ถนนทรงวาด (อักษรโรมัน: Thanon Song Wat) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ในย่านเยาวราช

ถนนทรงวาด
ตึกแถวริมถนนทรงวาด.JPG
อาคารเก่าแก่ริมถนนทรงวาด เรียกกันว่า ตึกแขก
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว1.196 กิโลเมตร (0.743 ไมล์)
ประวัติ
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตก ถนนราชวงศ์ ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
ปลายทางทิศตะวันออก ถนนเจริญกรุง ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

ถนนทรงวาด กำเนิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้วาดแนวถนนเส้นนี้ลงบนแผนที่เพื่อลดความแออัดของพื้นที่ในย่านสำเพ็งหลังจากเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ ถนนทรงวาดมีความยาวทั้งสิ้น 1,196 เมตร กินพื้นที่ตั้งแต่แขวงสัมพันธวงศ์และแขวงตลาดน้อย การตัดถนนทรงวาดแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกเมื่อ พ.ศ. 2435 เริ่มจากถนนจักรเพชรถึงตรอกโรงกระทะ (ถนนเยาวพานิช) และช่วงที่สอง พ.ศ. 2450 จากตรอกโรงกระทะไปจดกับถนนเจริญกรุง[1] ในอดีตถนนทรงวาดเป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมต่อกับท่าเรือกลไฟบรรทุกสิ่งของจากหัวเมืองต่าง ๆ มายังกรุงเทพมหานคร สองฟากถนนจึงเต็มไปด้วยร้านค้าจำหน่ายนำเข้าและส่งออก ส่วนมากเป็นพืชผลทางการเกษตร เช่น บริษัทเจียไต๋ ซึ่งได้กลายมาเป็นเครือเจริญโภคภัณฑ์ในปัจจุบัน และหลายร้านก็ยังคงดำเนินกิจการมาจนถึงปัจจุบันและเน้นการขายส่ง[2]

ปัจจุบัน อาคารต่าง ๆ ที่ถนนทรงวาดจึงเป็นอาคารเก่าแก่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ บริเวณหัวมุมถนนทรงวาดมีตึกโบราณที่เรียกกันว่า ตึกแขก มีการประดับลวดลายฉลุไม้แบบเรือนขนมปังขิง ซุ้มหน้าต่างทำเป็นทรงโค้งแหลม แบบสถาปัตยกรรมกอทิก เป็นไปได้ว่าในอดีตอาจจะเป็นห้างร้านของกลุ่มพ่อค้ามุสลิม[3] และยังมีศิลปะบนผนังหรือกำแพงของอาคารต่าง ๆ จากฝีมือของศิลปินชาวตะวันตก[1] นอกจากนี้แล้วถนนทรงวาดตรงจุดตัดกับถนนทรงสวัสดิ์ มีถนนสายหนึ่งชื่อ "ถนนทรงเสริม" มีความยาว 20 เมตร ไปสิ้นสุดที่ท่าสวัสดี ท่าเรือที่สามารถโดยสารเรือข้ามฟากข้ามมายังท่าวัดทองธรรมชาติ ในฝั่งธนบุรีได้ [2]

สถานที่สำคัญที่อยู่บนถนนทรงวาดหรือใกล้เคียง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 ปานชื่น, ปิ่นอนงค์ (2017-01-24). "ตึกสวยบนถนนทรงวาด". คมชัดลึก.
  2. 2.0 2.1 บาราย (2015-02-08). "เยาวราช ถนนมังกรไม่เคยหลับ". ไทยรัฐ.
  3. อภิญญา นนท์นาท. "กิจการค้าของมุสลิมในย่านจีน กรุงเทพฯ". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-18. สืบค้นเมื่อ 2021-12-18.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°44′22″N 100°30′14″E / 13.739325°N 100.503751°E / 13.739325; 100.503751