ชัยชาญ ถาวรเวช
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช (อังกฤษ: Asst. Prof. Chaicharn Thavaravej) อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 18 (13 มีนาคม พ.ศ. 2556 – 12 มีนาคม พ.ศ. 2560 และ 26 กันยายน พ.ศ. 2562 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2565) สมรสกับนางรัชฎา ถาวรเวช (อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย)
ชัยชาญ ถาวรเวช | |
---|---|
อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร | |
ดำรงตำแหน่ง 13 มีนาคม พ.ศ. 2556 – 12 มีนาคม พ.ศ. 2560 | |
ดำรงตำแหน่ง 26 กันยายน พ.ศ. 2562 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 มกราคม พ.ศ. 2494 ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | นางรัชฎา ถาวรเวช |
ประวัติการศึกษา
แก้- พ.ศ. 2499 โรงเรียนอรุโณทัย จังหวัดลำปาง
- พ.ศ. 2503 โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง จังหวัดลำปาง
- พ.ศ. 2509 โรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร
- พ.ศ. 2516 ปริญญาตรี สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2524 ปริญญาโท สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา
ประวัติการรับราชการ
แก้- พ.ศ. 2525 – 2554 อาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2539 – 2543 คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร[1]
- พ.ศ. 2544 – 2547 รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2547 – 2555 คณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร[2][3]
- พ.ศ. 2555 – 2556 รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2556 – 2560 อธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร[4]
- พ.ศ. 2562 รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2556 – 2565 อธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร[5]
ตำแหน่งทางวิชาการ
แก้รางวัลที่ได้รับ
แก้- พ.ศ. 2526 ชนะการประกวดแบบอาคารอนุสรณ์สถานแห่งชาติ กองบัญชาการทหารสูงสุด ปทุมธานี (สถาปนิกผู้ร่วมคณะทำงานการประกวดแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร)
- พ.ศ. 2536 ชนะการประกวดแบบโครงการตกแต่งภายใน ระยะที่ 2 หอไทยนิทัศน์ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพฯ (หัวหน้าคณะออกแบบ บริษัท ซีริน อาคิเตกส์)
- พ.ศ. 2557 รางวัลสถาปนิกดีเด่น สาขาบุคคลที่ได้รับความสำเร็จในงานด้านราชการหน่วยงาน ภาครัฐ จาก สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
ประสบการณ์การทำงาน
แก้งานด้านบริหาร
แก้- พ.ศ. 2527 – 2531 เลขานุการภาควิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2531 – 2535 หัวหน้าภาควิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2537 – 2538 กรรมการประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2539 – 2543 คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2544 – 2547 รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2544 – 2547 กรรมการสภา มหาวิทยาลัยศิลปากร (รองอธิการบดี)
- พ.ศ. 2544 – 2547 อนุกรรมการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (รองอธิการบดี)
- พ.ศ. 2544 – 2547 กรรมการบริหารงานบุคคล พนักงาน มหาวิทยาลัยศิลปากร (รองอธิการบดี)
- พ.ศ. 2544 – 2547 ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐประจำ มหาวิทยาลัยศิลปากร (CIO)
- พ.ศ. 2546 – 2547 รักษาราชการแทนคณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร[6][7]
- พ.ศ. 2546 – 2547 กรรมการบริหาร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร (SUIC)
- พ.ศ. 2547 – 2555 คณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2551 – 2554 กรรมการสภา มหาวิทยาลัยศิลปากร ประเภทผู้บริหาร (คณบดี)
- พ.ศ. 2552 – 2556 กรรมการสภา สถาบันรัชต์ภาคย์
- พ.ศ. 2556 – 2560 อุปนายกสภา มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์และศิลปกรรมแห่งชาติ ในสังกัด วิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ หรือ “ธัชชา” ประเทศไทย (Thailand Academy of Social Sciences, Humanities and Arts: TASSHA) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ข้อวิพากษ์วิจารณ์
แก้เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2565 ผศ.ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี อาจารย์ประจำคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้โพสต์ภาพของอธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งซึ่งแอบถ่ายภาพของแอร์โฮสเตสซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่บนเครื่องบิน โดยเนื้อหาของโพสต์นั้นมีลักษณะคุกคามทางเพศและในภายหลังได้มีการเปิดเผยว่าผู้ที่เป็นเจ้าของโพสต์ดังกล่าวคือผศ.ชัยชาญ ถาวรเวช ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมและรุกล้ำความเป็นส่วนตัว[8] ในเวลาต่อมามีการเรียกร้องจากองค์กรด้านสิทธิสตรีเพื่อให้สภามหาวิทยาลัยศิลปากรทำการสอบสวนเรื่องราวที่เกิดขึ้น[9] รวมไปถึงคณาจารย์ประจำและศิษย์เก่าก็มีการรวบรวมรายชื่อเพื่อให้สภามหาวิทยาลัยดำเนินการตรววจข้อสอบข้อเท็จจริงต่อไป และในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ผศ.ชัยชาญได้ลาออกจากตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรเพื่อแสดงความรับผิดชอบกับเหตุการณ์ดังกล่าว[10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[11]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[12]
- พ.ศ. 2550 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 235/2539 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2539
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 1225/2547 ลงวันที่ 8 กันยายน 2547
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 1423/2551 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2551
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐ ตอนพิเศษ ๓๕ ง หน้า ๗ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๖
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 306/2546 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2546
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 926/2546 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2546
- ↑ matichon (2022-04-27). "โซเชียลถล่ม อธิการ ม.ดัง ถ่ายรูปแอร์โฮสเตส บอก 'ฝากน้องๆ ให้เขาน้ำลายไหล'". มติชนออนไลน์.
- ↑ matichon (2022-04-30). "21 องค์กรสตรี ยื่น 'สภามหา'ลัย-รมว.อว.' สอบอธิการฯ ม.ศิลปากร ปมแอบถ่ายแอร์ ชี้นิ่งเฉยเท่ากับสนับสนุน". มติชนออนไลน์.
- ↑ Bhattarada (2022-05-02). "อธิการบดีศิลปากร "ลาออก" รับผิดชอบข่าวฉาว ถ่ายรูปแอร์โฮสเตสบนเครื่องบิน". ประชาชาติธุรกิจ.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๒๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๔๔, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๔๓, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๑
ก่อนหน้า | ชัยชาญ ถาวรเวช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อุทัย ดุลยเกษม | อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 18 (13 มีนาคม พ.ศ. 2556 – 12 มีนาคม พ.ศ. 2560) |
วันชัย สุทธะนันท์ |