คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากอง เป็นหนึ่งในสี่คณะ ที่ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประกอบไปด้วย คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Faculty of Humanities,
Ramkhamhaeng University
สถาปนา26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทิพอุษา ศรีเพริศ
ที่อยู่
อาคารคณะมนุษยศาสตร์ ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240
วารสารวารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์[1]
สี  สีแสด
เว็บไซต์http://www.human.ru.ac.th/

เริ่มแรกในปี พ.ศ. 2514 คณะมนุษยศาสตร์ เปิดสอน 5 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ และสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส


ประวัติ แก้

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะมนุษยศาสตร์ ได้ถือกำเนิดมาพร้อมกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยจัดตั้งขึ้นตาม "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พุทธศักราช 2514" ซึ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514

แต่แรกนั้น ที่ทำการของคณะมนุษยศาสตร์เป็นอาคารหลังหนึ่งในงานแสดงสินค้านานาชาติแห่งประเทศไทย ต่อมามหาวิทยาลัยฯ ได้อนุมัติให้คณะมนุษยศาสตร์สร้างอาคารถาวรขึ้นใหม่ คือ อาคารคณะมนุษยศาสตร์ 1 ในปัจจุบัน

ได้มีการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2516 โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วาสน์ วาสโน) (สมณศักดิ์ในขณะนั้น ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ)

อาจารย์และข้าราชการคณะมนุษยศาสตร์จึงได้พร้อมใจกันถือเอาวันที่ 28 กันยายน ของทุกปีเป็นวันคณะมนุษยศาสตร์ ตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา

ปัจจุบันคณะมนุษยศาสตร์บริหารงานภายใต้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2541 โดยดำเนินงานตามภารกิจของมหาวิทยาลัยรามคำแหง อันได้แก่ การจัดการเรียนการสอน การวิจัย การจัดบริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ เพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ด้านวิชาชีพ การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทั้งหมดนี้สะท้อน ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงคุณลักษณะซึ่งดำรงความเป็นมนุษยศาสตร์อันโดดเด่นและเป็นความภาคภูมิใจของบุคลากรและนักศึกษาของคณะมนุษยศาสตร์ทุกคน


ภาควิชา แก้

  • ภาควิชาภาษาอังกฤษและภาษาศาสตร์
  • ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก
  • ภาควิชาภาษาตะวันตก
  • ภาควิชาปรัชญา
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์
  • ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  • ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์

แผนผังที่ทำการคณะ แก้

อาคาร 1  (HUB 1) เป็นอาคาร 5 ชั้น

  • อาคาร 1 ชั้นที่ 1 เป็นที่ตั้งของห้องทำงานเลขานุการคณะฯ หน่วยส่งเสริมและพัฒนาทางวิชาการ หน่วยกิจการนักศึกษา หน่วยทะเบียน หน่วยอาคารสถานที่ ห้องผลิตเอกสาร และสำนักงานโครงการภาคพิเศษหลักสูตรวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว
  • อาคาร 1 ชั้นที่ 2 เป็นที่ตั้งของงานคลังและพัสดุ งานนโยบายและแผน หน่วยการเจ้าหน้าที่ หน่วยสารบรรณ หน่วยผลิตเอกสาร ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาและห้องทำงานคณาจารย์ภาควิชาฯ
  • อาคาร 1 ชั้นที่ 3 เป็นที่ตั้งของห้องประชุมพดด้วง หน่วยโสตทัศนศึกษา ห้องเรียน AV-IT 1 และห้องปฏิบัติการทางภาษา
  • อาคาร 1 ชั้นที่ 4 เป็นที่ตั้งของภาควิชาภาษาอังกฤษและภาษาศาสตร์และห้องทำงานคณาจารย์ภาควิชาฯ
  • อาคาร 1 ชั้นที่ 5 เป็นที่ตั้งของภาควิชาปรัชญาและห้องทำงานคณาจารย์ภาควิชาฯ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ห้องปฏิบัติการสารสนเทศและห้องทำงานคณาจารย์ภาควิชาฯ  ห้องสมุดคณะฯ

อาคาร 2  (HUB 2) เป็นอาคาร 5 ชั้น

  • อาคาร 2 ชั้นที่ 1 เป็นที่ตั้งของห้องทำงานคณบดี ห้องทำงานรองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัยและรองคณบดีฝ่ายนโยบายและแผน ห้องทำงานรองคณบดีฝ่ายบริหาร และห้องทำงานรองคณบดีฝ่ายสวัสดิการ ห้องประชุมศรีศรัทธา ห้องศูนย์สารสนเทศและศูนย์แปล งานประกันคุณภาพการศึกษา และสำนักงานโครงการปริญญาตรีภาคพิเศษ
  • อาคาร 2 ชั้นที่ 2 เป็นที่ตั้งของห้องรับรองแขก สำนักงานบัณฑิตศึกษา และห้องประชุมพวงแสด
  • อาคาร 2 ชั้นที่ 3 เป็นที่ตั้งของภาควิชาภาษาตะวันตก และห้องทำงานคณาจารย์สาขาวิชาภาษาเยอรมัน สาขาวิชาภาษารัสเซีย สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส  สาขาวิชาภาษากรีก สาขาวิชาภาษาโปรตุเกส สาขาวิชาภาษาสเปน
  • อาคาร 2 ชั้นที่ 4 เป็นที่ตั้งของภาควิชาประวัติศาสตร์  และห้องทำงานคณาจารย์ภาควิชาฯ
  • อาคาร 2 ชั้นที่ 5 เป็นที่ตั้งของภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก และห้องทำงานคณาจารย์ ประจำภาควิชาฯ สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาภาษามลายู สาขาวิชาภาษาอาหรับ สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น สาขาวิชาภาษาจีน สาขาวิชาภาษาเกาหลี สาขาวิชาภาษาบาลี-สันสกฤตและฮินดี สาขาวิชาภาษาลาว สาขาวิชาภาษาเมียนมา สาขาวิชาภาษาเขมร

ศิษย์เก่าคนดัง แก้

หมวดหมู่:บุคคลจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

หลักสูตรการศึกษา แก้

ศิลปศาสตรบัณฑิต แก้

ปัจจุบันคณะมนุษยศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต รวมทั้งสิ้น จำนวน 14 สาขาวิชา ดังนี้[2][3]

สำหรับวิชาโทนั้น นักศึกษาสามารถเลือกเรียนสาขาวิชาที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดเป็นวิชาโทได้ทุกสาขา นอกจากนี้ยังมีวิชาโทอื่น ๆ ให้เลือกเรียนได้อีกหลายสาขาวิชา รวม 23 สาขาวิชา ได้แก่ ภาษาศาสตร์ ภาษาอังกฤษทั่วไป วรรณคดี ภาษาอังกฤษเฉพาะด้าน ภาษาไทย ภาษาบาลี-สันสกฤตและฮินดี คติชนวิทยา ภาษาอาหรับ ภาษามลายู ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน ภาษารัสเซีย ภาษากรีก ภาษาเมียนมา สารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว และ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา[5]

ส่วนวิชาเลือกนั้น นอกจากนักศึกษาจะสามารถเลือกเรียนรายวิชาต่างๆในสาขาวิชาเอกและวิชาโทเป็นวิชาเลือกแล้ว นักศึกษายังสามารถเลือกเรียนวิชาเลือกอื่นๆอีกมากมายหลากหลายวิชา ได้แก่ ภาษาโปรตุเกส ภาษาเกาหลี ภาษาเวียดนาม ภาษาลาว และภาษาเขมร

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต แก้

นอกจากการเรียนการสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ยังได้เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตอีก 3 สาขาวิชา ได้แก่

  • สาขาวิชา ไทยศึกษา
  • สาขาวิชาภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศ

หลักสูตรการศึกษา แก้


ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (4 ปี) (ศศ.บ)

  • วิชาเอกภาษาอังกฤษ
  • วิชาเอกภาษาไทย
  • วิชาเอกภาษาตะวันตก (ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน และภาษารัสเซีย)
  • วิชาเอกปรัชญาและศาสนา
  • วิชาเอกประวัติศาสตร์
  • วิชาเอกสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  • วิชาเอกสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
  • วิชาเอกภาษาจีน
  • วิชาเอกประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว
  • วิชาเอกภาษาญี่ปุ่น
  • วิชาภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศ
  • สาขาวิชาไทยศึกษา

อ้างอิง แก้

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้