อำเภอสิชล
สิชล เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับการจัดตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2440
อำเภอสิชล | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Sichon |
คำขวัญ: สิชลเมืองโบราณ ถ้ำพิสดาร ธารสะอาด หาดหินงาม น้ำตกสวย รวยทรัพยากร | |
![]() แผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นอำเภอสิชล | |
พิกัด: 9°0′24″N 99°54′6″E / 9.00667°N 99.90167°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | นครศรีธรรมราช |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 703.1 ตร.กม. (271.5 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 88,613 คน |
• ความหนาแน่น | 126.03 คน/ตร.กม. (326.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 80120, 80340 (เฉพาะตำบลเสาเภา ตำบลเทพราชและตำบลเปลี่ยน) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 8014 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอสิชล หมู่ที่ 10 ถนนนครศรีธรรมราช-สุราษฎร์ธานี ตำบล ทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช 80120 |
![]() |
ที่ตั้งและอาณาเขตแก้ไข
อำเภอสิชลตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอขนอม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอท่าศาลาและอำเภอนบพิตำ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกาญจนดิษฐ์และอำเภอดอนสัก (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
ประวัติแก้ไข
อำเภอสิชล (ในปัจจุบัน) ขณะนั้นมี “ขุนชนะคีรี นายที่สิชล นา 400 ฝ่ายซ้าย” และมี หมื่นไชย รองที่สิชล นา 300” แสดงว่าสิชลมีฐานะย่อมกว่าที่อลอง ท้องที่อำเภอสิชล ชุมชนขยายตัวขึ้นในช่วงปลายรัชกาลที่ 2-3 ของกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้เพราะมีชาวจีนอพยพหนีภัยสงครามเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ปากแพรก เกิดเป็นตลาด เป็นท่าเรือประมง ตลาดสิชลเจริญขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่บ้าน “หลอง” หรือ “ตำบลฉลอง” ค่อยลดความสำคัญลงเป็นตรงกันข้าม ชื่อเรียกนามสถานแห่งนี้ปรากฏในเอกสารต่าง ๆ แตกต่างกัน นอกจากจะเป็น “ตระชน"
ตามที่ปรากฏในตำนานเมืองนครศรีธรรมราชดังกล่าวแล้วปรากฏในตรุศ (ตรุษ) รัชกาลที่ 4 เป็น “สุชล” ในประกาศพระราชพิธีตรุษรัชกาลที่ 5 เป็น “สีชล” มีชื่อสถานที่ใกล้เคียง คือ กระนพพิตำอลอง กลาย ขนอม ในประกาศพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์รัชกาลที่ 6 เป็น “สีชล” เช่นเดียวกับในสมัยรัชกาลที่ 5 สรุปได้ว่าในสมัยอยุธยาเรียกว่า “ตระชน” ก็มี”ศรีชน”ก็มี การที่เปลี่ยนจาก “สุชล”เป็น “สิชล” มีคำบอกเล่ากระแสหนึ่งว่า เกิดขึ้นเมื่อครั้งพระรัตนธัชมุนี (ม่วง) เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราชไปตรวจราชการที่สุชลเห็นความสมบูรณ์ของน้ำและน้ำใสจืดสนิท จึงเปลี่ยนชื่อจาก “สุชล” เป็น “สิชล” เมื่อ ร.ศ.116 (พ.ศ. 2440) ได้มีพระราชบัญญัติปกครองท้องที่แบบใหม่ เมืองนครศรีธรรมราชได้จัดส่งหลวงอนุสรสิทธิกรรมออกไปดำเนินจัดตั้งอำเภอขึ้นที่บริเวณใกล้ตัวกับวัดกลาง ตำบลฉลอง (ในปัจจุบัน) หลวงอนุสรสิทธิกรรมตั้งที่ว่าการอำเภอชั่วคราวที่อยู่นั้น จัดแบ่งเขตการปกครองเป็นหมู่บ้าน ตำบล อยู่ราว 2 ปี จึงย้ายไปตั้งที่บริเวณวัดปากแพรก (ตลาดปากแพรก) ซึ่งบริเวณที่คลองท่าเรือรีและคลองเท่าควายไหลมาบรรจบกัน
- วันที่ 14 เมษายน 2472 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช และ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยโอนพื้นที่ตำบลไชยคราม และตำบลดอนสัก จากอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปขึ้นกับอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี[1]
- วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2481 แยกพื้นที่ตำบลขนอม และตำบลท้องเนียน จากอำเภอสิชล ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอขนอม[2] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอสิชล
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลทุ่งปรัง แยกออกจากตำบลสิชล และตำบลฉลอง ตั้งตำบลเปลี่ยน แยกออกจากตำบลเสาเภา และตำบลฉลอง[3]
- วันที่ 30 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลสิชล ในท้องที่หมู่ที่ 1,3 (ในขณะนั้น) ของตำบลสิชล[4]
- วันที่ 15 มกราคม 2500 ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอขนอม อำเภอสิชล จากตำบลท้องเนียน ไปตั้งที่ตำบลขนอม[5]
- วันที่ 26 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลขนอม ในท้องที่บางส่วนของตำบลขนอม[6]
- วันที่ 10 มกราคม 2502 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอขนอม อำเภอสิชล เป็น อำเภอขนอม[7]
- วันที่ 16 กันยายน 2523 ตั้งตำบลสี่ขีด แยกออกจากตำบลสิชล[8]
- วันที่ 7 กรกฎาคม 2524 ตั้งตำบลเทพราช แยกออกจากตำบลเสาเภา[9]
- วันที่ 15 กันยายน 2532 ตั้งตำบลเขาน้อย แยกออกจากตำบลฉลอง[10]
- วันที่ 14 พฤศจิกายน 2538 ตั้งตำบลทุ่งใส แยกออกจากตำบลสิชล[11]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลสิชล เป็นเทศบาลตำบลสิชล[12] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 6 เมษายน 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใส ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลทุ่งใส[13]
การแบ่งเขตการปกครองแก้ไข
การปกครองส่วนภูมิภาคแก้ไข
อำเภอสิชลแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 ตำบล 106 หมู่บ้าน ได้แก่
|
การปกครองส่วนท้องถิ่นแก้ไข
ท้องที่อำเภอสิชลประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลสิชล ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสิชล
- เทศบาลตำบลทุ่งใส ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งใสทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสิชล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสิชล (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลสิชล)
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปรัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งปรังทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลฉลอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฉลองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเสาเภา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสาเภาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเปลี่ยน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเปลี่ยนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสี่ขีด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสี่ขีดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเทพราช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเทพราชทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาน้อยทั้งตำบล
สถานที่ท่องเที่ยวแก้ไข
- หาดสิชล หรือที่ชาวท้องถิ่นเรียกกันว่า "หัวหินสิชล" เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมานานของอำเภอ ชายหาดเป็นแนวหินไปจนจดหาดทรายโค้ง เป็นบริเวณที่เล่นน้ำได้ บนหาดมีที่พักและร้านอาหารสำหรับนักท่องเที่ยว
- หาดหินงาม บริเวณชายหาดเต็มไปด้วยก้อนหินกลมเกลี้ยง มีสีสันสวยงาม และเป็นที่มาของชื่อหาดหินงาม ตลอดแนวชายหาดไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกบริการ
- หาดปิติ เป็นหาดที่ชาวท้องถิ่นนิยมไปพักผ่อน ชายหาดจะต่อจากหาดหินงาม บริเวณโดยรอบได้รับการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านที่พักและร้านอาหาร สำหรับบริการนักท่องเที่ยว การเดินทางโดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 จากอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชประมาณ 70 กิโลเมตร เข้าสู่อำเภอสิชล จากตัวอำเภอสิชล แยกขวาไปทางบ้านปากน้ำ ระยะทาง 3 กิโลเมตร ถึงชายหาดสิชล และจากหาดสิชล ไปอีก 1.5 กิโลเมตร ถึงหาดหินงาม และหาดคอเขา ห่างจากหาดหินงาม 2 กิโลเมตร
- อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด อยู่ที่หมู่ 2 ตำบลสี่ขีด ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4105 ห่างจากหาดสิชลไปทางทิศตะวันตก 15 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็ก ที่เกิดจากภูเขาด้านตะวันตกเปลี่ยนระดับเป็นระยะลดหลั่นเป็นชั้น ๆ ท่ามกลางความสวยงามของร่มไม้กับสายน้ำ นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของอุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งใหม่
- แหล่งโบราณคดีเขาคา อยู่ที่ตำบลเสาเภา ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 จากสี่แยกจอมพิบูลย์ ถึงกิโลเมตรที่ 99 แยกซ้ายเข้าถนนจินดาประชาสวรรค์ ประมาณ 7 กิโลเมตร โบราณคดีเขาคา มีอายุกว่า 1,500 ปี บริเวณเขาคาเป็นศาสนสถานสำคัญในลัทธิไศวนิกาย ซึ่งเคารพนับถือพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นเทพเจ้าสูงสุด มีเขาคาประดุจเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง และมีโบราณสถานเล็ก ๆ กระจายเป็นบริวารโดยรอบ มีการค้นพบโบราณวัตถุที่ใช้พิธีกรรม เช่น ฐานโยนิ (ฐานศิวลึงค์) ศิวลึงค์ท่อโสมสูตร (ท่อน้ำมนต์) ตลอดจนซากโบราณสถานที่เป็นเทวสถาน สระน้ำโบราณ กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะเสร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2540
- ถ้ำทวดสุข อยู่ที่บ้านนาขุด หมู่ที่ 12 ตำบลทุ่งปรัง เป็นถ้ำที่ชาวบ้านในสมัยอยุธยาใช้เก็บพระพุทธรูปเพื่อให้พ้นภัยสงครามพม่า
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ง): 149. April 14, 1929.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอขนอม ขึ้นอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3875. February 20, 1938.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสิชล อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 81-82. May 30, 1956.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (7 ง): 185–186. January 15, 1957.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลขนอม กิ่งอำเภอขนอม อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (10 ง): (ฉบับพิเศษ) 26-27. January 26, 1957.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอชุมพวง อำเภอเชียงยืน อำเภอแก้งคร้อ อำเภอสำโรงทาบ อำเภอคอนสาร อำเภอเซกา อำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอบ้านด่าน อำเภอขนอม อำเภอบ้านแพรก อำเภอกระทู้ และอำเภอคลองใหญ่ พ.ศ. ๒๕๐๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (113 ก): (ฉบับพิเศษ) 8-11. January 10, 1959.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอหัวไทร และอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (144 ง): 3181–3186. September 16, 1980.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนเขตตำบลในท้องที่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (110 ง): 2169–2172. July 7, 1981.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (154 ง): (ฉบับพิเศษ) 262-266. September 15, 1989.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (91 ง): 54–58. November 14, 1995.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999.
- ↑ "เปลี่ยนฐานะจาก องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใส เป็น เทศบาลตำบลทุ่งใส". April 6, 2012.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)
บทความเกี่ยวกับเขตการปกครองของประเทศไทยนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย |