ทิวา เงินยวง
รองศาสตราจารย์ ทิวา เงินยวง (5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ เป็นมือกฎหมายฝีมือดีคนหนึ่งของพรรคประชาธิปัตย์ [1] และเป็นอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
นายทิวา เงินยวง | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
เสียชีวิต | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553 (59 ปี) กรุงเทพ ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2513—2553) |
คู่สมรส | นางปารณีย์ เงินยวง |
ประวัติ
แก้รองศาสตราจารย์ ทิวา เงินยวง หรือ รองศาสตราจารย์ ดร.ทิวา เงินยวง เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 เป็นบุตรของนายแรม กับนางเฉลียว เงินยวง สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ ระดับปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมดี) และปริญญาเอกทางกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยนิช (NICE) ประเทศฝรั่งเศส (เกียรตินิยมดีมาก) ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางอุไรวรรณ เงินยวง ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น นาง ปารณีย์ เงินยวง มีบุตร-ธิดา 2 คน
การทำงาน
แก้ทิวา เงินยวง เข้าสู่การเมืองโดยการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขต 2 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 7 และเป็นผู้อำนวยการการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ [2] ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกสมัย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550
นอกจากนี้เขายังเคยดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในระหว่างปี พ.ศ. 2545 ถึงปี พ.ศ. 2550[3]
รองศาสตราจารย์ ดร.ทิวา เงินยวง เสียชีวิตด้วยอาการโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ "ทิวา เงินยวง" เย็นพรุ่งนี้[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.thairath.co.th/people/view/pol/5262
- ↑ "หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยรังสิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-06-09.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒๗, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓