เสน่ห์ โกมารชุน

เสน่ห์ โกมารชุน (14 กันยายน พ.ศ. 2466 - 4 กันยายน พ.ศ. 2514) นักแสดง นักพากย์ และผู้กำกับภาพยนตร์ เคยเป็นนักร้อง นักแต่งเพลงและนักแสดงตลก

เสน่ห์ โกมารชุน
ชื่อเกิดเสน่ห์ โกมารชุน
เกิด14 กันยายน พ.ศ. 2466
จังหวัดธนบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต4 กันยายน พ.ศ. 2514 (48 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
คู่สมรสประไพ คำเรียบร้อย
ปรียา รุ่งเรือง
อาชีพจำอวด
นักร้อง
นักแสดง
นักเขียน
ผู้กำกับ
นักพากย์
พระสุรัสวดีพากย์เสียงยอดเยี่ยม
2500 - โบตั๋น
2501 - เห่าดง
2508 - สาวเครือฟ้า

ประวัติ

แก้

เสน่ห์ โกมารชุน เกิดที่ย่านตลาดพลู ฝั่งธนบุรี เป็นบุตรของนายสำเนียง โกมารชุนกับหม่อมหลวงเตาะ โกมารชุน (มนตรีกุล)[1] มีพี่น้อง 5 เรียงตามลำดับ คือ เสนาะ, สนอง, เสนอ, เสน่ห์ และลักษณะ (ผู้หญิงคนเดียว) พี่ชายของเสน่ห์ที่ชื่อเสนอ เคยแต่งงานกับจุรี โอศิริ และมีบุตรคือนพพล โกมารชุน

เข้าสู่วงการ

แก้

เสน่ห์ โกมารชุน เริ่มเข้าสู่วงการหลังเรียนจบชั้นมัธยมปลายด้วยการสมัครเป็นนักร้องประจำวงของกองดุริยางค์ทหารเรือ รุ่นเดียวกับสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, สมยศ ทัศนพันธุ์, สมศักดิ์ เทพานนท์ และปิติ เปลี่ยนสายสืบ เริ่มมีชื่อเสียงจากการร้องเพลงล้อเลียนและแสดงตลกหน้าเวทีกับลิเกคณะหอมหวล จึงออกมาตั้งคณะลิเกของตัวเอง ชื่อ "เสน่ห์ศิลป์" แสดงออกอากาศทางสถานีวิทยุกรมโฆษณาการ และแสดงละครย่อยสลับฉากที่โรงภาพยนตร์ ศาลาเฉลิมบุรีโดยการชักนำของสนิท เกษธนังแห่งคณะเมฆดำ ร่วมแสดงกับดาวตลกชื่อดังหลายคน อาทิ ล้อต๊อก

ชีวิตครอบครัว เสน่ห์มีภริยาหลายคน ที่โด่งดังคือ ภริยาคนที่ 3 คือประไพ คำเรียบร้อย เป็นดารานักร้องเช่นกัน และคนที่ 4 คือปรียา รุ่งเรือง แม่นาคที่เขาสร้างมา ซึ่งเป็นคนที่เขารักมากที่สุด ทั้งสองมีลูกสาวด้วยกันคือ อ้อ ยอดสร้อย โกมารชุนอดีตนักแสดงชื่อดังเช่นเดียวกัน[2]

เสียชีวิต

แก้

ช่วงบั้นปลายชีวิต เสน่ห์ โกมารชุน ป่วยเป็นโรคไตอักเสบอย่างแรง และทราบภายหลังว่าเป็นมะเร็งในไต นอกจากนั้นยังมีโรคเก่าที่เคยเข้ารักษาที่โรงพยาบาลมาแล้วคือโรคเบาหวาน, โรคกระเพาะ, มาลาเรีย และฝีในหู ทำให้หูหนวกไม่ได้ยินอะไรเลย เสน่ห์ต้องได้รับการล้างไตมาถึง 6 ครั้ง อาการมาทรุดลงในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2514 จนเสียชีวิตที่บ้านหลังวัดเทพธิดาราม เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2514 ขณะอายุเพียง 48 ปี

ผลงานเพลง

แก้
  • งามชายหาด (แต่งให้เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ขับร้อง)
  • โปลิศถือกระบอง (ร้องเอง)
  • เพลงท้อง (ร้องเอง)
  • จรกาแพ้รัก (ร้องเอง)
  • อย่าลืมสัญชาติ (ร้องเอง)
  • ไขลูผู้กว้างขวาง (ร้องเอง)
  • รำพึงรัก (ร้องเอง)
  • ทหารนอกกรม (ร้องเอง)
  • ขนมกรุบมโนรารำวง (คู่ชูศรี มีสมมนต์)
  • สุภาพบุรุษปากคลองสาน
  • สามล้อแค้น (ร้องเอง)
  • ผู้แทนควาย (ร้องเอง)
  • นกยูง (คู่นภาพร หงสกุล)
  • กล่อมนิทรา (แต่งให้บุญช่วย หิรัญสุนทรขับร้อง)

ฯลฯ

หมายเหตุ: เพลงสามล้อแค้นและผู้แทนควาย ที่เขาแต่งเองเป็นเพลงเสียดสีสังคมได้ดี(ภายหลังถูกห้ามออกอากาศ) ถูกใจพล.ต.อ.เผ่า จนท่านมอบ “แหวนอัศวิน” ให้นับว่าเป็นศิลปินคนแรกที่ได้รับเกียรติเช่นนี้

ผลงานการสร้างภาพยนตร์

แก้
  • สุดหล้าฟ้าเขียว (2499) กำกับการแสดง
  • กิโมโน (2502) กำกับการแสดง
  • ศึก 5 เสือ (2506) กำกับการแสดง
  • นางเสือดาว (2508) กำกับการแสดง
  • พระรถเมรี (2508) กำกับการแสดง
  • นกยูง (2509) กำกับการแสดง
  • กินรี (2512) กำกับการแสดง
  • ลูกกบ (2512) กำกับการแสดง
  • ดวงใจสวรรค์ (2514) กำกับการแสดง
  • รอยบุญ (2515)
  • ชายผ้าเหลือง (2517)
  • โบตั๋น (2518) บทประพันธ์
  • แม่นาคพระโขนง (2521) บทประพันธ์
  • เจ้าสาวเดิมพัน (2521) บทประพันธ์
  • แก้วกาหลง (2524) บทประพันธ์
  • ค่าน้ำนม (2524) บทประพันธ์
  • แม่นาคพระโขนง (2537) บทประพันธ์

ผลงานแสดงภาพยนตร์

แก้
  • สามเกลอตามนาง (2494)
  • เพียงดวงใจ (2494)
  • ทุ่งน้ำตา (2494)
  • สามล้อประจัญบาน (2495)
  • ผาคำรณ (2496)
  • วิวาห์น้ำตา (2497)
  • สามเกลอแผลงฤทธิ์ (2497)
  • โบตั๋น (2498)
  • ปู่โสมอาละวาด (2498)
  • น้ำใจสาวจีน (2498)
  • ราตรีในโตเกียว (2498)
  • หงส์หยก (2499)
  • สุดหล้าฟ้าเขียว (2499)
  • สามเกลอหักด่าน (2499)
  • สามรักในปารีส (2499)
  • นางนาคพระโขนงคืนชีพ (2499)
  • มังกรทอง (2500)
  • ยอดเยาวมาลย์ (2500)
  • อกสามศอก (2501)
  • หลินฟ้า (2501)
  • อินทรีย์ขาว (2501)
  • ยอดอนงค์ (2501)
  • โม่งแดง (2501)
  • เทวรูปหยก (2501)
  • สิงห์สมุทร (2502)
  • แม่ (2502)
  • ไอ้แก่น (2502)
  • เงาเพชฌฆาต (2502)
  • แม่นาคพระโขนง (2502)
  • ฝ่ามรสุม (2502)
  • กิโมโน (2502)
  • ซาเซียน (2502)
  • ลูกจ๋า (2503)
  • ค่าน้ำนม (2503)
  • ชายต้องสู้ (2503)
  • บางปะกง (2504)
  • ท่าฉลอม (2504)
  • หงส์ฟ้า (2504)
  • ดอกแก้ว (2505)
  • ปืนเดี่ยว (2505)
  • ยอดธง (2505)
  • สิงห์โตหยก (2505)
  • เหมยฟ้า (2505)
  • ดอกหญ้า (2505)
  • งามงอน (2506)
  • อวสานอินทรีแดง (2506)
  • เอื้องฟ้า (2506)
  • 7 สมิง (2506)
  • พรายดำ (2507)
  • สิงห์ล่าสิงห์ (2507)
  • น้ำตาลไม่หวาน (2507)
  • กฎหมายป่า (2507)
  • เก้ามหากาฬ (2507)
  • จ้าวพยัคฆ์ (2507)
  • เลือดแค้น (2507)
  • ตำหนักเพชร (2507)
  • นางเสือดาว (2508)
  • เงิน เงิน เงิน (2508)
  • ผู้ใหญ่ลี (2508)
  • ทาสผยอง (2508)
  • ชุมทางเขาชุมทอง (2508)
  • กำไลหยก (2508)
  • วังไพร (2509)
  • อรุณเบิกฟ้า (2509)
  • หงส์เหิร (2509)
  • นกยูง (2509)
  • แก้มทอง (2509)
  • เพชรสีเลือด (2509)
  • เจ้าแม่ตะเคียนทอง (2509)
  • ลมหนาว (2509)
  • ใจนาง (2510)
  • ตะวันสีทอง (2510)
  • 5 พยัคฆ์สาว (2510)
  • แก้วกาหลง (2510)
  • เงินจ๋าเงิน (2511)
  • จ้าวอินทรี (อินทรีแดง) (2511)
  • อีแตน (2511)
  • ระฆังผี (2511)
  • กินรี (2512)
  • ลูกกบ (2512)
  • สอยดาวสาวเดือน (2512)
  • ภูตเสน่หา (2513)
  • เรือมนุษย์ (2513)
  • เงินจางนางจร (2513)
  • ปี่แก้วนางหงษ์ (2513)
  • ฝนใต้ (2513)
  • แก้วสารพัดนึก (2514)
  • จงอางผยอง (2514)
  • หนึ่งนุช (2514)
  • ดวงใจสวรรค์ (2514)
  • มนต์รักป่าซาง (2514)

อ้างอิง

แก้
  • ภราดร ศักดา. เปิดม่านคนดังหลังวัง ตำนานเก่าเล่าเรื่องดารายุคภาพยนตร์ไทยเฟื่อง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สยามบันทึก, พ.ศ. 2551. 264 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-13-8887-5