ก่อแก้ว พิกุลทอง

ก่อแก้ว พิกุลทอง (เกิด 27 มีนาคม พ.ศ. 2508) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) อดีตรักษาการผู้อำนวยการองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) และอดีตเจ้าหน้าที่บริหารสำนักงานเลขาธิการพรรคไทยรักไทย

ก่อแก้ว พิกุลทอง
ก่อแก้ว ในปี พ.ศ. 2551
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2567
(0 ปี 71 วัน)
ก่อนหน้าสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 มีนาคม พ.ศ. 2508 (59 ปี)
อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติไทย (2529–2531,2539–2543)
มวลชน (2531–2539)
ไทยรักไทย (2543–2549)
ประชาราช (2550–2551)
พลังประชาชน (2551)
เพื่อไทย (2551–2561,2565–ปัจจุบัน)
ไทยรักษาชาติ (2561–2562)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
น.ป.ช.

ประวัติ

แก้

ก่อแก้ว พิกุลทอง เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2508 ที่อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา จบการศึกษามัธยมปลายจาก โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย เคยสอบได้ที่ 1 ของภาคใต้ ในการสอบแข่งขันของสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย ทั้งประเภทบุคคลและประเภททีม เมื่อปี พ.ศ. 2526[1] จบปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (เกียรตินิยม) เมื่อ พ.ศ. 2531 และจบปริญญาโท ด้านการบริหารธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (เกียรตินิยม) เมื่อ พ.ศ. 2542 ในระหว่างศึกษาที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้รับเลือกให้เป็นประธานนักศึกษาปริญญาโท

องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์

แก้

นายก่อแก้ว พิกุลทอง ได้รับการแต่งตั้งจาก นายภูมิธรรม เวชยชัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ให้เป็นกรรมการและรักษาการผู้อำนวยการ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) เมื่อสิงหาคม พ.ศ. 2548 เพื่อทำหน้าที่ศึกษาความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาของ ร.ส.พ. ที่ขาดทุนมานานเกือบ 20 ปี หลังจากเข้าไปทำงานศึกษาพิจารณาข้อมูลรอบด้านแล้ว ได้เสนอ 2 ทางเลือกให้คณะกรรมการพิจารณา คือ ฟื้นฟูกิจการอย่างเบ็ดเสร็จ หรือปิดกิจการ ในที่สุดคณะกรรมการฯ มีมติให้ปิดกิจการรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินกิจการมากว่า 59 ปี และเป็นการปิดกิจการรัฐวิสาหกิจที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยปิดกิจการมา (มีพนักงานประมาณ 1,600 คน) ในระหว่างที่กำลังจะปิดกิจการ ได้มีการต่อต้านจากพนักงานที่ไม่เห็นด้วยประมาณ 200 คน อย่างต่อเนื่อง นานนับเดือน แต่สามารถประคับประคองให้การปิดกิจการเป็นไปอย่างเสียหายน้อยที่สุด

บทบาทการเมือง

แก้

ก่อแก้ว พิกุลทอง เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารสำนักงานเลขาธิการพรรค และหลังจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ได้รับการชักชวนจากจตุพร พรหมพันธุ์ และณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ให้ร่วมจัดรายการด้านเศรษฐกิจที่พีทีวี แต่ไม่เคยได้จัด เพราะสถานีไม่เคยได้รับอนุญาตจากรัฐบาลในขณะนั้นให้ออกอากาศได้ จึงไปเป็นแกนนำร่วมกับบุคคลอื่นในการต่อต้าน คมช. ที่ท้องสนามหลวงแทน

ต่อมาในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ได้อนุญาตให้สถานีโทรทัศน์ NBT ออกอากาศรายการความจริงวันนี้ ก่อแก้วจึงได้มีโอกาสร่วมรายการเป็นพิธีกรรับเชิญแทนพิธีกรคนอื่นที่ติดภารกิจ ก่อแก้ว เป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[2] และเคยจัดรายการมหาประชาชน และรายการความจริงวันนี้ ทางสถานีประชาชน People's Channels อยู่บ่อยครั้ง ต่อมาในการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 6 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 แทนนายทิวา เงินยวง จากพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเสียชีวิตลงนั้น นายก่อแก้ว พิกุลทอง ได้รับเลือกจากพรรคเพื่อไทย เป็นตัวแทนของพรรคสมัครรับเลือกตั้งในเขตดังกล่าว[3] ผลปรากฏว่าได้คะแนนเสียงเป็นอันดับ 2 รองจากพนิช วิกิตเศรษฐ์ ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์[4]

ในการเลือกตั้งทั่วไป 3 กรกฎาคม 2554 นายก่อแก้ว สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 54[5] และได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 47[6]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย หลังการเลือกตั้งดังกล่าวคะแนนระบบบัญชีรายชื่อไม่เพียงพอที่จะทำให้เขาเป็น ส.ส. ในระยะแรก แต่เมื่อสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เขาจึงได้รับการเลื่อนบัญชีรายชื่อเป็น ส.ส.[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "เป็นคนเรียนหนังสือดี แต่ประสบการณ์ทางการเมืองด้อยชั้นกว่า 3 เกลอ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2009-04-03.
  2. "ดารา-เสื้อแดงแห่ลงสมัครส.ส.พท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-28. สืบค้นเมื่อ 2009-09-19.
  3. ในที่สุดก็เคาะชื่อสุดท้าย
  4. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. คนใช้สิทธิแค่49.55% 'พนิช'เฉือนชนะ'ก่อแก้ว' เก็บถาวร 2010-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เข้าถึง 26-07-2553.
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  6. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  7. "ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นายก่อแก้ว พิกุลทอง พรรคเพื่อไทย)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๓๘, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๗๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้