คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ชื่อย่อ คมช. (Council of National Security - CNS) เป็นคณะบุคคลที่แปรสภาพมาจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งได้กระทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศไทยสำเร็จเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 คณะมนตรีฯ บัญญัติขึ้นตามมาตรา 34 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 มีหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงแห่งชาติ ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรี ประธานสภา และรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ รวมทั้งยังสามารถประชุมร่วมกับนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีได้ด้วย โดยอำนาจหน้าที่เหล่านี้ มีในบทบัญญัติ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549
ก่อนหน้า | คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข |
---|---|
ก่อตั้ง | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 |
ยุติ | 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 |
ประเภท | คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง |
สํานักงานใหญ่ | กองบัญชาการกองทัพบก |
ประธาน | พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข (รักษาการ) |
บุคลากรหลัก |
|
สมาชิก
แก้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ประกอบด้วยบุคคลตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 24 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2549 หรืออาจแต่งตั้งเพิ่ม จำนวนรวมทั้งหมดไม่เกิน 15 คน คือ
- หัวหน้า คปค. เป็น ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
- รองหัวหน้า คปค. เป็น รองประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
- สมาชิก คปค. เป็น สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
- เลขาธิการ คปค. เป็น เลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
- ผู้ช่วยเลขาธิการ คปค. เป็น รองเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ชุดล่าสุด ประกอบด้วย
- พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข รักษาการ ประธาน คมช. (เนื่องจากพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ลาออกจาก ประธาน คมช เป็น รองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2550)
- พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ สมาชิก คมช.
- พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ สมาชิก คมช.
- พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส สมาชิก คมช.
- พลเอก วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการ คมช.
- พลเอก สพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วยเลขาธิการ คมช.
- พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วยเลขาธิการ คมช.
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ได้มีประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2549 กำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ คณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า "กคส." และประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติได้มีคำสั่งที่ 8/2549 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (กดส.) ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2549 เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ มีหน้าที่และความรับผิดชอบตามประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ลง 19 ตุลาคม พ.ศ. 2549 โดยให้หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐให้การสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุดนี้ นอกจากนั้นยังกำหนดให้สำนักงานเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร อำนวยความสะดวกและให้การสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุดนี้ด้วย
สิ้นสุดวาระ
แก้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาตินำโดย พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข แถลงข่าวจบภารกิจเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยกล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยกลับสู่สภาวะปกติอย่างสมบูรณ์ตามระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2550 คมช.จึงขอจบภารกิจ พร้อมทั้งขอขอบคุณประชาชนทุกคน ในโอกาสที่ คมช.สิ้นสุดหน้าที่ และฝากความหวังไว้กับรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งให้ทำทุกอย่างภายใต้เจตนารมณ์ แก้ไขปัญหาประเทศชาติ[1]
ข้อวิพากษ์วิจารณ์
แก้สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพข่าว
แก้- รายการข่าว ของ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ที่อยู่ในความดูแลของกลุ่มบริษัทชินคอร์ป ได้ยุติการแพร่ภาพ การสัมภาษณ์ นายนวมทอง ไพรวัลย์ กลางคัน หลังได้รับโทรศัพท์ จาก พล.ท.วุฒิชัย พรพิบูลย์ ผู้อำนวยการ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 [2]
- สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น และ เว็บไซต์ของสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ที่ถ่ายทอด และเผยแพร่ เนื้อหาการสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2550ซึ่งมีข้อกล่าวหาว่า ทางพ.ต.ท.ทักษิณอาจจะซื้อเวลาเพื่อให้สัมภาษณ์ตนเองนั้น ถูกระงับการเผยแพร่ภาพชั่วคราวเพื่อไม่ให้พ.ต.ท.ทักษิณ มีพื้นที่ในการสื่อสารกับประชาชน [3][4]
อ้างอิง
แก้- ↑ กลับสู่สภาวะปกติอย่างสมบูรณ์ตามระบอบประชาธิปไตย
- ↑ The Nation, Taxi driver 'sacrificed himself for democracy' เก็บถาวร 2007-01-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
- ↑ "Thai generals pull plug on Thaksin CNN interview". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-25. สืบค้นเมื่อ 2007-01-25.
- ↑ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (มาตรา 298)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-08. สืบค้นเมื่อ 2017-08-14.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ก่อนหน้า | คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) (19 กันยายน - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549) |
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551) |
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) (22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562) |