คมน์ อรรฆเดช (26 มีนาคม พ.ศ. 2489 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555) อดีตนักแสดง, ผู้กำกับภาพยนตร์ และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวไทย

คมน์ อรรฆเดช
เกิด26 มีนาคม พ.ศ. 2489
สมคิด เล่งอิ้ว
เสียชีวิต9 สิงหาคม พ.ศ. 2555 (อายุ 66 ปี)
โรงพยาบาลทักษิณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คู่สมรสพรพิมล มั่นฤทัย
อาชีพผู้กำกับ, ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์, ผู้จัดละคร, นักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2554
ผลงานเด่นเพชรตัดหยก
พยัคฆ์ยี่เก
ThaiFilmDb

ประวัติ

แก้

คมน์ อรรฆเดช มีชื่อจริงว่า สมคิด เล่งอิ้ว เกิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2489 ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จากนั้นได้เดินทางเข้ามากรุงเทพเพื่อศึกษาต่อหลักสูตรนักเรียนพลตำรวจ (น.พ.ต.) ที่โรงเรียนตำรวจนครบาล บางเขน

หลังจากเรียนจบหลักสูตรนักเรียนพลฯ จึงได้รับราชการเป็น พลตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลสามเสน จากนั้นได้เข้าทำงานใน องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีโต้ หรือ ส.ป.อ.) ในตำแหน่งพนักงานรับโทรศัพท์

เข้าสู่วงการบันเทิง

แก้

คมน์ อรรฆเดช เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการชักนำของชาลี อินทรวิจิตร ในปีพ.ศ. 2513 ซึ่งในขณะนั้นชาลี อินทรวิจิตรกำลังเตรียมจะสร้างละครโทรทัศน์ให้กับทางช่อง 7 เรื่อง ปิง วัง ยม น่าน และกำลังมองหานักแสดง จึงเลือกเขามาแสดงนำคู่กับดามพ์ ดัสกร พร้อมทั้งตั้งชื่อในวงการแสดงให้ว่า คมน์ อรรฆเดช โดยผลงานการแสดงเรื่องแรกของเขาถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำให้ได้แสดงละครเรื่องต่อมาคือเรื่อง มะกอกสามตะกร้า

ในปี พ.ศ. 2514 ชาลี อินทรวิจิตร ได้สร้างภาพยนตร์เรื่อง สวนสน ขึ้นเพื่อออกฉายตามโรงภาพยนตร์ และได้ให้โอกาสคมน์ อรรฆเดช และลักษณ์ อภิชาติที่เป็นดาราโทรทัศน์มาแสดงภาพยนตร์เป็นครั้งแรก ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงถือเป็นการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกของเขา และทำให้ได้มีโอกาสแสดงร่วมกับยอดชาย เมฆสุวรรณ และ พิศมัย วิไลศักดิ์ ที่เป็นดารานำของเรื่อง

ต่อมาได้แสดงภาพยนตร์อีกหลายเรื่องเช่น สื่อกามเทพ ร่วมกับสมบัติ เมทะนี ,มันมากับความมืด ซึ่งเป็นผลงานการกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (แสดงร่วมกับสรพงษ์ ชาตรี) ,บุหงาหน้าฝน ที่กำกับการแสดงโดยรุจน์ รณภพ และเรื่อง คนเมืองกรุง หลังจากนั้นได้ผันตัวเองมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ และผู้อำนวยการสร้าง ในนามบริษัท โคลีเซี่ยม อินเตอร์กรุ๊ป ของตัวเองจากเรื่อง ปล้นครั้งสุดท้าย ในปี พ.ศ. 2518

คมน์ อรรฆเดช มีผลงานการกำกับและสร้างภาพยนตร์มากมาย อาทิ เสือภูเขา ในปี พ.ศ. 2522, เพชรตัดหยก ในปี พ.ศ. 2525, พยัคฆ์ยี่เก ในปี พ.ศ. 2526, และ ตำรวจเหล็ก ในปี พ.ศ. 2529 อีกทั้งยังเป็นผู้ปลุกปั้นนักแสดงหลายคนให้มีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นมา อาทิ บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์, มาช่า วัฒนพานิช รวมทั้ง เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ และยังได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ ระหว่างปี พ.ศ. 2542-พ.ศ. 2545 มีผลงานโดดเด่น คือ การจัดมหกรรมภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 44 ที่ประสบความสำเร็จ ได้รับคำชื่นชมต่าง ๆ มากมาย และเป็นผู้ประสานกับภาครัฐทางด้านต่าง ๆ เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่วงการภาพยนตร์ไทยในหลาย ๆ เรื่อง รวมทั้งมีการผลักดันให้วันที่ 4 เมษายน ของทุกปีเป็นวันหนังไทย และเป็นผู้ผลักดันให้เกิดแนวคิดก่อตั้งสภาภาพยนตร์ สถาบันภาพยนตร์แห่งชาติ และสมาคมวิชาชีพต่างๆ โดยทางคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มอบปริญญาบัตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสื่อสารมวลชน ให้อีกด้วย

เมื่อวงการภาพยนตร์ซบเซา คมน์ อรรฆเดชได้ผันตัวเองเป็นผู้จัดละครโทรทัศน์ ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด คือ โก๊ะจ๋า ป่านะโก๊ะ ละครโทรทัศน์ชุดทางช่อง 7 สี โดยเฉพาะในภาค โก๊ะ 7 เมื่อปี พ.ศ. 2554 ที่เรตติ้งสูงสุด ขึ้นเป็นอันดับหนึ่งถึง 4 สัปดาห์ซ้อน และมีบริษัท โคลีเซี่ยม อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด ประกอบกิจการศูนย์การค้าและโรงภาพยนตร์โคลีเซี่ยม

ในด้านชีวิตส่วนตัว คมน์ อรรฆเดช มีบุตรชายและบุตรสาวรวม 4 คน เป็นบุตรสาวที่เกิดจากนางนันทวรรณ กันเกษมภรรยาคนแรก 2 คน คือนางนุชนารถ และพญ.หนึ่งฤทัย ภิรมย์ และมีบุตรชายที่เกิดจากภรรยาคนต่อมาอีก 2 คน คือนายพิทักษ์ และ นายภูวนาท เล่งอิ้ว โดยก่อนเสียชีวิตได้ใช้ชีวิตคู่โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับ นางพรพิมล มั่นฤทัย

เสียชีวิต

แก้

วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เวลา 15.09 น. คมน์ อรรฆเดช เสียชีวิตด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่โรงพยาบาลทักษิณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขณะที่มาสำรวจความคืบหน้าในการก่อสร้างศูนย์การค้าโคลีเซี่ยม ซึ่งเป็นกิจการในสังกัดของตนเอง สิริอายุได้ 66 ปี [1][2]

ผลงานการแสดงภาพยนตร์

แก้

ผลงานกำกับภาพยนตร์

แก้

ผลงานการสร้างภาพยนตร์

แก้
  • นักสู้หน้าเซ่อ (2527)

ผลงานการสร้างภาพยนตร์

แก้
  • นักสู้หน้าเซ่อ (2527)
  • กอดคอกันแหวว (2536)
  • กองร้อย 501 ริมแดง (2536)
  • กอง 100 501 ตอน ถึงใจจะแตกแต่ไม่แตกแถว (2538)

ควบคุมการผลิต

แก้
  • โก๊ะจ๋าป่านะโก๊ะ (2549)
  • พยัคฆ์ยี่เก (2552)
  • ตำรวจเหล็ก (2553)

อ้างอิง

แก้