สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม
สรรสริญ วงศ์ชะอุ่ม (29 มกราคม พ.ศ. 2491 — ) เป็น กรรมการในคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ[1]นักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ [2]
สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ก่อนหน้า | ภูมิธรรม เวชยชัย อดิศร เพียงเกษ ชัยนันท์ เจริญศิริ |
ถัดไป | ทรงศักดิ์ ทองศรี อนุรักษ์ จุรีมาศ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 มกราคม พ.ศ. 2491 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | นางภัทรวดี วงศ์ชะอุ่ม |
ประวัติ
แก้นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เกิดเมื่อ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 เป็นบุตรของพลตำรวจโท ชนะ กับนางสายสุวรรณ วงศ์ชะอุ่ม จบการศึกษาจาก โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และ ปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยบริดจ์พอร์ต รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา และเป็นนักศึกษา วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 37 และได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
สมรสกับ นางภัทรวดี วงศ์ชะอุ่ม (สกุลเดิม อินทุภูติ) มีบุตร 1 คน คือ นายภาณุ วงศ์ชะอุ่ม
การทำงาน
แก้นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เริ่มต้นรับราชการที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จนได้รับตำแหน่งสูงสุด คือ เลขาธิการ สศช. (5 เม.ย. 2542) และลาออกจากเลขาธิการ สศช. โดยจะมีผลวันที่ 1 ก.พ. 2545 ในขณะที่ยังเหลืออายุราชการอีก 6 ปี ให้เหตุผลว่าต้องการใช้เวลากับครอบครัว แต่มีเสียงวิจารณ์ว่าเป็นเพราะถูกกดดันทางการเมือง เพราะการทำงานของสภาพัฒน์ฯ ในรัฐบาล “ทักษิณ” ไม่ค่อยเข้าขากับคนของรัฐบาล (พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน) ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ และกรรมการอิสระ บริษัท สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) และ บริษัท หลักทรัพย์บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
ตำแหน่งในคณะกรรมการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
แก้- คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ
- คณะกรรมการปรับโครงสร้างเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
- คณะกรรมการนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ
- คณะกรรมการประสานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน
- คณะกรรมการเพื่อสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
- คณะกรรมการประสานและส่งเสริมการพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS)
- คณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
- คณะกรรมการบริหารสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
- สภามหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณะกรรมการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
- คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย
- กรรมการบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ธ.ค. 2543
- กรรมการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (13 มี.ค. 2544)
- กรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) 12 มิ.ย.2544
- ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อแสดงความรับผิดชอบ หลังการบินไทยมีปัญหาขัดแย้งหลายเรื่อง (6 ก.ย. 2544)
งานการเมือง
แก้ในการจัดตั้งรัฐบาลหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม ได้เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรีชุดดังกล่าว โดยรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[5]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
ผลงานวิชาการ
แก้หนังสือ
แก้- เศรษฐกิจพอเพียง : พื้นฐานสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, เม.ย. 2544
- การพัฒนาประเทศ, คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ธ.ค. 2546
- แนวคิด “การพัฒนาประเทศ”, เม.ย. 2547
- ระบบขนส่ง : แนวคิดและการพัฒนาช่วงรัฐบาล ปี 2550, ธ.ค. 2550
- การวางแผนพัฒนาประเทศ, ต.ค. 2554
- เรื่องเล่า จากอดีตเลขาธิการสภาพัฒน์, ม.ค. 2559
- เก็บตกความทรงจำ, ม.ค. 2561
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/242/26.PDF
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๗, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๙๕, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓