ศาลเจ้าโจวซือกง ตลาดน้อย

(เปลี่ยนทางจาก ศาลเจ้าโจวซือกง)

ศาลเจ้าโจวซือกง (ตัวเต็ม: 順興宮清水祖師公廟噠叻仔) เป็นศาลเจ้าเทพโจวซือกงของกลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยน ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2347 หรือตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1[1] ตั้งอยู่ในบริเวณ ตลาดน้อย แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฮกเกี้ยนแห่งประเทศไทย

ศาลเจ้าโจวซือกง
ศาลเจ้าโจวซือก๋ง
順興宮
ศาลเจ้าโจวซือกง ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566
ศาสนา
ศาสนาศาสนาชาวบ้านจีน
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
เทพเฉ่งจุ้ยจ้อซู (เทพโจวซือกง)
เทศกาลเทศกาลกินเจ
หน่วยงานกำกับดูแลสมาคมฮกเกี้ยนแห่งประเทศไทย
ปีที่อุทิศพ.ศ. 2347
ที่ตั้ง
ที่ตั้ง758 ซอยภาณุรังษี แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์
ประเทศประเทศไทย
สถาปัตยกรรม
ประเภทสถาปัตยกรรมจีน
รูปแบบสถาปัตยกรรมฮกเกี้ยน
ผู้ก่อตั้งเศรษฐีชาวจีนฮกเกี้ยนแซ่โซว
เสร็จสมบูรณ์พ.ศ. 2347
ทิศทางด้านหน้าทิศตะวันตก

ประวัติ แก้

ศาลเจ้าแห่งนี้สร้างเมื่อใดไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ตามหินศิลาบันทึกของศาลเจ้าบันทึกไว้ว่า สร้างเมื่อวันดีปีเจียชิ่งเจี้ยจื่อเหนียน เป็นปีที่ 9 ในจักรพรรดิเจียชิ่ง (จีน: 嘉慶甲子年) ซึ่งตรงกับ ค.ศ. 1804 และ พ.ศ. 2347 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเศรษฐีชาวจีนฮกเกี้ยนแซ่โซว (จีน: 蘇) จากเมืองจวนจิว มณฑลฮกเกี้ยน ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเปิดโรงเผ่าถ่าน ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในย่านบ้านตลาดน้อย ได้นำพาเทพเจ้าเฉ่งจุ้ยจ้อซู (จีน: 清水祖師公) ที่ตนนับถือมาแต่เมืองจีนมาบูชาและได้ตั้งศาลเจ้าให้ท่านได้ประทับ เนื่องจากเฉ่งจุ้ยจ้อซูกงมีชาติภูมิกำเนิดเป็นชาวฮกเกี้ยนและในย่านชุมชนจีนตลาดน้อยเดิมเป็นชุมชนของชาวจีนฮกเกี้ยน ทำให้ศาลของพระเฉ่งจุ้ยจ้อซูกงได้รับความนับถือสืบเนื่องเรื่อยมา

ลักษณะสถาปัตยกรรม แก้

ศาลเจ้าโจวซือกงเดิมสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นก่ออิฐผสมไม้ ลักษณะตัวอาคารรูปแบบสถาปัตยกรรมจีนฮกเกี้ยนโบราณ ในอดีตมีแค่หลังเดียว ต่อมาได้ต่อเดิมเป็นสามหลังทะลุติดถึงกัน ภายในและภายนอก มีการตกแต่งหลังคาและผนังด้วยตุ๊กตาปูนปั้นจีนประดับกระเบื้องศิลปะฮกเกี้ยน ตามเทพนิยายจีน มีไม้แกะสลักประดับตามขื่อหลังคา คาน ช่องลมและแท่นบูชาอย่างวิจิตรสวยงาม ผนังสองด้านของศาลมีปูนปั้นประดับกระเบี้องรูปเสื้อขาวแปะฮ่อประจำทิศตะวันตก และมังกรเขียวแชเหล็งประจำทิศตะวันออก ตามคติจีน (เต่าดำฮ่อกู้ประจำทิศเหนือ หงส์แดงอั้งฮ่องประจำทิศใต้) นอกจากนั้นรูปสลักของท่านได้อัญเชิญมาจากมณฑลฮกเกี้ยนประเทศจีน มีขนาดยาวหน้าตักประ 3 เมตร สูง 5 เมตร

แท่นบูชาภายในศาล แก้

ซุนเฮงเกียง แก้

ซุนเฮงเกียง (จีน: 順興宮) เป็นอาคารประธานของศาลประกอบด้วย

ซุนเฮงซี แก้

ซุนเฮงซี (จีน: 順興寺) อาคารฝั่งตะวันออก

ฮุยหล่ำตั๋ว แก้

  • ฮุยหล่ำตั๋ว (จีน: 回南壇) อาคารฝั่งทิศตะวันตก เป็นแดนผู้วายชนม์

เทศกาล แก้

อ้างอิง แก้

  1. ไชยพจน์พานิช, อชิรัชญ์ (2014). สถาปัตยกรรมศาลเจ้าจีนสะท้อนภาพชาวจีนในสังคมสมัยรัตนโกสินทร์ (PDF). สืบค้นเมื่อ 18 June 2023.