ต่อพงษ์ ไชยสาส์น
ต่อพงษ์ ไชยสาส์น (เกิด 7 ตุลาคม พ.ศ. 2512) เป็นรองหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
ต่อพงษ์ ไชยสาส์น | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | พรรณสิริ กุลนาถศิริ |
ถัดไป | สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2512 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยสร้างไทย (2564–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ธัญญธร ไชยสาส์น |
ประวัติ
แก้ต่อพงษ์ ไชยสาส์น เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2512 เป็นบุตรของนายประจวบ ไชยสาส์น กับนางทองพูน ไชยสาส์น จบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถาบันกอล์ฟซานดิเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ระดับปริญญาโท ด้านการบริหารธุรกิจ จากวิทยาลัยอเมริกัน[1] และปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การทำงาน
แก้ต่อพงษ์ ไชยสาส์น ทำงานเป็นพนักงานธนาคารในช่วงแรก ต่อมาได้เข้าสู่งานการเมือง โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2550 เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ในช่วงที่เกิดความขัดแย้งไทย-กัมพูชา
ในปี พ.ศ. 2554 ได้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 121[2] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[3] ต่อมาถูกปรับออกจากตำแหน่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 [4]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 96[5]
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 36[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ในปี 2564 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคไทยสร้างไทย ซึ่งนำโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติผู้สมัคร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2011-06-15.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 3
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
- ↑ ส่อง 4 ภาค ขุนพล 'ไทยสร้างไทย'
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑