วัดเทพธิดารามวรวิหาร

วัดในกรุงเทพมหานคร
(เปลี่ยนทางจาก วัดเทพธิดาราม)

13°45′12″N 100°30′16″E / 13.75333°N 100.50444°E / 13.75333; 100.50444

วัดเทพธิดารามวรวิหาร
ทางเข้าด้านหน้าวัด เมื่อปี 2564
แผนที่
ที่ตั้งแขวงสำราญราษฏร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระธรรมวชิรคณี (แผ่ว ปรกกฺโม)
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนวัดเทพธิดาราม
ขึ้นเมื่อ13 ธันวาคม พ.ศ. 2520
เป็นส่วนหนึ่งของ[[รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร) ]]
เลขอ้างอิง0000019
หมายเหตุการเข้าชมพระอุโบสถ พระวิหาร และศาลาการเปรียญนั้นต้องขออนุญาตจากทางวัดเสียก่อน
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดเทพธิดารามวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ที่ริมถนนมหาไชย ใกล้วัดราชนัดดา วัดเทพธิดารามวรวิหาร เดิมชื่อ วัดบ้านพระยาไกรสวนหลวง สันนิษฐานว่า เรียกตามบริเวณที่สร้าง ที่เป็นสวนไร่นา และคงเป็นที่ของพระยาไกรเพชรรัตนสงคราม เจ้านายหรือขุนนาง

วัดเทพธิดารามวรวิหารเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดฯ ให้สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระราชทานแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระราชธิดาองค์ใหญ่ใน รัชกาลที่ 3 สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2379 เสร็จในปี พ.ศ. 2382

สิ่งสำคัญในวัดนี้คือ พระปรางค์ทิศทั้งสี่ เป็นฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ 3 บุษบกที่รองรับพระประธาน ภายในโบสถ์ ที่ประดิษฐ์อย่างสวยงามและที่ผนังพระอุโบสถมีภาพเขียนเป็นรูปพุ่มข้าวบิณฑ์ แบบอย่างในรัชกาลที่ 3

วัดนี้เคยเป็นที่พำนักของสุนทรภู่กวีเอกแห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่าง พ.ศ. 2383 - 2385 เมื่อคราวบวชเป็นพระภิกษุ ปัจจุบันยังมีกุฏิหลังหนึ่ง เรียกว่า "บ้านกวี" เปิดเป็น พิพิธภัณฑ์

สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม

แก้
 
พระอุโบสถ

ลักษณะสถาปัตยกรรม เป็นศิลปะในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีน เนื่องจากในช่วงน้นมีการติดต่อค้าขายกับจีน อิทธิพลของจีนจึงเข้ามามีบทบาท รูปแบบสถาปัตยกรรมจึงเป็นอาคารแบบไม่มีช่อฟ้า ใบระกา แบบวัดในช่วงสมัยอื่น มีเครื่อง ประดับพระอารามที่เป็นตุ๊กตาจีนสลักหิน มีทั้งรูปคนและสัตว์ ตุ๊กตารูปคนบางตัวมีลักษณะท่าทางและการแต่งกายแบบจีน บางตัวแต่งกายแบบไทย ลักษณะพิเศษที่วัดแห่งนี้คือมีรูปสลักผู้หญิงในลักษณะต่าง ๆ เป็นส่วนมาก

หอไตรเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ใต้ถุนสูง กว้าง 6.50 เมตร สูง 10 เมตร ปิดทอง ล่องชาด มีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันปิดทองประดับกระจกสี มีงานศิลปะลายรดน้ำที่มีอยู่ทุกบานประตู และหน้าต่าง หอไตรมีไว้สำหรับเก็บรักษาพระคัมภีร์ใบลาน จารึกพระไตรปิฎกและคัมภีร์อื่น ๆ มีตู้พระไตรปิฎกทรงโบราณ กว้าง 1.75 เมตร ยาว 1.70 เมตร สูง 2 เมตร ขาตู้เป็นลักษณะเท้าสิงห์

 
พระวิหาร

ในพระวิหาร มีรูปหล่อลงรักปิดทอง หมู่ภิกษุณี จำนวน 52 องค์ นั่ง 49 องค์ ยืน 3 องค์ อยู่ในอิริยาบถต่าง ๆ หลากหลายท่า มีทั้งท่านั่งปฏิบัติธรรม ฟังธรรม ฉันหมาก สูบยา ยืนไหว้ นั่งพนมมือ

ภายในพระอุโบสถมีหลวงพ่อขาวประดิษฐานบนบุษบก เป็นพระประธานปางมารวิชัย สลักด้วยศิลาขาวบริสุทธิ์ หน้าตักกว้าง 15 นิ้ว สูง 21 นิ้ว รัชกาลที่ 9 ทรงถวายพระนามว่า พระพุทธเทววิลาส[1]

รูปภาพ

แก้

ลำดับเจ้าอาวาส

แก้

ลำดับเจ้าอาวาส และผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเทพธิดารามวรวิหาร เท่าที่พบข้อมูล[2][3][4]

ลำดับที่ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1 พระปัญญาคัมภีรเถร พ.ศ. 2382 พ.ศ. 2385 เจ้าอาวาส
2 พระญาณปริยัติ (บุญ) ป.ธ.8 พ.ศ. 2386 พ.ศ. 2389 เจ้าอาวาส
3 พระธรรมเจดีย์ (สิงห์ สงฺโฆ) พ.ศ. 2389 พ.ศ. 2408 เจ้าอาวาส
4 พระสุนทรสมาจารย์ (เข้ม) พ.ศ. 2408 พ.ศ. 2410 เจ้าอาวาส
5 พระสุธรรมธีรคุณ (ทัด) พ.ศ. 2410 พ.ศ. 2430 เจ้าอาวาส
6 พระสุนทรศีลาจารย์ (เลิศ) พ.ศ. 2430 พ.ศ. 2434 เจ้าอาวาส
7 พระสุนทรสมาจารย์ (สวน) พ.ศ. 2434 พ.ศ. 2457 เจ้าอาวาส, มรณภาพ
8 พระครูธรรมรังษี (พัน กิจฺจกโร) พ.ศ. 2457 พ.ศ. 2458 ผู้รั้ง
พ.ศ. 2458 พ.ศ. 2469 เจ้าอาวาส, มรณภาพ
ว่าง พระสมุห์ไสว ธมฺมสาโร พ.ศ. 2469 พ.ศ. 2469 ผู้รั้ง, ภายหลังเป็นพระเมธีธรรมสาร เจ้าอาวาสวัดบ้านกร่าง
9 พระมงคลธรรมรังษี (ปาน อินฺทโชโต) ป.ธ.3 พ.ศ. 2469 พ.ศ. 2509 เจ้าอาวาส, มรณภาพ
10 พระวิสุทธิวงศาจารย์ (พลอย ญาณสํวโร) ป.ธ. 9 พ.ศ. 2511 พ.ศ. 2547 เจ้าอาวาส, มรณภาพ
11 พระธรรมวชิรคณี (แผ่ว ปรกฺกโม) ป.ธ.9 พ.ศ. 2548 - เจ้าอาวาส, ปัจจุบัน

อ้างอิง

แก้
  1. "อันซีน"วัดเทพธิดาราม"…งดงาม"หอไตร" มรดกวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-31. สืบค้นเมื่อ 2018-02-02.
  2. พระสุนทรกิจโกศล. (2510). รำพันพิลาปของสุนทรภู่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระมงคลธรรมรังษี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร.
  3. พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2525). ประเพณี พิธีพจน์ อนุสรณ์ พระเมธีธรรมสาร วันพระราชทานเพลิงศพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.
  4. จันทร์ ไพจิตร. (2547). ประมวลพิธีมงคลของไทย อนุสรณ์พระวิสุทธิวงศาจารย์ (พลอย ญาณสํวโร). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.