พรรคสร้างอนาคตไทย
พรรคสร้างอนาคตไทย เป็นพรรคการเมืองไทย ปัจจุบันวิรัช วิฑูรย์เธียร เป็นหัวหน้าพรรค และนิทัศน์ ประทักษ์ใจ เป็นเลขาธิการพรรค
พรรคสร้างอนาคตไทย | |
---|---|
หัวหน้า | วิรัช วิฑูรย์เธียร |
รองหัวหน้า | ว่าง |
เลขาธิการ | นิทัศน์ ประทักษ์ใจ |
เหรัญญิก | กฤตยชญ์ ชัยบุตร |
นายทะเบียนสมาชิก | จำเรียง วงศ์กาฬสินธุ์ |
โฆษก | ว่าง |
กรรมการบริหาร |
|
นโยบาย |
|
คำขวัญ |
|
ก่อตั้ง | พรรครวมใจไทย[1] 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561 พรรคไทยรักราษฎร์ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2563 พรรคพลังไทยนำไทย 6 เมษายน พ.ศ. 2564 พรรคสร้างอนาคตไทย |
ที่ทำการ | 50/812 หมู่ 9 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 |
สมาชิกภาพ (ปี 2568) | 13,371 คน[2] |
สี | สีน้ำเงิน สีเขียว สีแดง สีทอง |

ประวัติ
แก้พรรคสร้างอนาคตไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ต่อมาคำนึงเลขาธิการพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคอีก 8 คนได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและหนังสือลาออกจากตำแหน่งทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลืออยู่ต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ[3]จากนั้นในวันที่ 18 พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2561 ได้มีการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 2/2561 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้แก้ไขข้อบังคับพรรคในส่วนของที่ทำการพรรคโดยให้ย้ายจากที่เดิมมาอยู่ที่ 1/21 ซอยสุภาพงษ์ 3 แยก 8 แขวงหนองบอน เขตประเวศ[4]
ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 22 กันยายน ปี พ.ศ. 2562 ที่ประชุมมีมติให้แก้ไขในส่วนของที่ทำการพรรคโดยให้ย้ายมาอยู่ที่ 158/80 หมู่ 3 หมู่บ้านสบาย สบาย ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[5] ต่อมาในการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2563 ที่ประชุมมีมติให้ย้ายที่ทำการพรรคมาอยู่ที่ 1/5 หมู่ 4 ตำบลช้างน้อย อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมกับเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่แทนชุดเดิมซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายนพดลเป็นหัวหน้าพรรคสมัยที่ 2 และเลือก จตุพล สิงห์มรกต เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่[6]
บทบาททางการเมือง
แก้ยุคพรรครวมใจไทย
แก้ในวันที่ 23 กันยายน ปี พ.ศ. 2563 คณะกรรมการบริหารพรรคจำนวน 6 คนได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลืออยู่ 3 คนต้องพ้นจากตำแหน่ง[7] ในการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2563 ที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรคไทยรักราษฎร์ เปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์พรรคพร้อมกับย้ายที่ทำการพรรคมาอยู่ที่ 1144/32 ซอยพัฒนาการ 30 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก สุพจน์ พลบุตร และ ศิริณี กันทา เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรค ส่วนนพดล อดีตหัวหน้าพรรครวมใจไทยดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการพรรค[8]
ยุคพรรคพลังไทยนำไทย
แก้ต่อมานพดลและคณะกรรมการบริหารพรรคอีก 6 คนได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลืออยู่ 3 คนต้องพ้นจากตำแหน่ง[9] จากนั้นในวันอังคารที่ 6 เมษายน ปี พ.ศ. 2564 ได้จัดการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2564 ซึ่งที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรคพลังไทยนำไทย พร้อมกับเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์พรรครวมถึงย้ายที่ทำการพรรคมาอยู่ที่ 96 หมู่ 5 ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก ธาราวุฒิ สืบเชื้อ และอธิวัฒน์ พัชรปรีชาพัฒน์ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรค ส่วนนพดลเป็นกรรมการบริหารพรรค[10] จากนั้นในวันที่ 9 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2564 นพดลได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค[11]
ยุคพรรคสร้างอนาคตไทย
แก้ต่อมาทางพรรคพลังไทยนำไทยได้ปรากฏเป็นข่าวว่าทาง กลุ่มสี่กุมาร ที่นำโดยอุตตม สาวนายน และสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ได้เตรียมเข้ามาบริหารพรรคเนื่องจากทางพรรคพลังไทยนำไทยได้ยื่นเรื่องขอเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรคสร้างอนาคตไทย ซึ่งทาง คณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ให้การรับรองเรียบร้อยแล้วโดยมีที่อยู่เพื่อติดต่ออยู่ที่ 50/812 หมู่ 9 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี[12] โดยทางพรรคสร้างอนาคตไทยได้เปิดตัวพรรคอย่างเป็นทางการในวันพุธที่ 19 มกราคม ที่ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และบางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์[13]
กระทั่งวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง รับรองการเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคจาก พลังไทยนำไทย มาเป็น สร้างอนาคตไทย คณะกรรมการบริหารพรรค และตราโลโก้พรรค รวมถึงข้อบังคับพรรค[14] ก่อนหน้านั้นในวันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์, สุพล ฟองงาม, วัชระ กรรณิการ์ ได้ทำการเปิดตัว นาวาอากาศเอก วิชัย ราชานนท์ เป็นว่าที่ผู้สมัคร สส. ขอนแก่น เขต 7[15] ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2565 วัชระ ในฐานะแกนนำพรรคสร้างอนาคตไทยได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวว่าในเดือนเมษายนทางพรรคจะจัดประชุมใหญ่เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่[16] ต่อมาพรรคสร้างอนาคตไทยได้ย้ายที่ทำการพรรคมาอยู่ที่ 2292 ถนนพระราม 9 แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง
ในวันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2565 อุตตม ได้โพสต์เฟซบุ๊กอวยพรเนื่องในวันสงกรานต์พร้อมกับประกาศว่าในวันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2565 ทางพรรคสร้างอนาคตไทยจะจัดการประชุมใหญ่ของพรรคเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่[17] โดยตามรายงานกระแสข่าวเบื้องต้นคาดว่า อุตตม จะเป็นหัวหน้าพรรค สนธิรัตน์ จะเป็นเลขาธิการพรรค ส่วนรองหัวหน้าพรรคคาดว่าจะเป็น นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ สุพล ฟองงาม, สุรนันทน์ เวชชาชีวะ, วิเชียร ชวลิต อดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐที่เพิ่งยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น สส.[18] และสันติ กีระนันทน์ โดยวิเชียร จะควบตำแหน่งผู้อำนวยการพรรค ส่วนสันติ จะควบตำแหน่งเหรัญญิกพรรค ทางด้านกรรมการบริหารพรรคคาดว่าจะเป็นอาทิตย์ ชุณหชัชราชัย นิทัศน์ ประทักษ์ใจ นริศ เชยกลิ่น ซึ่งจะควบตำแหน่งโฆษกพรรค และโชนรังสี เฉลิมชัยกิจ จะเป็นรองโฆษกพรรค[19]
สำหรับการประชุมใหญ่สามัญในครั้งนี้ทางพรรคสร้างอนาคตไทยได้ทำการเปิดตัวโลโก้พรรคใหม่[20] พร้อมกับเสนอชื่อสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไทย รวมถึงเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 16 คนแทนชุดเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากธาราวุฒิ สืบเชื้อ หัวหน้าพรรคได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเมื่อวันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2565 ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก นายอุตตม นายสนธิรัตน์ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่ สันติ กีระนันทน์ เป็นเหรัญญิกพรรค นิทัศน์ ประทักษ์ใจ เป็นนายทะเบียนสมาชิกพรรค โดยคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จะมีการประชุมนัดแรกในวันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2565[21][22] ซึ่งที่ประชุมมีมติแต่งตั้ง บุญส่ง ชเลธร เป็นรองเลขาธิการพรรค ตั้ง พงศ์พรหม ยามะรัต โชนรังสี เฉลิมชัยกิจ และ ธันวา ไกรฤกษ์ เป็นรองโฆษกพรรค[23]
ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 พรรคสร้างอนาคตไทย เปิดตัวสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ในตำแหน่งประธานพรรคสร้างอนาคตไทย โดยสมคิดฝากให้พรรคยึดหลักในการทำงานที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1. เป็นพรรคที่ดีมีอุดมการณ์ มีนโยบายที่ดี 2. เป็นพรรคที่มีนโยบายกอบกู้เศรษฐกิจเพื่อสร้างอนาคตประเทศ และ 3. เป็นพรรคที่มีความเป็นประชาธิปไตย เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญให้เกิดการกระจายอำนาจและงบประมาณ[24] กระทั่งวันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ได้มีกระแสข่าวว่าพรรคสร้างอนาคตไทยและพรรคไทยสร้างไทย นัดแถลงข่าวเพื่อประกาศการรวมพรรคในวันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2565[25] การแถลงข่าวในวันนั้นมีผลสรุปคือ ทั้งสองพรรคตกลงร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองระหว่างกัน แต่ยังไม่มีการควบรวมพรรคแต่ประการใด[26]
ต่อมาในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2566 อุตตมและสนธิรัตน์ได้ลาออกจากสมาชิกพรรคสร้างอนาคตไทย[27]และได้ย้ายไปร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566[28] ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลือต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ จากนั้นในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2566 พรรคสร้างอนาคตไทยได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2566 เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรคโดยย้ายที่ทำการพรรคกลับไปอยู่ที่ 50/812 หมู่ 9 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นที่ทำการพรรคในช่วงแรก พร้อมกับเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 9 คนซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกวิรัช วิฑูรย์เธียร และนิทัศน์ ประทักษ์ใจ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่[29]
ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2566 พรรคสร้างอนาคตไทยได้จัดประชุมเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคในส่วนของเหรัญญิกพรรคแทนตำแหน่งที่ว่าง ที่ประชุมมีมติเลือกกฤตยชญ์ ชัยบุตร อดีตกรรมการบริหารพรรคให้ดำรงตำแหน่งเหรัญญิกพรรคและเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคแทนตำแหน่งที่ว่างอีก 2 คน
บุคลากร
แก้หัวหน้าพรรค
แก้ลำดับ | ชื่อ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | |
พรรครวมใจไทย | ||||
1 | นพดล อมรเวช | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561 | 14 ตุลาคม พ.ศ. 2563 | |
พรรคไทยรักราษฎร์ | ||||
1 | สุพจน์ พลบุตร | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2563 | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 | |
พรรคพลังไทยนำไทย | ||||
1 | ธาราวุฒิ สืบเชื้อ | 6 เมษายน พ.ศ. 2564 | 6 เมษายน พ.ศ. 2565 | |
พรรคสร้างอนาคตไทย | ||||
1 | อุตตม สาวนายน | 20 เมษายน พ.ศ. 2565 | 29 มกราคม พ.ศ. 2566 | |
2 | วิรัช วิฑูรย์เธียร | 30 เมษายน พ.ศ. 2566 | ปัจจุบัน |
เลขาธิการพรรค
แก้ลำดับ | ชื่อ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | |
พรรครวมใจไทย | ||||
1 | คำนึง อิสโร | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561 | 10 กันยายน พ.ศ. 2561 | |
2 | จตุพล สิงห์มรกต | 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 | 14 ตุลาคม พ.ศ. 2563 | |
พรรคไทยรักราษฎร์ | ||||
1 | ศิริณี กันทา | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2563 | 6 มกราคม พ.ศ. 2564 | |
พรรคพลังไทยนำไทย | ||||
1 | อธิวัฒน์ พัชรปรีชาพัฒน์ | 6 เมษายน พ.ศ. 2564 | พ.ศ. 2565 | |
พรรคสร้างอนาคตไทย | ||||
1 | สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ | 20 เมษายน พ.ศ. 2565 | 29 มกราคม พ.ศ. 2566 | |
2 | นิทัศน์ ประทักษ์ใจ | 30 เมษายน พ.ศ. 2566 | ปัจจุบัน |
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรครวมใจไทย
- ↑ "ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 6 มกราคม 2568" (PDF).
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรครวมใจไทย
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรครวมใจไทย
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรครวมใจไทย
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรครวมใจไทย
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรครวมใจไทย
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักราษฎร์ (ชื่อเดิมพรรครวมใจไทย)
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักราษฎร์
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคพลังไทยนำไทย (ชื่อเดิมพรรคไทยรักราษฎร์)
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคพลังไทยนำไทย
- ↑ "รับรองพรรคอดีตสี่กุมาร เปลี่ยนชื่อจาก "พลังไทยนำไทย"". NationTV. 2022-01-05.
- ↑ "เปิดโฉม 25 ขุนพล "สร้างอนาคตไทย" พรรคทางเลือก ข้ามขัดแย้ง ฟื้นเศรษฐกิจ". bangkokbiznews. 2022-01-20.
- ↑ "ประกาศรับรองเปลี่ยนชื่อ "พรรคสร้างอนาคตไทย" แล้ว โลโก้รูปประเทศไทยสีทอง". www.thairath.co.th. 2022-02-24.
- ↑ "พรรคสร้างอนาคตไทยลุยเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร สส.ขอนแก่น". posttoday.com. 2022-02-13.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""วัชระ" เผย เม.ย.นี้ พรรคสร้างอนาคตไทย จ่อเปิดตัว กก.บห.-มือทำงานชุดใหญ่". www.thairath.co.th. 2022-03-19.
- ↑ Thongsak (2022-04-13). "เลิกกั๊ก! สร้างอนาคตไทยดีเดย์ 20 เม.ย.ประชุมใหญ่เปิดผู้บริหารพรรค". ThaiPost.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""วิเชียร ชวลิต" ลาออก "สส."พปชร."อุบร่วมงาน"สร้างอนาคตไทย"". posttoday.com. 2022-04-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พรรคสร้างอนาคตไทย เปิดขุนพล 20 เม.ย.นี้ "อุตตม" จ่อนั่งหัวหน้าพรรค". www.thairath.co.th. 2022-04-18.
- ↑ "'สร้างอนาคตไทย' เปิดตัวโลโก้ จับตาการประชุมวันนี้ ชูแคนดิเดตนายกฯ". มติชนออนไลน์. 2022-04-20.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Pornthida (2022-04-20). "เปิดชื่อ 16 กรรมการบริหารพรรคสร้างอนาคตไทย สมคิด แคนดิเดตนายกฯ". ประชาชาติธุรกิจ.
- ↑ "ตามคาด "อุตตม" นั่งหน.พรรคสร้างอนาคตไทย ถกนัดแรก 27 เม.ย.นี้ คาดวางตัวแคนดิเดตนายกฯ". www.thairath.co.th. 2022-04-20.
- ↑ ""สร้างอนาคตไทย" ตั้ง 11 กก.สรรหาผู้สมัครเลือกตั้ง เสริมทัพ รองเลขาฯ-ทีมโฆษก". bangkokbiznews. 2022-04-27.
- ↑ ""สมคิด" เปิดตัวรับนั่ง ปธ.สร้างอนาคตไทย ลั่นได้เป็นนายกฯหรือไม่ อยู่ที่ฟ้าลิขิต". mgronline.com. 2022-09-08.
- ↑ พรรคหญิงหน่อย-พรรคสมคิด ดีลลงตัว นัดแถลงควบรวมพรรคพรุ่งนี้
- ↑ ไม่ถึงขั้นควบรวม สร้างอนาคตไทย-ไทยสร้างไทย จับมือทำการเมือง หาทางออกประเทศ
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคสร้างอนาคตไทย
- ↑ "บิ๊กปัอม" เปิดตัว "อุตตม-สนธิรัตน์-พล.อ.วิชญ์" กลับพลังประชารัฐ วางตัวช่วยด้านเศรษฐกิจ
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคสร้างอนาคตไทย