เคแบงก์สยามพิฆเนศ

โรงละครในประเทศไทย ของเวิร์คพอยท์

โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ (อังกฤษ: KBank Siam Pic-Ganesha) เป็นโรงละครที่สร้างขึ้นโดยเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ร่วมทุนกับธนาคารกสิกรไทย สำหรับแสดงละครเวทีและจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งของเวิร์คพอยท์เองและศิลปินอื่น ๆ ตั้งอยู่บริเวณชั้น 7 ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ความจุ 1,069 ที่นั่ง นับว่าเป็นโรงละครเอกชนที่มีจำนวนที่นั่งมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย รองจากเมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ และโรงละครกาดสวนแก้ว

โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ
สยามพิฆเนศ
ชื่อเดิมสยามพิฆเนศ
ที่อยู่ชั้น 7 ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย
ชนิดโรงละครในร่ม
เปิดใช้9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เจ้าของบริษัท สยามพิฆเนศ จำกัด (ในเครือ เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ร่วมทุนกับธนาคารกสิกรไทย)
ความจุ1,069 ที่นั่ง
เว็บไซต์เว็บไซต์โรงละคร

ประวัติแก้ไข

เคแบงก์สยามพิฆเนศ เป็นโรงละครที่สร้างขึ้นโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) และมีธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้สนับสนุนหลัก สร้างขึ้นบนพื้นที่ชั้น 7 ของอาคารศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน เพื่อให้บุคคลที่มีความสามารถทางด้านศิลปวัฒนธรรมในประเทศไทยได้ใช้เพื่อส่งเสริมการแสดงศิลปวัฒนธรรมทั้งไทยและต่างประเทศออกมาในรูปแบบการแสดงหลากหลายประเภท[1]

ในเบื้องต้น สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าว โดยใช้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า Workpoint Center ซึ่งจะประกอบไปด้วยส่วนโรงละคร และส่วนสตูดิโอถ่ายทำรายการของช่องเวิร์คพอยท์เท่านั้น แต่ภายหลังได้ปรับปรุงรูปแบบโครงการใหม่ทั้งหมดและก่อสร้างเป็นโรงละครขนาดใหญ่รวมถึงได้กำหนดชื่ออย่างเป็นทางการว่า สยามพิฆเนศ ซึ่งมาจากคำสองคำ คือ "สยาม" อันหมายถึง นามเดิมของประเทศไทย, สยามสแควร์ ย่านที่ตั้งของศูนย์การค้า, ชื่อศูนย์การค้าที่เป็นที่ตั้งของโรงละคร และ "พิฆเนศ" ซึ่งเป็นหนึ่งในสร้อยพระนามเมื่อครั้งทรงดำรงพระยศ "กรมหมื่น" (กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ) ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ที่ตั้งของโครงการ อีกทั้งยังเป็นนามของเทพแห่งศิลปวิทยาการอีกด้วย ต่อมาในช่วงเปิดตัวโรงละครอย่างเป็นทางการได้เปลี่ยนชื่อเป็น เคแบงก์สยามพิฆเนศ ตามชื่อผู้สนับสนุนหลัก

พิธีเปิดโรงละครอย่างไม่เป็นทางการ จัดขึ้นในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 โดยใช้ตัวโรงละครเป็นสถานที่จัดงานแถลงข่าวเปิดตัว โหมโรง เดอะ มิวสิคัล และยังได้ครูเสนาะ หลวงสุนทร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ลูกศิษย์ของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ขึ้นมาบรรเลงระนาดเอกในเพลงสาธุการ และ แสนคำนึง เพื่อเป็นการทดสอบระบบเสียงภายในโรงละครเบื้องต้น ส่วนพิธีเปิดอย่างเป็นทางการมีขึ้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ปีเดียวกัน[2]

การจัดสรรพื้นที่แก้ไข

โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศมีการแบ่งพื้นที่จัดสรรดังนี้

  • โถงต้อนรับ ประกอบด้วย
    • ล็อบบี้ สเปช - ห้องโถงรับรองขนาดใหญ่ โดยรองรับการจัดกิจกรรม และนิทรรศการภายในพื้นที่ มีพื้นที่ทั้งหมด 367 ตารางเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
      • สเปช เอ (โถงเพดานสูง) - ตั้งอยู่ด้านหน้าทางขึ้น เดอะ ฟลอยเยอร์ ติดทางขึ้นจากส่วนหน้าชั้น 6 และลิฟต์แก้วของศูนย์การค้า เป็นที่ตั้งของจอ LED ขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมด 204 ตารางเมตร
      • สเปช บี (โถงเพดานต่ำ) - ตั้งอยู่ด้านหน้าทางขึ้น เดอะ เพลย์เฮาส์ ติดจากส่วนสเปช เอ มีพื้นที่ทั้งหมด 163 ตารางเมตร
    • จุดบริการของไทยทิกเก็ตเมเจอร์
    • เคแบงก์เธียเตอร์คาเฟ่ โดย ไฮด์
  • โรงละคร ประกอบด้วย
    • เดอะ ฟอยเยอร์ - ห้องโถงรับรองขนาดใหญ่ก่อนเข้าสู่ตัวโรงละคร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) และยังเป็นที่ตั้งของจอ LED สำหรับแสดงรอบกิจกรรมของทั้งโรงละคร เดอะ เธียเตอร์ และ เดอะ เพลย์เฮาส์ มีพื้นที่รวมทั้งหมด 252 ตารางเมตร
    • เดอะ เธียเตอร์ - เป็นโรงละครแบบโพรซีเนียมขนาดใหญ่แบบเดียวกับเมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ ความจุ 1,069 ที่นั่ง (ชั้นล่าง 698 ที่นั่ง ชั้นบน 355 ที่นั่ง รวม VIP Box อีก 16 ที่นั่ง)
    • เดอะ เพลย์เฮาส์ - เป็นโรงละครขนาดเล็กพื้นเรียบ ความจุ 200 ที่นั่ง รองรับการแสดง จัดการสัมมนา ประชุม การแสดงละคร และกิจกรรมในหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งยังสามารถดัดแปลงเป็นห้องประชุมสัมมนา และการสาธิตนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อีกด้วย
    • เดอะ สตูดิโอ - เป็นห้องเอนกประสงค์พื้นเรียบขนาด 84 ตารางเมตร ความจุ 40 ที่นั่ง รองรับการแสดงละครในรูปแบบโรงเล็กกลุ่มย่อย ห้องซ้อมละคร การประชุมสัมมนา หรือการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่จำกัดผู้เข้าร่วมงาน

กิจกรรมและการแสดงที่ผ่านมาแก้ไข

พ.ศ. 2558แก้ไข

พ.ศ. 2559แก้ไข

หมายเหตุ: มีการยกเลิกการแสดงในวันสุดท้าย (19 มิถุนายน พ.ศ. 2559) โดยผู้จัดแสดงความรับผิดชอบกับผู้ที่จองบัตรตั้งแต่เดือนมีนาคมและชำระเงินค่าบัตรเข้าชมซึ่งมีราคาตั้งแต่ 1,500 บาทขึ้นไป ในส่วนของผู้แสดงมายากล Cyril แจ้งกับผู้รอเข้าขมการแสดงว่าเขาต้องขอระงับการแสดงเนื่องจากเห็นว่าสถานที่จัดการแสดงไม่มีความปลอดภัยเพียงพอทั้งในส่วนของผู้แสดงและผู้เข้าชม จึงตัดสินใจยกเลิกการแสดง

  • ก๊วนคานทอง Love Game the Musical (22-31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559)
  • คอนเสิร์ตคุณพระช่วยสำแดงสด ๖ ยกสยาม (11-14 สิงหาคม พ.ศ. 2559)
  • TEDxBangkok 2016 (20 สิงหาคม พ.ศ. 2559)
  • TEDxChulalongkornU 2016 (4 กันยายน พ.ศ. 2559)
  • 10 ปีนิ้วกลม ทอล์กโชว์ไม่มีขา (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559)

พ.ศ. 2560แก้ไข

พ.ศ. 2561แก้ไข

  • Education Disruption Conference & Hackathon โดย Disrupt Thailand (30 มีนาคม - 1 เมษายน พ.ศ. 2561)
  • โหมโรง เดอะ มิวสิคัล 2561 (5 พฤษภาคม - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2561)
  • #ThailandforAttapeu คอนเสิร์ตการกุศลช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย แขวงอัตตะปือ สปป.ลาว. ด้วยความรัก และห่วงใยจากพี่น้องชาวไทย โดย BNK48 (31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561)
  • คอนเสิร์ตคุณพระช่วยสำแดงสด ๘ ฟื้นอโยธยา (10 - 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561)
  • บุปผาราตรี เกือบจะมิวสิคัล (20 ตุลาคม - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561)
  • คอนเสิร์ต BNK48 D-DAY Jiradapa Produced Concert จัดขึ้นโดยวง BNK48 (23 ตุลาคม พ.ศ. 2561)

พ.ศ. 2562แก้ไข

  • คอนเสิร์ต Kaew's First Solo Concert : A Passage to Fly จัดขึ้นโดยวง BNK48 (7-8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
  • ละครเวที ชายกลาง The Musical (25 พฤษภาคม - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2562)
  • คอนเสิร์ตคุณพระช่วยสำแดงสด ๙ รัตนโกสินทร์เรืองรอง (9 - 12 สิงหาคม พ.ศ. 2562)
  • ละครเวที A Message From an Emperor จัดขึ้นโดย Bangkok International Artists Guild (15-17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)
  • งาน Autumn of IDOL 2019 จัดขึ้นโดย Siamdol (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)
  • A KATANYU 2019 PRESENTS BULLY PLANET (16-17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)
  • Kyle Dixon & Michael Stein performing Stranger Things music จัดขึ้นโดย HAVE YOU HEARD? (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)
  • คอนฯ สู่เหย้าชาวคณะ Friday 22 ปี ยินดีที่ได้รู้จัก จัดขึ้นโดยวง ฟรายเดย์ (14-15 ธันวาคม พ.ศ. 2562)
  • Siamdol Christmas Live Party (ตั้งแต่ 11:30 น.) และ W. 1st One-man Live in Bangkok 2019 (ตั้งแต่ 17:30 น.) จัดขึ้นโดย Siamdol (21 ธันวาคม พ.ศ. 2562)
  • Mimigumo 1st Fanmeet "Secret of Mimigumo" จัดขึ้นโดยวง BNK48 (21-22 ธันวาคม พ.ศ. 2562)

พ.ศ. 2563แก้ไข

พ.ศ. 2565แก้ไข

  • ละครเวที สุนทราภรณ์ เพลงรักเพลงแผ่นดิน โดย เพลงเอก (12-14 สิงหาคม พ.ศ.2565)
  • ละครเวที สุนทราภรณ์ เพลงรักเพลงแผ่นดิน โดย เพลงเอก Restage (3-5 ธันวาคม พ.ศ.2565)

พ.ศ. 2566แก้ไข

  • คอนเสิร์ต คุณพระช่วยสำแดงสด ๑๑ ชีพจรลงเท้า (12-14 สิงหาคม พ.ศ. 2566)

อ้างอิงแก้ไข

  1. "ธนาคารกสิกรไทยได้ฤกษ์เบิกโรงอย่างยิ่งใหญ่เปิดโรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศสุดอลังการ". สยามดารา. 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 2021-04-06.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "เวิร์คพอยท์ร่วมกสิกรไทยได้ฤกษ์เบิกโรงละคร "สยามพิฆเนศ"". บริษัท มาร์เก็ตเทียร์ จำกัด. 2013-03-31. สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข