อำเภอกาญจนดิษฐ์

อำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย

กาญจนดิษฐ์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี คนภาคใต้ส่วนใหญ่จะเรียกและอ่านออกเสียงว่า กานดิษ

อำเภอกาญจนดิษฐ์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Kanchanadit
วัดถ้ำเขาคูหา
วัดถ้ำเขาคูหา
คำขวัญ: 
หอยใหญ่นางรม ชมวิทยาลัยฝึกลิง มากยิ่งกุ้งกุลาดำ งามล้ำพระไสยาสน์ พระพุทธบาทควรผดุง รุ่งเรืองเมืองท่าทอง
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอกาญจนดิษฐ์
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอกาญจนดิษฐ์
พิกัด: 9°09′56″N 99°28′16″E / 9.16556°N 99.47111°E / 9.16556; 99.47111
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด879.0 ตร.กม. (339.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด108,443 คน
 • ความหนาแน่น123.37 คน/ตร.กม. (319.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 84160,
84290 (เฉพาะตำบลท่าทองใหม่ ทุ่งกง และทุ่งรัง)
รหัสภูมิศาสตร์8402
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอกาญจนดิษฐ์ หมู่ที่ 1 ตำบลกะแดะ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

แก้

อำเภอกาญจนดิษฐ์ เดิมเป็นเมืองเก่า ชื่อ "เมืองท่าทอง" ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ริมคลองท่าทอง ตรงบริเวณตลาดบ้านท้อน ตำบลท่าทองในปัจจุบัน เมืองท่าทองตั้งขึ้นเมื่อใดไม่ทราบแน่นอน โดยจากอักขราภิธานศรับท์ของหมอปรัดเล ได้รวบรวมพิมพ์ไว้ว่า ประมาณ พ.ศ. 1588 เมืองท่าทองได้ตั้งขึ้นแล้ว โดยมีพระวิสูตรสงครามรามภักดี (พระท่าทอง) เป็นเจ้าเมือง เมื่อพม่ายกพลมาตีเมืองต่างๆ ตลอดมาจนถึงเมืองท่าทอง พม่าได้เผาทำลายเมืองเสียยับเยิน ส่วนเจ้าผู้ครองนครก็หนีหายสาบสูญไป เมื่อกรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาทขับไล่พม่าถอยหนีไปหมดแล้ว  จึงตั้งนายสม เป็นผู้รั้งเมืองท่าทอง จนมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงวิเศษ และเป็นพระวิสูตรสงครมรามภักดี (พระท่าทอง) แทนคนเก่าที่หายไป

หลวงวิเศษได้ย้ายเมืองใหม่มาตั้งที่บ้านกะแดะ  ใกล้คลองกะแดะ บริเวณตลาดกะแดะในปัจจุบัน จากนั้นเห็นว่าคลองกะแดะมีขนาดเล็ก ไม่สะดวกในการสัญจร จึงได้ย้ายเมืองไปตั้งใหม่ที่บริเวณริมคลองมะขามเตี้ย บริเวณตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน ได้มีผู้ครองเมืองท่าทองสืบทอดกันมา จนในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ย้ายเมืองท่าทองไปตั้งที่ บ้านดอน บริเวณบ้านพักผู้ว่าปัจจุบัน และได้พระราชทานนามใหม่ว่า "เมืองกาญจนดิฐ" ปี พ.ศ. 2442 โปรดให้รวมเมืองไชยา และเมืองกาญจนดิฐ เป็นเมืองเดียวกัน เรียก "เมืองไชยา" เพื่อให้นาม "กาญจนดิฐ" มาเป็นชื่ออำเภอ แทนอำเภอกะแดะ (ของเมืองท่าทองเก่า) และได้ตั้งที่ว่าการอำเภอขึ้น ที่วัดกำแพง หรือที่ตั้ง สภ.กาญจนดิษฐ์ในปัจจุบัน[1]

  • วันที่ 28 กันยายน 2456 โอนพื้นที่หมู่ 4 (ในขณะนั้น) ของตำบลพลายวาส ไปรวมกับพื้นที่หมู่ 6 ของตำบลกรูด[2]
  • วันที่ 14 เมษายน 2472 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช กับจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยโอนพื้นที่ตำบลไชยคราม และตำบลดอนสัก อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช มาขึ้นกับอำเภอกาญจนดิษฐ์[3]
  • วันที่ 14 ตุลาคม 2484 ตั้งตำบลท่าทองใหม่ แยกออกจากตำบลทุ่งกง[4]
  • วันที่ 30 กันยายน 2490 ตั้งตำบลพลายวาส แยกออกจากตำบลกะแดะ ตั้งตำบลช้างขวา แยกออกจากตำบลตะเคียนทอง ตั้งตำบลชลคราม แยกออกจากตำบลท่าทอง ตั้งตำบลทุ่งกง แยกออกจากตำบลท่าทองใหม่[5]
  • วันที่ 14 พฤศจิกายน 2493 โอนพื้นที่หมู่ 8,9,10 (ในขณะนั้น) ของตำบลกะแดะ ไปตั้งเป็นหมู่ 4,5,6 ของตำบลพลายวาส ตามลำดับ[6]
  • วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลกาญจนดิฐ ในท้องที่บางส่วนของตำบลกะแดะ[7]
  • วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลท่าทองใหม่ ในท้องที่ตำบลท่าทองใหม่[8]
  • วันที่ 24 มีนาคม 2512 แยกพื้นที่ตำบลชลคราม และตำบลดอนสัก อำเภอกาญจนดิฐ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอดอนสัก ขึ้นกับอำเภอกาญจนดิฐ
  • วันที่ 22 เมษายน 2512 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลกาญจนดิฐ เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น[9] โดยให้เขตสุขาภิบาลครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบลกะแดะ
  • วันที่ 16 กันยายน 2512 โอนพื้นที่ตำบลไชยคราม อำเภอกาญจนดิฐ ไปขึ้นกับ กิ่งอำเภอดอนสัก[10]
  • วันที่ 29 กันยายน 2513 จัดตั้งสุขาภิบาลดอนสัก ในท้องที่บางส่วนของตำบลดอนสัก[11]
  • วันที่ 13 ตุลาคม 2513 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลท่าทองใหม่ และจัดตั้งสุขาภิบาลท่าทองใหม่ ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าทองใหม่[12]
  • วันที่ 16 พฤศจิกายน 2514 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอดอนสัก อำเภอกาญจนดิษฐ์ เป็น อำเภอดอนสัก[13]
  • วันที่ 9 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลทุ่งรัง แยกออกจากตำบลทุ่งกง[14]
  • วันที่ 16 กันยายน 2533 ตั้งตำบลคลองสระ แยกออกจากตำบลป่าร่อน[15]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลกาญจนดิษฐ์ และสุขาภิบาลท่าทองใหม่ เป็นเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ และเทศบาลตำบลท่าทองใหม่ ตามลำดับ

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอกาญจนดิษฐ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอกาญจนดิษฐ์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 ตำบล 117 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ท่าทอง (Tha Thong) 9 หมู่บ้าน
2. ท่าทองใหม่ (Tha Thong Mai) 5 หมู่บ้าน
3. กะแดะ (Kadae) 9 หมู่บ้าน
4. ทุ่งกง (Thung Kong) 5 หมู่บ้าน
5. กรูด (Krut) 10 หมู่บ้าน
6. ช้างซ้าย (Chang Sai) 12 หมู่บ้าน
7. พลายวาส (Phlai Wat) 9 หมู่บ้าน
8. ป่าร่อน (Pa Ron) 9 หมู่บ้าน
9. ตะเคียนทอง (Takhian Thong) 7 หมู่บ้าน
10. ช้างขวา (Chang Khwa) 14 หมู่บ้าน
11. ท่าอุแท (Tha Uthae) 13 หมู่บ้าน
12. ทุ่งรัง (Thung Rang) 5 หมู่บ้าน
13. คลองสระ (Khlong Sa) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกะแดะทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลท่าทองใหม่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าทองใหม่
  • เทศบาลตำบลช้างซ้าย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลช้างซ้ายทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลช้างขวา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลช้างขวาทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลกรูด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกรูดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าทองใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าทองใหม่ (นอกเขตเทศบาลตำบลท่าทองใหม่)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งกงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพลายวาส ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพลายวาสทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าร่อน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าร่อนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะเคียนทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าอุแท ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าอุแททั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งรัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งรังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองสระทั้งตำบล

อุทยานแห่งชาติทางบก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. [1] เก็บถาวร 2020-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนข้อมูลอำเภอกาญจนดิษฐ์
  2. [2]ประกาศลดอัตราค่านา ในตำบลพลายวาศ ท้องที่อำเภอกาญจนดิฐ ลงเป็นนาชั้นเบ็ญจ
  3. [3]แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนตำบล
  4. [4]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  5. [5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ
  6. [6]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกาญจนดิฐ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  7. [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลกาญจนดิฐ อำเภอกาญจนดิฐ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  8. [8]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล [จำนวน ๕๙ แห่ง]
  9. [9]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลกาญจนดิฐ อำเภอกาญจนดิฐ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  10. [10]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตกิ่งอำเภอดอนสัก อำเภอกาญจนดิษฐ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  11. [11]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลดอนสัก กิ่งอำเภอดอนสัก อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  12. [12]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจัดตั้งสุขาภิบาลท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  13. [13] เก็บถาวร 2012-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอปลาปาก อำเภอเชียงกลาง อำเภอปากชม อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอดอนสัก อำเภอพนม อำเภอเวียงสระ อำเภอสังคม และอำเภอหัวตะพาน พ.ศ. ๒๕๑๔
  14. [14]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพนม อำเภอกาญจนดิษฐ กิ่งอำเภอบ้านนาเดิม อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  15. [15]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้