นายสุธา ชันแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร

สุธา ชันแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
ถัดไปชวรัตน์ ชาญวีรกูล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 มิถุนายน พ.ศ. 2503 (63 ปี)
เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพลังธรรม (พ.ศ. 2531–พ.ศ. 2542)
ไทยรักไทย (พ.ศ. 2542–พ.ศ. 2550)
พลังประชาชน (พ.ศ. 2550–พ.ศ. 2551)
ไทยสร้างไทย (พ.ศ. 2564–ปัจจุบัน)
คู่สมรสวีณา ชันแสง

ประวัติ แก้

สุธา ชันแสง เกิดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2503 ที่เขตหนองแขม โดยเป็นบุตรชายของกำนันในท้องที่ จบการศึกษาระดับมัธยมต้นจากโรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม มัธยมปลายจากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ระดับอุดมศึกษา ประกาศนียบัตรชั้นสูงด้านลอจิสส์ติก และการขนส่ง สหราชอาณาจักร (สาขาในประเทศไทย) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และวิทยาลัยรีพับลิกัน ประเทศฟิลิปปินส์ ในปี พ.ศ. 2527

เริ่มต้นเส้นทางทางการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) บางแค 2 สมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เขตภาษีเจริญ เขตหนองแขม ในสังกัดพรรคพลังธรรม 3 สมัย ในระหว่างปี พ.ศ. 2535 - 2539 จากนั้นได้ย้ายไปเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย และได้เป็น ส.ส. สังกัดพรรคไทยรักไทย 2 สมัย ในเขตหนองแขม 2 สมัย และพรรคพลังประชาชน เขตบางแค ภาษีเจริญ และหนองแขม 1 สมัย

หลังการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 นายสุธาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต่อมาไม่นาน นายสุธาได้ถูกตั้งข้อสงสัยในเรื่องวุฒิการศึกษาว่าอาจจะไม่จบปริญญาตรีจริงตามประวัติที่ให้ไว้ เนื่องจากตรวจพบว่า นายสุธาทำหนังสือเดินทางไปต่างประเทศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ซึ่งขัดกับประวัติที่ว่าจบการศึกษาจากรีพับลิกัน คอลเลจ ประเทศฟิลิปปินส์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 อีกทั้งสถาบันการศึกษาแห่งนี้ ก็ถูกเปิดเผยด้วยว่า เป็นสถาบันที่ไม่ได้มาตรฐาน และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ก็ไม่ได้ให้การรับรอง อีกทั้งการศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงก็ยังมีข้อต้องสงสัยอยู่อีกด้วย[1]

ชีวิตส่วนตัว สมรสกับนางวีณา ชันแสง มีบุตรด้วยกัน 2 คน

ในต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 นายสุธายังถูกตรวจพบอีกว่า มีการซุกบัญชีทรัพย์สินให้กับบุตรนอกสมรสโดยไม่ได้แจ้งแก่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) วันที่ 8 พฤษภาคม นายสุธาได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งเป็นที่เรียบร้อย โดยอ้างเหตุผลเรื่องสุขภาพ และต่อมาในเดือนกันยายน นายสุธา ได้ลาออกจากการเป็น ส.ส. ด้วย

ต่อมาในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551[2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. สื่อปินส์ตีข่าววุฒิการศึกษา “สุธา” สุดงง! แม้แต่ ม.ห้องแถวก็ผลิต รมต.ไทยได้[ลิงก์เสีย]
  2. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖

แหล่งข้อมูลอื่น แก้