พระไภรวะ (สันสกฤต: भैरव; การถอดรูปเป็นอักษรไทยบางครั้งอาจเขียนเป็น "ไภรพ") หรือ พระศิวะปางดุร้าย เป็นปางหนึ่งของพระศิวะ ซึ่งชาวไทยเรียกว่า "พระพิราพ" ซึ่งเป็นครูในนาฏกรรม ปรากฏในนิกายตันตระ

พระไภรวะ
ส่วนเกี่ยวข้องพระรุทร, พระศิวะ
มนตร์Om Shri Kaal Bhairavaya Namaha
อาวุธตรีศูล, Khaṭvāṅga,ดาบ, กปาละ, เคียว, บ่วงบาศก์, วัชระ, สาก, กลองฑมรุ ปาศุปตาสตระ
พาหนะขาล
เทศกาลBhairava Ashtami
คู่ครองพระแม่ไภรวี, พระแม่กาลี

สาเหตุที่ทำให้มีลักษณะที่น่ากลัว เนื่องจากจะทำให้ศาสนิกเกรงกลัวพลอำนาจของเทพเจ้า พระศิวไภรพนั้นมีอยู่มี 2 แบบ คือ

  • กาฬไภรพ ชาวเนปาล เรียกว่า "กาฬไภราพ" ผิวกายเป็นสีดำ สวมเครื่องประดับสีแดงและเหลือง มีสีแดงที่คนเอามาป้ายทาต่างเลือดสังเวยเปรอะทั้งองค์ พระเนตรของพระองค์โปนถลน เขี้ยงโง้ง พระหัตถ์ทั้ง 6 ถือดาบและอาวุธต่าง ๆ รวมทั้งหัวคนด้วย เชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์ สามารถลงโทษคนพูดเท็จให้เลือดออกจนตายได้ เวลาจะสาบานอะไร ต้องมาสาบานที่กาฬไภรพ
  • เศวตไภรพ ชาวเนปาล เรียกว่า "เสโตไภราพ" เป็นแบบเดียวกับกาฬไภรพ แต่แตกต่างกับกาฬไภรพตรงที่ เศวตไภรพนี้ผิวกายจะเป็นสีขาว

บางคนเข้าใจกันว่ากาฬไภรพ และเศวตไภรพ เป็นองค์เดียวกับพระแม่กาลี เพราะเห็นความดุร้าย แยกเขี้ยวยิงฟัน และมีการนำเลือดมาสังเวย แต่ความจริง ไภรพ ก็คือพระนามของพระศิวะปางดุร้าย

กาศีลิงคพิราปปา

แก้

กาศีลิงคพิราปปา เป็นไภรวะปางที่มีผู้นับถือมากในพาราณสี เป็นปางดุของพระศิวะที่ตัดเศียรที่ห้าของพระพรหม หลังจากนั้นไภรวะต้องใช้บาปด้วยเป็นขอทาน มีศีรษะพระพรหมเป็นบาตรติดมือไป จนมาถึงเมืองพาราณสี ศีรษะพระพรหมหลุดจากมือ พระไภรวะจึงเป็นเทพประจำเมืองพาราณสี มีหน้าที่กินบาปของผู้นำเนื้อดิบกับเหล้ามาเซ่นสังเวย ชาวพาราณสีสร้างรูปเคารพของท่านเป็นเสาแบบหลักประหาร มีหัวยักษ์อยู่บนยอด ในบันทึกระบุว่าเมื่ออังกฤษเข้ายึดพาราณสีนั้น ชาวบ้านยังเซ่นเสานี้โดยการเชือดคนและควายบูชา ในเนปาลมีการบูชาเทพลักษณะนี้เช่นกัน แต่ใช้การเชือดแพะบูชา และยังทำต่อมาถึงปัจจุบัน คำว่าพิราปปานี้ ในรามเกียรติ์เรียกว่าพระพิราพหรือพระพิราพป่า และเป็นเทพที่นักดนตรีเคารพบูชากันมาก

พระศิวะปางไภรวะนี้จะคู่กับพระแม่ไภรวีหรือพระแม่ปารวตีซึ่งเป็นอวตารของพระแม่อธิศักติเป็นหนึ่งในสิบของ พระแม่ทศมหาวิทยา ทั้งสิบองค์ (ตามความเชื่อของลัทธิศักติ) หรือนิกายตันตระ เป็นเทพที่ทำลายความชั่วร้ายทั้งปวง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับพระแม่กาลีซึ่งเป็นปางดุร้ายเช่นกัน[1]

อ้างอิง

แก้
  1. ไมเคิล ไรท์. ฝรั่งคลั่งผี. กทม. : มติชน, 2550. หน้า 257 - 258.

ดูเพิ่ม

แก้