เจ้าพระยาจักรี (หมุด)
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
เจ้าพระยาจักรี หรือ เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ เป็นเจ้าพระยาจักรีคนแรกในแผ่นดินกรุงธนบุรี คนทั้งหลายมักเรียกกันว่า "เจ้าพระยาจักรีแขก" มีชื่อจริงว่า "หมุด" หรือ "มะห์มู๊ด" เป็นมุสลิมเชื้อสายสุลต่านสุลัยมานเป็นบิดาของพระยายมราชเกษตราธิบดี หมัดหรือจุ้ย และพระยาราชวังสัน (หวัง) เป็นทหารเอกคนสำคัญคนหนึ่งของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
เจ้าพระยาจักรี (หมุด) | |
---|---|
เกิด | หมุด พ.ศ. 2270 อาณาจักรอยุธยา |
ถึงแก่กรรม | พ.ศ. 2317 (47 ปี) กรุงธนบุรี อาณาจักรธนบุรี |
สุสาน | กุโบร์ มัสยิดต้นสน |
ตำแหน่ง | สมุหนายก |
วาระ | พ.ศ. 2310 – 2317 |
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อน | พระยาพระคลัง |
ผู้สืบตำแหน่ง | สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก |
บุตร | พระยายมราช พระยาราชวังสัน |
บิดามารดา |
|
ญาติ | สุลต่านสุลัยมาน ชาห์ (ทวด) |
กำเนิด
แก้เจ้าพระยาจักรี เป็นบุตร ขุนลักษมณา (บุญยัง) บุตร พระยาราชวังสัน (หะซัน) บุตร สุลต่านสุลัยมาน เจ้าพระยาจักรี มีมารดาคือ หม่อมดาว
เกิดเมื่อ พ.ศ. 2270 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้ถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาอมรินทร์หรือพระเจ้าเอกทัศน์ ต่อมามีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงศักดิ์นายเวร" หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "หลวงนายศักดิ์"
ร่วมกู้เอกราช
แก้ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาไม่นาน ท่านได้รับพระบรมราชโองการให้เดินทางไปเก็บเงินค่าส่วยสาอากรที่หัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก หลวงนายศักดิ์ได้เก็บเงินจากพระยาจันทบุรีได้เงิน 300 ชั่ง เมื่อได้รับข่าวกรุงแตกจึงเอาเงินไปฝังไว้ที่วัดจันทร์ ตกค่ำจึงวางแผนให้พรรคพวกชาวจีนมาโห่ร้องทำทีปล้นแล้วบอกพระยาจันทบุรีว่า โจรปล้นเงินไปหมด พระยาจันทบุรีไม่เชื่อสั่งให้จับหลวงนายศักดิ์ประจวบกับพระยาตากซึ่งตั้งตนเป็น เจ้าตาก ยกกองทัพถึงจันทบุรี หลวงนายศักดิ์จึงหนีออกไปสมทบเพราะเจ้าตากเคยทำราชการภายใต้บังคับบัญชาของตนจึงรู้จักคุ้นเคยกันมาก่อน หลวงนายศักดิ์ได้มอบจีนพรรคพวกให้ 500 คน กับเงินส่วยสาอากร 300 ชั่งที่เก็บไว้นั้นร่วมกันกับเจ้าตากตีเมืองจันทบุรีแตก
เจ้าตากใช้เงินที่หลวงนายศักดิ์มอบให้จำนวน 300 ชั่ง เป็นเงินทุนจัดสร้างเรือรบขึ้นที่จันทบุรี ประกอบกับหลวงนายศักดิ์เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการเดินเรือและต่อเรือ จึงทำให้สามารถสร้างเรือประมาณร้อยลำ
กองทัพของเจ้าตากสามารถตีเมืองธนบุรีซึ่งพม่ามอบให้นายทองอินปกครองดูแล เมื่อยึดเมืองได้แล้วก็ยกกองทัพไปตีค่ายโพธิ์สามต้นของพม่าซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงศรีอยุธยากองทัพได้รับชัยชนะโดยสามารถฆ่าสุกี้แม่ทัพของพม่าตายในสนามรบทำให้กรุงศรีอยุธยากลับคืนสู่อิสรภาพภายในระยะเวลาเพียง ๗ เดือนหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาซึ่งหนึ่งในบรรดาผู้กอบกู้อิสรภาพก็คือหลวงนายศักดิ์
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จขึ้นครองราชย์และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ในปี พ.ศ. 2311 โปรดเกล้าฯ หลวงนายศักดิ์เป็นอัครมหาเสนาบดีมีบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ ดำรงตำแหน่ง สมุหนายก ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ปกครองดูแลหัวเมืองตั้งแต่เหนือสุดของประเทศจดดินแดนภาคกลางของประเทศ นับเป็นเจ้าพระยาจักรีคนแรกในแผ่นดินกรุงธนบุรี คนทั้งหลายมักเรียกกันว่า "เจ้าพระจักรีแขก"
แม่ทัพคู่พระทัย
แก้ศึกนครศรีธรรมราช
แก้ในปี พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาจักรีฯเป็นแม่ทัพยกทัพไปปราบชุมนุมนครศรีธรรมราช ซึ่งถือว่าเป็นชุมนุมที่เข้มแข็งและมีความสามารถสูง ในการตีเมืองนครศรีธรรมราชนี้ ข้าราชการชั้นสูงที่ร่วมเดินทางในกองทัพได้เสียชีวิตในสนามรบ ซึ่งได้แก่พระยาเพชรบุรีและพระยาศรีพิพัฒน์ กองทัพของเจ้าพระยาจักรีฯไม่สามารถตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ เนื่องจากเมืองนครศรีธรรมราชมีกองกำลังที่เหนือกว่า จึงถอยไปตั้งหลักที่เมืองไชยา กองทัพหลวงซึ่งมีสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จยกทัพมาปราบ เมื่อเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชทราบว่ามีกองทัพของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพมา จึงนำกำลังพลหนีออกจากเมือง แล้วไปหลบซ่อนอยู่ที่ปัตตานี เมื่อกองทัพของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมาถึงนครศรีธรรมราชก็สามารถตีกองทัพซึ่งรักษาเมืองนครศรีธรรมราชได้ พระองค์ทรงมีบัญชาให้เจ้าพระยาจักรีออกติดตามหาตัวเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งท่านก็สามารถติดตามนำตัวมาถวายได้เป็นผลสำเร็จ
โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรีซึ่งแต่งโดยนายสวน มหาดเล็ก เมื่อปี พ.ศ. 2414 ได้กล่าวถึงเจ้าพระยาจักรี สมุหนายก ไว้ตอนหนึ่งว่า
ฝ่ายหมู่มุขมาตย์เฝ้า | บริบาล | |
ชาญกิจชาญรงค์ชาญ | เลิศล้วน | |
สมุหกลาโหมหาญ | หาญยิ่ง | |
นายกยกพจน์ถ้อย | ถี่ถ้อยขบวนความ |
สงครามกัมพูชา
แก้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯให้ยกทัพไปปราบกัมพูชาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2314 โดยมีเจ้าพระยาจักรี (หมุดหรือแขก) เป็นแม่ทัพเรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาจักรีและพระยาทิพโกษาทำค่ายน้ำสองฝากของเมืองพุทไธมาศ ต่อมาโปรดเกล้าฯให้กองทัพเข้าปล้นเอาเมืองพุทไธมาศในเวลากลางคืนตอนเที่ยงคืน กองทัพไทยทั้งทัพบกและทัพเรือโหมตีเอาเมืองพุทไธมาศ ฝ่ายกองทัพพระยาราชาเศรษฐีเมืองพุทไธมาศไม่สามารถสู้ได้จึงหนีเอาตัวรอด ส่วนพระยาราชาเศรษฐีก็หนีออกจากเมืองไปทางทะเล
หลังจากนั้น กองทัพบกของพระยายมราชยกเข้าตีเมืองพระตะบอง เมืองโพธิสัตว์และเมืองบริบูรณ์ได้เป็นผลสำเร็จ จากนั้นก็ได้ยกเข้าไปจะตีเมืองพุทไธเพชร แต่เจ้าพระยาจักรีตีได้เมืองพุทไธเพชรก่อนแล้ว องค์พระอุไทยราชานำทัพออกสู้รบด้วยแต่ไม่สามารถต้านทานได้ จึงนำไพร่พลบริวารหนีไปตั้งทัพที่บาพนม หลังจากนั้นเจ้าพระยาจักรีนำกองกำลังตั้งอยู่ที่เมืองพุทไธเพชร มอบให้องค์พระรามาธิบดีอยู่รักษาเมืองพุทไธเพชร ส่วนเจ้าพระยาจักรีได้เดินทางลงมาเฝ้าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่เกาะพนมเพญ แล้วเลยไปเมืองบาพนมเพื่อติดตามจับองค์พระอุไทยราชา แต่ไม่อาจจับตัวได้ เพราะพวกญวนเมืองลูกหน่ายมาจับตัวองค์พระอุไทยราชาหนีไปเมืองญวน ชาวเมืองบาพนมเข้าสวามิภักดิ์โดยดีไม่มีการสู้รบกัน ต่อจากนั้นเจ้าพระยาจักรีก็ยกทัพกลับมาเฝ้าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่เกาะพนมเพญ ต่อมาองค์พระรามาธิบดีได้ลงมาเฝ้าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์ได้โปรดให้องค์พระรามาธิบดีไปครองเมืองพุทไธเพชร และมีพระดำรัสให้พระยายมราช (ทองด้วง) และพระยาโกษาไปช่วยราชการที่เมืองพุทไธเพชรจนกว่าจะสงบราบคาบ หลังจากเสร็จศึกที่กัมพูชาแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดเกล้าฯ พระราชทานญวนข้างในซึ่งเป็นบุตรสาวของพระยาราชเศรษฐีเจ้าเมืองพุทไธมาศแก่แม่ทัพที่ร่วมในสงครามครั้งนี้ ซึ่งเจ้าพระยาจักรีก็ได้รับพระราชทานด้วย โดยให้โขลนนำไปพระราชทานถึงเรือน
ชีวิตครอบครัว
แก้เจ้าพระยาจักรี (หมุดหรือแขก) มีบุตร 3 คน คือ พระยายมราชเกษตราธิบดี (หมัดหรือจุ้ย), พระยาราชวังสัน (หวัง) ซึ่งเป็นคุณตาของสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และคนที่ 3 คือ ลักษมณา ผู้ถูกกองทัพเมืองนครศรีธรรมราชจับตัวไปในคราวที่เจ้าพระยาจักรี (หมุด) ยกทัพไปตีเมืองนครศรีธรรมราชในปี พ.ศ. 2312
สายสกุลของเจ้าพระยาจักรีนี้ เป็นสายสกุลใหญ่ฝ่ายอิสลาม ที่สืบเชื้อเป็นสายสกุลที่มีความสัมพันธ์กับราชินีกูลทาง กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย (เจ้าจอมมารดาเรียม) พระราชชนนีใน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สายสกุลนี้ประกอบด้วย : ชลายนเดชะ สมุทรานนท์ สมุทรโคจร สุเทพากร ณรงค์ภักดี ชื่นภักดี โยธาสมุทร แสงวณิชย์ สิทธิวณิชย์ มหฤดีวรรณ มุขตารี มานะจิตต์ กลัดไวยเนตร กัลยาณสุต เกสพานิช ภู่มาลี ท้วมประถม ทองคำวงศ์ ศรีวรรณยศ ศิริสัมพันธ์ ฯลฯ
บั้นปลายชีวิต
แก้เจ้าพระยาจักรี (หมุดหรือแขก) ถึงอสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2317 โดยในวันฝังศพของท่านที่สุสานมัสยิดต้นสน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จฯมาร่วมพิธีฝังศพ ทรงปลูกต้นลั่นทมและโปรดเกล้าฯพระราชทานที่ดินเพิ่มเติมให้แก่มัสยิดต้นสนเพื่อขยายขอบเขตของสุสาน หรือ กุโบร์
พวกญาติพี่น้องสายเจ้าพระยาจักรี (หมุด) อยู่ใกล้กับวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร เรียกกันว่า "แพ" หรือ "แขกแพ" ไม่ห่างไกลจากวัดหนัง อันเป็นเขตที่อยู่อาศัยของ พวกญาติพี่น้องพระยาพัทลุง (ขุน) ผู้เป็นญาติสนิท
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของเจ้าพระยาจักรี (หมุด) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ภัทระ คาน. สุสานประวัติศาสตร์ 3 สมัย. ใน . กทม. จิรรัชการพิมพ์. 2544