พระศิวะ
พระศิวะ หรือ พระอิศวร (สันสกฤต: शिव; อังกฤษ: Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ได้แก่ พระพรหมและพระวิษณุ) พระศิวะ ทรงมีพระลักษณะมีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาลย์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่นและแม่คงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีตาที่สามกลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่จะบันดาลให้ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่[7]
พระศิวะ | |
---|---|
พลังงานสูงสุด, การทำสมาธิ, ศิลปะวิทยาการ, โยคะ, กาลเวลา, การทำลาย, นาฏกรรม, เทวะแห่งเทวะ, เทพผู้ทรงทำลายล้างปิศาจ | |
ส่วนหนึ่งของ พระตรีมูรติ | |
![]() | |
ชื่ออื่น | มเหศะ, Shankara, พลนาถ, Neelkanth, มหาเทพ |
ชื่อในอักษรเทวนาครี | शिव |
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤต | Śiva |
ส่วนเกี่ยวข้อง | ปรพรหมัน (ไศวะ), ตรีมูรติ, ปรมาตมัน, อีศวร |
วิมาน | เขาไกรลาศ[1] |
มนตร์ | โอม นมัส ศิวายะ |
อาวุธ | Pashupatastra, ตรีศูล, Parashu-Axe, Pinaka bow[2] |
สัญลักษณ์ | ศิวลึงค์,[2] ตรีศูล, จันทร์เสี้ยว, บัณเฑาะว์ |
พาหนะ | โคนนทิ[3] |
เทศกาล | Shraavana, มหาศิวาราตรี, Ekadashi, Kartik Purnima, Bhairava Ashtami[4] |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | พระปารวตี (พระแม่ทุรคา, พระสตี, พระแม่กาลี, พระอาทิปราศักติ) |
บุตร - ธิดา | พระพิฆเนศ, พระขันทกุมาร, อโศกสุนทรี ตามความเชื่อพื้นเมือง: Ayyappa[5][6] |
ทรงมีพระพาหนะคือโคนนทิ (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีพระชายาคือพระปารวตี มีโอรส 2 องค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ทรงประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี
พระศิวะมีตำนานอันเป็นต้นแบบการร่ายรำของเทพเจ้า ทำให้ทรงมีพระนามว่า "พระนาฏราช" (พระนาฏรายัร) เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน
นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" และมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน"[8] และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย [9]
นอกจากนี้ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้พิษนาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก[10] ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ[11]
ในความเชื่อแบบศรีลังกานั้นเชื่อว่าพระศิวะมีพระพาหนะเป็นนกยูง และทรงเป็นเทพเจ้าองค์ปกปักษ์รักษาพระพุทธศาสนา
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อZimmer 1972 p. 124
- ↑ 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อFuller
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อJavidd2008
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อdalal137
- ↑ Joanna Gottfried Williams (1981). Kalādarśana: American Studies in the Art of India. BRILL Academic. p. 62. ISBN 90-04-06498-2.
- ↑ Denise Cush; Catherine A. Robinson; Michael York (2008). Encyclopedia of Hinduism. Routledge. p. 78. ISBN 978-0-7007-1267-0.
- ↑ ไฟบรรลัยกัลป์ แปลว่า
- ↑ ตำนานพระศิวะ
- ↑ "พระศิวะ". พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. สืบค้นเมื่อ 10 June 2014.
- ↑ จากพันทิปดอตคอม
- ↑ 2555 กามนิต : ต้นกำเนิดนวนิยายอิงพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: พระศิวะ |