สถาปัตยกรรมฮกเกี้ยน

สถาปัตยกรรมฮกเกี้ยน, สถาปัตยกรรมฮกโล้ หรือ สถาปัตยกรรมหมินนัน หมายถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมของชาวฮกเกี้ยน ซึ่งเป็นกลุ่มชาวจีนย่อยฮั่นซึ่งมีประชากรอยู่เป็นหลักในจีนตอนใต้ แถบมณฑลฝูเจี้ยน มาตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ รูปแบบสถาปัตยกรรมฮกเกี้ยนคล้ายคลึงกับสถาปัตยกรรมจีนฮั่นที่อยู่รอบฝูเจี้ยน แต่ก็มีลักษณะพิเศษบางประการที่พบได้เฉพาะในสถาปัตยกรรมฮกเกี้ยนอยู่ที่ทำให้เมื่อมองแล้วจะเห็นความแตกต่างชัดเจนในสิ่งก่อสร้างแบบฮกเกี้ยนและไต้หวัน เทียบกับสถาปัตยกรรมแบบอื่น ๆ [1]

วัดลู่กังหลงซาน สาางด้วยสถาปัตยกรรมฮกเกี้ยน

หลังคาหางแฉก แก้

หลังคาหางแฉก หรือ หลังคาหางนกนางแอ่น (จีน: 燕尾脊, ìnn-bé-tsiah) เป็นลักษณะที่พบได้เป็นหลักในสถาปัตยกรรมฮกเกี้ยนและจะพบได้ยากมากในสถาปัตยกรรมฮั่นที่ไม่ใช่แบบฮกเกี้ยน หลังคาหางแฉกมีลักษณะเป็นหลังคาที่มีสันโค้งขึ้น คล้ายกับหางของนกนางแอ่น โดยมีองศาการโค้งที่แตกต่างกันไปในแต่แห่ง ด้านบนของสันมีการประดับตกแต่งอย่างวิจิตร[2][3] ลักษณะนี้มีจุดเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในสมัยราชวงศ์หมิง ซึ่งชาวฮกเกี้ยนร่ำรวยขึ้นอย่างรวดเร็วจากการค้าขายกับพ่อค้ายุโรป จึงนิยมสร้างบ้านและอาคารเพื่อสแดงออกถึงความมั่งคั่งของตน ทำให้เกิดลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่หรูหรานี้ขึ้น[4] ลักษณะที่มีสีสันสดใสและเด่นชัดนี้พบในวัดสำคัญ, คฤหาสน์ และหอบรรพบุรุษ

งานแกะสลักเครื่องเคลือบตัด แก้

งานแกะสลักเครื่องเคลือบตัด (จีน: 剪瓷雕, Tsián-huî-tiau) เป็นงานที่พบได้ทั่วไปในสถาปัตยกรรมฮกเกี้ยนและสถาปัตยกรรมเวียดนาม[5][6] ศิลปินเครื่องเคลือบดั้งเดิมจะนำเครื่องเคลือบต่าง ๆ เช่นถ้วยและชาม มาตัดหรือป่นเป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ และนำชิ้นส่วนเหล่านี้ไปติดกับอาคารหรืองานแกะสลักเพื่อตกแต่ง ลักษณะศิลปะที่พบได้ตามองค์ประกอบต่าง ๆ ของอาคาร เช่น สันหลังคา, ขอบหน้าต่าง หรือประตู งานศิลปะพวกนี้มักแสดงถึงพืช, สัตว์ และสิ่งมีชีวิตในตำนานจีน

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Yifang, L. I. U. (2008). Debate on the Characteristics of Traditional Architectures in South Fujian and It's Inheritance [J]. Journal of Wuyi University, 2, 017.
  2. 曹春平. 《闽南传统建筑》. 中國: 厦门大学出版社. 2006-06.
  3. 福建省炎黄文化研究会、中国人民政治协商会议、泉州市委会. 《闽南文化研究》第2卷. 中國: 海峽文艺出版社.
  4. "永不停息的振翅飛翔 燕尾與有官品的家族無關". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-29. สืบค้นเมื่อ 2019-11-21.
  5. 許東生. 《潮汕嵌瓷工藝研究:以存心善堂為例》. 美術學報. 2011年4月.
  6. 陳磊. 《閩南民間藝術奇葩-剪瓷雕》. 南京藝術學院學報. 2009年6月.