สุรวิทย์ คนสมบูรณ์
นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ (เกิด 23 เมษายน พ.ศ. 2492) เป็นแพทย์และนักการเมืองชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ 9 สมัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยภูมิ เขต 7 สังกัดพรรคเพื่อไทย
สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 18 มกราคม พ.ศ. 2555 (0 ปี 162 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สาทิตย์ วงศ์หนองเตย องอาจ คล้ามไพบูลย์ |
ถัดไป | วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มกราคม – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 (0 ปี 283 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ต่อพงษ์ ไชยสาส์น |
ถัดไป | ชลน่าน ศรีแก้ว |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 เมษายน พ.ศ. 2492 อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | ปานทิพย์ คนสมบูรณ์ |
ประวัติ
แก้นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2492[1] เป็นบุตรของนายทองพูน กับนางเข็มทอง คนสมบูรณ์ สมรสกับนางปานทิพย์ คนสมบูรณ์ (สกุลเดิม บุญโยประภาชัยกุล) มีบุตร 3 คน คือ นายจารุเดช คนสมบูรณ์ ดร.ภวรัตน์ คนสมบูรณ์ และนายธนวัฒน์ คนสมบูรณ์[2]
การศึกษา
แก้นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ และปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญานิติศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง สำเร็จการศึกษาอนุมัติบัตรผู้มีความรู้หรือความชำนาญ สาขาจักษุวิทยา จากแพทยสภา และปริญญาโทพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ F.I.CS, DCEH (London)[3]
นายแพทย์สุรวิทย์ รับราชการเป็นจักษุแพทย์ ประจำโรงพยาบาลชัยภูมิ กระทั่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ ระดับ 8 โรงพยาบาลชัยภูมิ และเป็นนายแพทย์ชนบทดีเด่นของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2525
งานการเมือง
แก้สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยภูมิ โดยได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 (มีนาคม) สังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับการเลือกตั้งต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 (กันยายน) การเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2539 ต่อมาได้ย้ายมาเข้าร่วมงานกับพรรคเสรีธรรมในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 และได้ย้ายมาเข้าร่วมงานกับพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ต่อจากนั้นได้ลาออกจากพรรคไทยรักไทยหลังเกิดการปฏิวัติ พ.ศ. 2549 แต่ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้เข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน จนกระทั่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยภูมิ เขต 7 สังกัดพรรคเพื่อไทย
เคยดำรงตำแหน่งทางการเมือง อาทิ เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ประธานคณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร
การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
แก้นายแพทย์สุรวิทย์ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ชุดที่ 60)[5][6] ทำหน้าที่กำกับดูแล สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค[7] ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข[8] แต่จากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน โดยสำนักเอแบคโพล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 เขาเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนไม่รู้จัก เป็นลำดับที่ 9[9] จนกระทั่งในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน จึงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ซึ่งมีนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว เข้ามารับตำแหน่งดังกล่าวแทน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-22. สืบค้นเมื่อ 2011-08-14.
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหนี้สินของรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-06. สืบค้นเมื่อ 2011-08-14.
- ↑ "ข้อมูลสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-05. สืบค้นเมื่อ 2011-08-14.
- ↑ พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 2
- ↑ "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งแล้ว! คณะรัฐมนตรี "ปู1″". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-09. สืบค้นเมื่อ 2011-08-14.
- ↑ "ครม.แบ่งงานรองนายก"เฉลิมดูยธ.-กฤษฎีกา-สตช. /กิตติรัตน์คุมศก./ยงยุทธ งานปกครอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-09-22.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
- ↑ "เปิดชื่อ 10 อันดับรัฐมนตรีที่ปชช.พอใจและ 10 อันดับรมต. โลกลืม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-09. สืบค้นเมื่อ 2013-02-10.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๕ มกราคม ๒๕๓๓
ก่อนหน้า | สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สาทิตย์ วงศ์หนองเตย องอาจ คล้ามไพบูลย์ |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ครม. 60) (9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 18 มกราคม พ.ศ. 2555) |
วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล นลินี ทวีสิน นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล |