นิโรธ สุนทรเลขา
นิโรธ สุนทรเลขา เป็นอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ อดีตประธานกรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร และประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 เป็นอดีตประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23
นิโรธ สุนทรเลขา | |
---|---|
ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 18 กันยายน พ.ศ. 2566 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 (0 ปี 233 วัน) | |
รัฐมนตรีช่วย | กฤษฎา จีนะวิจารณะ |
ประธานคณะกรรมการประสานงาน สภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564 – 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | วิรัช รัตนเศรษฐ |
ถัดไป | อดิศร เพียงเกษ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครสวรรค์ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 | |
ก่อนหน้า | วีระกร คำประกอบ ภิญโญ นิโรจน์ ประสาท ตันประเสริฐ |
ถัดไป | ประสาท ตันประเสริฐ |
เขตเลือกตั้ง | เขต 7 (2544,2548) เขต 2 (2550) |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | |
ก่อนหน้า | ประสาท ตันประเสริฐ |
ถัดไป | ประสาท ตันประเสริฐ |
เขตเลือกตั้ง | เขต 6 (2562) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 เมษายน พ.ศ. 2496 อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | ชาติไทย (2536–2547, 2550–2551) ไทยรักไทย (2547–2550) ชาติไทยพัฒนา (2551–2561) พลังประชารัฐ (2561–2566) |
ประวัติ
แก้นิโรธ สุนทรเลขา เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2496 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต และระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
การทำงาน
แก้นิโรธ สุนทรเลขา เริ่มต้นงานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาจังหวัดนครสวรรค์ 2 สมัย ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จึงได้ลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคชาติไทย และในการเลือกตั้งครั้งต่อมา ในปี 2548 ได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 2
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้ย้ายกลับไปสังกัดพรรคชาติไทยตามเดิม และได้รับเลือกตั้งมาเป็นลำดับที่ 1 เป็น ส.ส.สมัยที่ 3 และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร แต่ในปี พ.ศ. 2554 นายนิโรธ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคชาติไทยพัฒนา แต่แพ้ให้กับ ประสาท ตันประเสริฐ จากพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (สมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์)[1]
เมื่อปี 2561 เขาย้ายมาร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ[2] และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 4 ในนามพรรคพลังประชารัฐ และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร[3][4] มีบทบาทในการตรวจสอบของคณะกรรมาธิการในคดีที่อัยการไม่ส่งฟ้องนายวรยุทธ อยู่วิทยา กรณีขับรถชน ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ตำรวจ สน.ทองหล่อ เสียชีวิต ปี 2555[5] และเขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร[6]
ในวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2566 นายนิโรธได้ตัดสินใจลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ โดยเตรียมสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ[7]
หลังจากย้ายซบ พรรครวมไทยสร้างชาติใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ เขต 6 แต่เขาไม่ได้รับการเลือกตั้ง พ่ายแพ้ให้กับ นายประสาท ตันประเสริฐ พรรคชาติพัฒนากล้า
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ https://secretary.mots.go.th/minister/ewt_dl_link.php?nid=2012[ลิงก์เสีย]
- ↑ 2อดีตรมว.ปากน้ำโพ สวมเสื้อพปชร.ลงสนาม ย้ำสร้างสมานฉันท์ จับมือคนรุ่นใหม่พัฒนานครสวรรค์
- ↑ เปิดชื่อ 35 ประธาน กมธ. “เสรีพิศุทธ์”นั่งปราบทุจริต
- ↑ 'นิโรธ' ส.ส.นครสวรรค์ ให้กำลังใจตำรวจในพื้นที่
- ↑ "กมธ.ตำรวจ" จ่อสรุปรายงาน "คดีบอส" สอบสวนไม่ชอบ-ควรรื้อคดีใหม่[ลิงก์เสีย]
- ↑ aof (2021-11-05). "ประยุทธ์ เซ็นคำสั่ง แต่งตั้ง นิโรธ นั่งประธานวิปรัฐบาลคนใหม่". ประชาชาติธุรกิจ.
- ↑ เลือกแล้ว! 'นิโรธ'ร่อนใบลาออกทิ้ง พปชร. ซบรวมไทยสร้างชาติ ช่วย'บิ๊กตู่'
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑