กำธร พุ่มหิรัญ
พลเรือเอก กำธร พุ่มหิรัญ (ชื่อเล่น: ติ๊ด) เกิดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เป็นบุตรของนายอรุณ พุ่มหิรัญ อดีตรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตราชองครักษ์พิเศษ [1] กับนางนันทนา พุ่มหิรัญ จบการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี โรงเรียนอำนวยศิลป์พระนคร โรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 10 (ตท.10) โรงเรียนนายเรือรุ่นที่ 67 โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือรุ่นที่ 45 วิทยาลัยการทัพเรือรุ่นที่ 29 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 46 และหลักสูตรจากต่างประเทศอีก 4 หลักสูตร
กำธร พุ่มหิรัญ | |
---|---|
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
ผู้บัญชาการทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 30 กันยายน พ.ศ. 2554 | |
ก่อนหน้า | พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ |
ถัดไป | พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 มิถุนายน พ.ศ. 2494 |
คู่สมรส | ดวงพร พุ่มหิรัญ |
การทำงาน
แก้กำธร พุ่มหิรัญ รับราชการเป็นผู้บังคับบัญชาจากระดับล่างไปจนถึงผู้อำนวยการกอง ผู้ช่วยทูตทหารเรือ รองเจ้ากรมยุทธการทหารเรือ ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ และเป็นประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ ได้รับการแต่งตั้งเป็นราชองครักษ์พิเศษ เมื่อ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2547[2]พล.ร.อ.กำธร ถือเป็นแกนนำเตรียมทหารรุ่น 10 อีกคนหนึ่ง ชีวิตส่วนตัวสมรสกับนางดวงพร พุ่มหิรัญ มีบุตรชาย 1 หญิง 3
เป็นคนสนิทของ พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือคนก่อนหน้านี้ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารเรือเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 หลังจากที่ พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกษียณอายุราชการไป
ในปี พ.ศ. 2552 เขาเป็นผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.)ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552 ในเหตุการณ์ ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552[3]
การกีฬา
แก้พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ เป็นนายกสมาคมเรือพายแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2550 และเป็น กรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย วาระปี พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2556[4] และยังเป็นนายกสมาคมแข่งเรือใบแห่งประเทศไทยอีกด้วย
การเมือง
แก้หลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 แล้ว นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ปรากฏข่าวว่า พล.ร.อ.กำธร ซึ่งจะเกษียณอายุราชการในปลายเดือนกันยายน ปีเดียวกันนี้ เป็นผู้ที่มีรายชื่อที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมด้วย[5] แต่ในที่สุดตำแหน่งนี้ก็เป็นของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม
ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[9]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[10]
- พ.ศ. 2552 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ ได้รับการแต่งตั้งเป็นราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ ผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.)ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552
- ↑ "คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-26. สืบค้นเมื่อ 2010-12-04.
- ↑ จับตา"พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ"ทิ้งผบ.ทร.นั่งกลาโหม
- ↑ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๒๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒๗, ๑๙ กันยายน ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๘, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๓, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔
- ↑ Ministry of Defence Singapore. Royal Thai Army Chief Receives Prestigious Military Award. เมื่อ 18 สิงหาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ก่อนหน้า | กำธร พุ่มหิรัญ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ | ผู้บัญชาการทหารเรือ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 30 กันยายน พ.ศ. 2554) |
พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ |