฯ |
ดนตรีประกอบ | แก้ว อัจฉริยะกุล เอื้อ สุนทรสนาน วงสุนทราภรณ์ |
บริษัทผู้สร้าง | อัศวินภาพยนตร์ |
วันฉาย | 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ทุนสร้าง | 3,000,000 บาทเศษ |
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย |
นำแสดงโดย ชูชัย พระขรรค์ชัย, รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง, ถนอม อัครเศรณี, สุรชัย ลูกสุรินทร์, พจนีย์ โปร่งมณี ร่วมด้วย สถาพร มุดาประกร, สมถวิล มุกดาประกร [2], ทัต เอกทัต, วงจันทร์ ไพโรจน์, ชูศรี โรจนประดิษฐ์, ดอกดิน กัญญามาลย์, ล้อต๊อก, สมพงษ์ พงษ์มิตร, พูนสวัสดิ์ ธีมากร ฯลฯ
ฉายเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ที่ศาลาเฉลิมไทย ได้รับรางวัลสำเภาทอง งานรางวัลตุ๊กตาทอง "ละคอนรำ" ประจำปี 2500 (กำกับศิลป์ สำหรับภาพยนตร์ 16 มม.)
งานสร้าง
แก้ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 มม. สีธรรมชาติ พากย์ ซึ่งนิยมกันมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นหนังลงทุนสูง ใช้เวลาในการสร้างและถ่ายทำนานถึง 4 ปี มีดาราชั้นนำแห่งยุค พร้อมด้วยตัวประกอบร่วม 10,000 คน, ม้า 1,000 ตัว และ ช้าง 100 เชือก [3]
บทพระนเรศวร เดิมเสด็จพระองค์ชายใหญ่ "ภาณุพันธุ์" ทรงเลือก เกชา เปลี่ยนวิถี อดีตดาราละครเวทีคณะอัศวินซึ่งเพิ่งประสบความสำเร็จจากบทนำในภาพยนตร์ 16 มม.ไพรกว้าง ของละโว้ภาพยนตร์ แต่ติดปัญหาส่วนตัวของผู้แสดงอย่างกะทันหันขณะใกล้วันเปิดกล้อง จึงต้องเปลี่ยนเป็น ชูชัย พระขรรค์ชัย ที่มีชื่อเสียงมาจากหนังของอัศวินภาพยนตร์ เรื่อง พันท้ายนรสิงห์ (2493)
เพลงประกอบ
แก้- มาร์ชนเรศวรมหาราช - สุนทราภรณ์ ขับร้องหมู่โดย วินัย จุลละบุษปะ, เลิศ ประสมทรัพย์, ศรีสุดา รัชตะวรรณ, รวงทอง ทองลั่นธม, ชวลี ช่วงวิทย์
- แม่ศรี - ชวลี ช่วงวิทย์ นำหมู่
- กลิ่นร่ำ - วินัย จุลละบุษปะ
- สไบแพร - ชรินทร์ นันทนาคร
รางวัล
แก้รางวัลสำเภาทอง สาขากำกับศิลป์ (สำหรับภาพยนตร์ 16 มม.) โดย เฉลิม พันธุ์นิล ในงานประกาศผลรางวัลตุ๊กตาทอง "ละคอนรำ" ครั้งแรก ประจำปี 2500