ในประติมานวิทยาฮินดู มุขลึงค์ (แปลตรงตัวว่า ลึงค์ที่มีใบหน้า, mukhaliṅga) เป็นรูปเคารพลึงค์รูปแบบหนึ่งที่ปรากฏใบหน้ามนุษย์ (คือเทพเจ้า) บนลึงค์ อาจมีหน้าเดียวหรือหลายใบหน้าก็ได้ โดยลึงค์นั้นถือเป็นรูปเคารพแบบไม่แสดงรูป (aniconic) ของพระศิวะ การสร้างมุขลึงค์มีทั้งการสลักลงไปในลึงค์และนำมาครอบลึงค์เดิม

เอกมุขลึงค์ (มุขลึงค์ที่มีสลักหนึ่งพักตร์) สมัยคุปตะ
จตุรมุขลึงค์ (มุขลึงค์ที่มีสลักสี่พักตร์)

โดยทั่วไปมักพบจำนวนใบหน้าบนมุขลึงค์เท่ากับ 1 หน้า (เอกมุขลึงค์), 4 หน้า (จตุรมุขลึงค์) หรือ 5 หน้า (ปัญจมุขลึงค์) โดยทั่วไป จตุรมุขลึงค์นั้นไม่ได้นับรวมใบหน้าที่ 5 บนยอดสุดของลึงค์ ลักษณะของจุตรมุกขลึงค์และปัญจมุขลึงค์นั้นมักหมายถึงพระศิวะ 5 ปาง หรืออาจะหมายถึงธาตุทั้ง 5 และ ทิศหลักทั้ง 5 ด้วย[1]

อ้างอิง แก้

  1. ALAYAM : The Hindu Temple;An Epitome of Hindu Culture; G.Venkataramana Reddy; Published by Adhyaksha; Sri Ramakrishna Math; ISBN 978-81-7823-542-4; Page 46