สถิรพันธุ์ เกยานนท์

พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือของไทยคนแรกที่เกิดภายใต้พระบรมโพธิสมภารในรัชกาลที่ 9 และอดีตรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) คนที่ 2 อดีตราชองครักษ์พิเศษ [1]

สถิรพันธุ์ เกยานนท์
ผู้บัญชาการทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 – 30 กันยายน พ.ศ. 2551
ก่อนหน้าพลเรือเอก สามภพ อัมระปาล
ถัดไปพลเรือเอก กำธร พุ่มหิรัญ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 ธันวาคม พ.ศ. 2490 (76 ปี)
คู่สมรสพรเพ็ญ เกยานนท์

ประวัติ

แก้

เกิดเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2490 มีชื่อเล่นว่า "อุ๊" เป็นบุตรของ พล.ร.อ. สถาปน์ เกยานนท์ นายกเมืองพัทยา คนแรก และ ม.ร.ว. กระวิก เกยานนท์ การศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ (พ.ศ. 2496 - 2502) ชั้นมัธยมศึกษา ม.4 - ม.6 โรงเรียนเทพศิรินทร์ โดยมีเพื่อนร่วมรุ่น เช่น กนก เหวียนระวี, ปริญญา บุรณศิริ, ดร. พิศิษฐ เศรษฐวงศ์, พล.ต.ต.สุรศักดิ์ หลายพัฒน์, นพ.อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์, นพ.ธงชัย เติมประสิทธิ์ , รศ.สมศักดิ์ วนิชาชีวะ, ร.อ.พินิจ สาหร่ายทอง เป็นต้น โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6 โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 63 โรงเรียนนายทหารเรือชั้นต้น พรรคนาวิน โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง วิทยาลัยการทัพเรือ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ. 4414) หลักสูตรต่างประเทศ Special Investigating Officer ประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตรเรือเร็วโจมตี ประเทศเดนมาร์ก อบรมระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นฮาร์พูน ประเทศสหรัฐอเมริกา NAVAL COMMAND COLLEGE ประเทศสหรัฐอเมริกา

รับราชการ

แก้

ตำแหน่งสำคัญ ผู้บังคับการเรือ ต.91 และเรือ ต.92 กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ ต้นเรือ เรือหลวงปราบปรปักษ์ กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ ต้นเรือ เรือหลวงอุดมเดช กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ รองผู้อำนวยการกองยุทธการ กรมยุทธการทหารเรือ ผู้อำนวยการกองวิทยุสื่อสาร กรมสื่อสารทหารเรือ ผู้ช่วยทูตทหารเรือไทย ประจำกรุงนิวเดลี รองเลขานุการกองทัพเรือ เลขานุการกองทัพเรือ ผู้บัญชาการกองเรือภาคที่ 3 กองเรือยุทธการ รองเสนาธิการทหารเรือ เสนาธิการทหารเรือ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ครอบครัว

แก้

ชีวิตส่วนตัวสมรสกับนางพรเพ็ญ เกยานนท์ มีบุตรชาย 1 คน หญิง 1 คน คือ ลูกเต๋า นางฐิตะวดี เกยานนท์ และ ลูกกอล์ฟ นายฐิติพันธุ์ เกยานนท์ DIRECTOR OF RADIO BUSINESS คลื่น 88.5 และมีหลานชาย 1คน หลานสาว2คน

บทบาททางการเมือง

แก้

ในเหตุการณ์การรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เป็นรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) คนที่ 1 ในฐานะเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ

แต่ในช่วงเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 นั้น พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เป็นตัวแทนของเพื่อนร่วมรุ่นวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 4414 ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามอบดอกกุหลาบให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อเป็นกำลังใจให้เนื่องในโอกาสวันวาเลนไทน์ด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. (คปค.) คนที่ 2 อดีตราชองครักษ์พิเศษ
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑ภ๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๕, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๒๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒๖, ๑๙ กันยายน ๒๕๒๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๑๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
ก่อนหน้า สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ถัดไป
พลเรือเอก สามภพ อัมระปาล    
ผู้บัญชาการทหารเรือ
(1 ตุลาคม พ.ศ. 254830 กันยายน พ.ศ. 2551)
  พลเรือเอก กำธร พุ่มหิรัญ