โทน (ภาพยนตร์)

ภาพยนต์สัญชาติไทย

โทน เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2513 ระบบถ่ายทำ ฟิล์ม 35 มม. สี พากย์เสียงในฟิล์ม เรื่องแรกที่กำกับการแสดงโดย เปี๊ยก โปสเตอร์ (สมบูรณ์สุข นิยมศิริ) สร้างโดย สุวรรณฟิล์ม โดย ชวนไชย เตชะศรีสุธี เป็นผู้อำนวยการสร้าง นำแสดงโดย ไชยา สุริยัน, อรัญญา นามวงศ์, สายัณห์ จันทรวิบูลย์, จารุวรรณ ปัญโญภาส, สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์, สังข์ทอง สีใส มีเพลงประกอบภาพยนตร์ที่ขับร้องโดย ดิ อิมพอสซิเบิ้ล และ สังข์ทอง สีใส ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จ ทำให้สังข์ทองเป็นดาราชื่อดังและได้แสดงภาพยนตร์ต่อมาอีกหลายเรื่อง ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เป็นเรื่องแรกที่สร้างปรากฏการณ์ที่เขียนบทให้นางเอกโดนข่มขืน[1][2]

โทน
กำกับเปี๊ยก โปสเตอร์
เขียนบทเปี๊ยก โปสเตอร์
บทภาพยนตร์วิษณุศิษย์
เนื้อเรื่องเปี๊ยก โปสเตอร์
อำนวยการสร้างชวนไชย เตชะศรีสุธี
นักแสดงนำไชยา สุริยัน
อรัญญา นามวงศ์
สายัณห์ จันทรวิบูลย์
จารุวรรณ ปัญโญภาส
สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์
พูนสวัสดิ์ ธีมากร
รุจน์ รณภพ
สังข์ทอง สีใส
เสริมพันธ์ สุทธิเนตร
จุรี โอศิริ
จอมใจ จรินทร
ทองแถม เขียวแสงใส
พิภพ ภูภิญโญ่
หมี หมัดแม่น
โทน น้ำจันทร์
จุไรรัตน์ พรหมสุดา
กำกับภาพพูนสวัสดิ์ ธีมากร
ศานิต รุจิรัตน์ตระกูล
มนัส โตเพราญาติ
ตัดต่อประกอบ แก้วประเสริฐ
ดนตรีประกอบดิอิมพอสซิเบิ้ล
สังข์ทอง สีใส
บริษัทผู้สร้าง
สุวรรณฟิล์ม
ผู้จัดจำหน่ายอัศวินภาพยนตร์
วันฉาย2 สิงหาคม พ.ศ. 2513
ที่โรงภาพยนตร์เฉลิมไทย
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย

เรื่องย่อ

แก้

โทน (ไชยา สุริยัน) หนุ่มกำพร้า อาศัยอยู่กับหลวงตาในชนบท โทนเป็นคนหน้าตาดี ฉลาด เรียนจบช่างยนต์ มีน้ำใจและชอบช่วยเหลือผู้อื่น สังข์ทอง (สังข์ทอง สีใส) เพื่อนรักของโทนเป็นลูกศิษย์วัดด้วยกัน ชอบร้องเพลง ทั้งสองสาบานว่าจะเป็นเพื่อนตายจนกว่าชีวิตจะหาไม่

โทนไม่สมหวังในเรื่องรักเช่นเดียวกับกุหลาบ (จารุวรรณ ปัญโญภาส) สาวผู้ที่มีอันจะกิน มีแต่สังข์ที่ใช้เพลงเป็นเพื่อนปลอบใจ แต่ไม่นานสงข์ก็ถูกยิงตกเขาตายในขณะที่โทนได้เข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพที่มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยการช่วยเหลือของอ๊อด (สายัณห์ จันทรวิบูลย์) จึงได้พบกับแดง (อรัญญา นามวงศ์) สาวสังคมที่มีนิสัยเย่อยิ่งและเกลียดขี้หน้าโทนอย่างไม่มีเหตุผล แต่เมื่อแดงถูกอิทธิพล (สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์) ฉุดไปแต่โทนช่วยแตงออกมาได้ ทำให้แตงเริ่มมองเห็นความดีของโทนที่คอยช่วยเหลือแต่เกิดเหตุร้ายขึ้นเมื่อแดงกับกุหลาบ ถูกคนร้ายจับตัวไป โทนและอ๊อดจึงตามไปช่วย

นักแสดง

แก้

เบื้องหลังและงานสร้าง

แก้

โทน เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของสุวรรณฟิล์ม ที่สร้างเพื่อเปลี่ยนยุคหนัง 16 มม. สู่มาตรฐานโลก โดยให้ เปี๊ยก โปสเตอร์ เขียนบทหนังและกำกับการแสดงครั้งแรกในชีวิต ซึ่งสมัยนั้นเรียกว่า เป็นผู้กำกับรุ่นใหม่ของวงการ[3] และเป็นภาพยนตร์ไทยที่ผู้สร้างตั้งใจจะหนีจากคำประณามที่ว่าหนังไทยน้ำเน่า โดยเป็นเรื่องราวชีวิตของหนุ่มกำพร้าอย่าง โทน ต้องพบเจออุปสรรคมาตลอด ตั้งแต่เป็นเด็กกำพร้าก้นกุฏิ โทนมุเรียนจนจบช่างยนต์ด้วยแรงส่งเสียจากหลวงตา แต่ด้วยชาติกำเนิดต้อยต่ำทำให้ช้ำรักอยู่ร่ำไป กระทั่งเข้ากรุงเทพฯมาหางานทำและได้เจอ แดง สาวสวยลูกคุณหนูที่จงเกลียดโทนตั้งแต่พบหน้า หากความดีก็เอาชนะใจเธอจนได้ ถึงอย่างนั้นอุปสรรคข้อใหญ่คือ อิทธิพล ผู้กว้างขวางแต่ใจโฉดที่หมายปองแดงพร้อมแผนร้ายเพื่อครอบครองเธอ

แม้ว่าเงินทุนสร้างจะบานปลายและถูกติงเรื่องการเลือก ไชยา สุริยัน มาเป็นพระเอกและยังนำดาราหน้าใหม่มาแสดง จนสายหนังไม่กล้าซื้อในช่วงแรก แต่ทีมงานสุวรรณฟิล์มก็ฝ่าฟันและทำภาพยนตร์ออกมาจนสำเร็จ เมื่อออกฉาย ปากต่อปาก บอกต่อในเรื่องความมีเหตุผลของบทหนัง และยังมีเพลงไพเราะ 7 เพลง มักจะมีเพลงประกอบแทบทุกเรื่อง ซึ่งขับร้องโดย สังข์ทอง สีใส และวงดิอิมพอสซิเบิ้ล เป็นแรงส่งช่วยให้หนังมีความสมบูรณ์มากขึ้น ภาพยนตร์เข้าฉายเมื่อ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2513 ที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย [4] สามารถทำรายได้สูงถึง 6 ล้านบาท เป็นอันดับ 2 รองจากหนังของรังสี ทัศนพยัคฆ์ เรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง พลิกประวัติศาสตร์หนังไทยในยุคนั้น [5] เรียกได้ว่าเป็นกระแสให้เกิดการสร้างภาพยนตร์ระบบ 35 มม.เพิ่มมากขึ้น [6]

นอกจากนี้แล้ว เปี๊ยก โปสเตอร์กลายเป็นคลื่นลูกใหม่ลูกแรกของหนังไทยสมัยใหม่และกลายเป็นผู้สร้างหนังไทยที่มีบทบาทสำคัญที่สุดคนหนึ่งใน 2 ทศวรรษต่อมา แม้จะเป็นหนังเรื่องแรก แต่ก็ทำให้เปี๊ยก โปสเตอร์ ประสบความสำเร็จอย่างมาก จึงต้องตัดสินใจทิ้งพู่กันหันมาเอาดีทางการกำกับหนังและมีผลงานระดับคุณภาพที่รู้จักกันอีกหลายเรื่อง ปัจจุบันภาพยนตร์นี้มีจำหน่ายทั้งวีซีดีและดีวีดี โดยบริษัททริปเปิ้ลเอ็กซ์ฟิล์ม

เพลงประกอบ

แก้
เพลงประกอบภาพยนตร์โทน
 
แผ่นเสียงที่วางจำหน่ายในปลายปี พ.ศ. 2513
ซาวด์แทร็กอัลบั้มโดย
วางตลาดพ.ศ. 2513
บันทึกเสียงพ.ศ. 2512
แนวเพลงเพลงประกอบภาพยนตร์
ความยาว31.32
ค่ายเพลงสุวรรณ ฟิล์ม

อัลบั้มรวมเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องโทน[7] โดยได้ศิลปินดังอย่าง ดิ อิมพอสซิเบิ้ล หลังจากที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดวงดนตรีสตริงคอมโบชิงถ้วยพระราชทาน ในปี พ.ศ. 2512[8] และเริ่มเริ่มมีชื่อเสียง ทำให้เปี๊ยก โปสเตอร์ ผู้กำกับภาพยนตร์เลือกวงดิ อิมพอสซิเบิล ให้เป็นหนึ่งในผู้บรรเลงและขับร้องเพลงประกอบในภาพยนตร์ ร่วมกับสังข์ทอง สีใส และศิลปินอื่นๆมาบรรเลงและขับร้อง

อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ชุดนี้ มีความสำคัญกับวงการเพลงไทยคือเป็นอัลบั้มที่ถือเป็นการบันทึกแผ่นเสียงครั้งแรกของวงดิ อิมพอสซิเบิ้ล ก่อนที่ทางวงจะได้ออกสตูดิโออัลบั้มของตนเองในเวลาต่อมา[9] ความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้วงดิ อิมพอสซิเบิล โด่งดังจากการทำเพลงประกอบภาพยนตร์ โดยทางวงบันทึกเสียงเพื่อใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้รวมทั้งสิ้น 3 เพลง คือเพลง ปิดเทอม , เริงรถไฟ และเพลง ชื่นรัก

นอกจากนี้ยังมีเพลง โทน ที่เป็นเพลงนำของเรื่อง ขับร้องโดยสังข์ทอง สีใส ซึ่งเพลงนี้ทำให้สังข์ทอง สีใส แจ้งเกิดอย่างเต็มตัว ในฐานะหนึ่งในนักแสดงนำของเรื่องและนักร้อง โดยเพลงนี้ได้กลายมาเป็นหนึ่งในเพลงประจำตัวของสังข์ทอง ในเวลาต่อมา รวมถึงมีเพลง ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง ที่ขับร้องโดย เกศิณี วงศ์ภักดี , กระต่ายเพ้อ โดย เสรีไทย บูรณะพันธ์

รายชื่อเพลง
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
1."ปิดเทอม (ดิ อิมพอสซิเบิ้ล)"ปราจีน ทรงเผ่า4.55
2."เริงรถไฟ (ดิ อิมพอสซิเบิ้ล)"รัก รักพงษ์3.13
3."นางฟ้า (วีระ ไชยสุกุมาร)"รัก รักพงษ์2.28
4."โทน (สังข์ทอง สีใส)"สุชาติ เทียนทอง2.21
5."ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง (เกศิณี วงศ์ภักดี)"รัก รักพงษ์3.51
6."ชื่นรัก (ดิ อิมพอสซิเบิ้ล)"เนื้อร้อง: รัก รักพงษ์
ทำนอง: จากเพลง Scarborough Fair
ของวงไซมอน แอนด์ การ์ฟังเกล
4.06
7."อย่าบอน (สังข์ทอง สีใส)"รัก รักพงษ์2.18
8."กระต่ายเพ้อ (เสรีไทย บูรณะพันธ์)"รัก รักพงษ์2.28
9."ดาวเหนือ (โยคิณ คุณากร)"รัก รักพงษ์3.17
10."ขุนทอง (ทนาย คชเสนีย์)"รัก รักพงษ์2.35
ความยาวทั้งหมด:31.32

อ้างอิง

แก้
  1. รายการ คุณพระช่วย ออกอากาศ 16 ส.ค. 2552.
  2. โทน…วันนี้ไม่มี “ นายเปิ่น ” โดย มนัส กิ่งจันทร์
  3. หลังกล้อง..โทน (2513 ไชยา-อรัญญา) โดย มนัส กิ่งจันทร์
  4. เพลงจาก โทน (2513)
  5. หนังไทยคงเหลือ หลังกล้อง โทน 2513
  6. http://www.thaicine.org/board/index.php?topic=6050.0[ลิงก์เสีย]
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-16. สืบค้นเมื่อ 2017-01-04.
  8. http://www.komchadluek.net/news/ent/193692
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 2017-01-04.