พระวิสุทธิกษัตรีย์

(เปลี่ยนทางจาก พระวิสุทธิกษัตริย์)

พระวิสุทธิกษัตรีย์[1] หรือคำให้การชาวกรุงเก่าออกพระนามว่าพระบรมเทวี[2] มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระสวัสดิราชธิดา[1] เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ประสูติแต่พระสุริโยทัย ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และเป็นพระราชชนนีในพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ

พระวิสุทธิกษัตรีย์
พระอัครมเหสีกรุงศรีอยุธยา
สถาปนาพ.ศ. 2112
ก่อนหน้าพระสุริโยทัย
ถัดไปพระมณีรัตนา
พระอัครมเหสีเมืองพิษณุโลก
สถาปนาพ.ศ. 2091
ก่อนหน้าไม่ปรากฏ
ถัดไปพระมณีรัตนา
พระราชสวามีสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
พระราชบุตรพระสุพรรณกัลยา
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สมเด็จพระเอกาทศรถ
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พระราชสมภพ)
สุโขทัย (อภิเษกสมรส)
พระราชบิดาสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
พระราชมารดาพระสุริโยทัย

พระราชประวัติ

แก้

พระชนม์ชีพช่วงต้น

แก้

พระวิสุทธิกษัตรีย์ มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระสวัสดิราชธิดา[1] เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ประสูติแต่พระสุริโยทัย มีพระเชษฐาและพระขนิษฐาร่วมพระราชชนกชนนีคือ พระราเมศวร สมเด็จพระมหินทราธิราช พระบรมดิลก และพระเทพกษัตรีย์

พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่าหลังสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสวยราชย์จากความช่วยเหลือจากขุนพิเรนทรเทพ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา และหลวงศรียศบ้านลานตากฟ้า จึงทรงปรึกษาพระธรรมนูญหอหลวงเพื่อพระราชทานบำเหน็จรางวัล และมีพระราชดำรัสว่าจะพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระสวัสดิราชธิดาแก่ขุนพิเรนทรเทพ แล้วจึงถวายพระนามให้ใหม่ว่า วิสุทธิกษัตรีย์ เป็นตำแหน่งพระอัครมเหสีเมืองพิษณุโลก พร้อมพระราชทานเครื่องราชูปโภค ศักดิฝ่ายทหารพลเรือน เรือชัยพื้นดำแดงคู่หนึ่ง และเครื่องราชกกุธภัณฑ์[1]

ขณะที่ คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชามีพระนามาภิไธยเดิมว่าพระไชย เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ประสูติแต่พระมหาเทวี ต่อมาโปรดให้ไปครองเมืองพิษณุโลก มีพระอัครมเหสีชื่อ พระบรมเทวี และประสูติกาลพระราชบุตรสามพระองค์คือ พระสุวรรณกัลยา พระนเรศวร และพระเอกาทศรถ[2]

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต ระบุว่าพระองค์กับพระราชสวามีคือออกญาพิษณุโลก มิใคร่จะลงรอยกัน เคยถูกพระราชสวามีตีพระเศียรจนพระโลหิตไหล พระวิสุทธิกษัตรีย์ทรงใช้ผ้าซับพระพักตร์เช็ดพระโลหิตใส่ถ้วยทองพร้อมหนังสือฟ้องร้องนำส่งจากพิษณุโลกไปยังพระราชบิดาในกรุงศรีอยุธยา เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทราบความดังนั้นก็ทรงกริ้วมาก มีรับสั่งให้ทหารพร้อมอาวุธขึ้นไปพิษณุโลกหวังประหารพระชามาดา ออกญาพิษณุโลกจึงหนีราชภัยไปหงสาวดี เมื่อพบพระเจ้าหงสาวดีจึงกราบทูลว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิมีช้างเผือกเจ็ดเชือก หลายตัวเกิดแถบชายแดนหงสาวดี พระเจ้าหงสาวดีจึงมีสิทธิในช้างเผือก จึงก่อให้เกิดสงครามช้างเผือก[3]

สงครามช้างเผือก

แก้

พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่าหลังการเสวยราชย์ครั้งที่สองของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เวลานั้นพระวิสุทธิกษัตรีย์ยังประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลกร่วมกับสมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระมหินทราธิราชเกรงว่าพระภคินีและพระราชนัดดาจะเป็นอันตราย[4] เพราะทรงพิจารณาแล้วว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาเอาใจออกหากเข้าฝ่ายหงสาวดี[5] สมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระมหินทราธิราชจึงไปชิงตัวพระวิสุทธิกษัตรีย์และสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จลงมา ณ กรุงอโยธยา[4] ครั้นสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงทราบข่าวจึงทูลฟ้องพระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้าบุเรงนองจึงยกทัพใหญ่ไปตีกรุงอโยธยา[6] สามารถปิดล้อมกรุงอโยธยาไว้ได้ แต่ตีพระนครแต่ไม่สำเร็จ ระหว่างนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิประชวรได้ 25 วันก็เสด็จสวรรคต[7]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

แก้

พระวิสุทธิกษัตรีย์เป็นตัวละครในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ ดังนี้

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 71
  2. 2.0 2.1 คำให้การชาวกรุงเก่า, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 497
  3. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับ เยเรเมียส ฟาน ฟลีตฯ, หน้า 43-44
  4. 4.0 4.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 111
  5. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 109
  6. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 112
  7. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 116
  8. "สุริโยไท ฉบับสู่ตลาดโลก เพิ่มฉากใหญ่เน้นเรื่องของอารมณ์". สยามโซน. 12 เมษายน 2545. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "สุริโยไท". ภาพยนตร์ไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-21. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "กษัตริยา". เรื่องย่อละครไทย. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  11. "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช". สยามโซน. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2562. {{cite web}}: ข้อความ "date 1 สิงหาคม 2557" ถูกละเว้น (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. ""ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" อภิมหาซีรีส์ยิ่งใหญ่ เปิดศักราช พ.ศ. 2560". ผู้จัดการออนไลน์. 22 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
บรรณานุกรม