พัฒนนิยม (อังกฤษ: Progressivism) เป็นปรัชญาการเมืองที่สนับสนุนการปฏิรูปสังคม[1] โดยอิงตามแนวคิดของความก้าวหน้า ที่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การพัฒนาเศรษฐกิจ และการจัดระเบียบทางสังคม มีความสำคัญต่อการปรับปรุงสภาพการเป็นอยู่ของมนุษย์ พิพัฒนาการนิยมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในช่วงยุคเรืองปัญญาในยุโรป จากความเชื่อที่ยุโรปกำลังแสดงให้เห็นว่าสังคมสามารถก้าวหน้าในความสุภาพจากสภาพที่อนารยะเป็นอารยะได้ผ่านการเสริมสร้างหลักฐานเชิงประสบการณ์พื้นฐานในฐานะรากฐานของสังคม[2] คนสำคัญแห่งยุคเรืองปัญญาเชื่อว่าความก้าวหน้านั้นเป็นสากลกับทุกสังคมและความคิดเหล่านี้จะกระจายไปทั่วโลกจากยุโรป[2]

ความคิดทางการเมืองร่วมสมัยของพัฒนนิยมได้ถูกนำไปผูกกับแนวคิดการแทรกแซงทางเศรษฐกิจ และเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดจากอุตสาหกรรมในโลกตะวันตกในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 พัฒนนิยมใช้มุมมองที่ว่าความคืบหน้าถูกยับยั้งโดยความ ไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจมากมายระหว่างคนรวยและคนจน ทุนนิยมแบบปล่อยให้ทำไปที่มีการควบคุมน้อยกับบริษัทที่ผูกขาด และความขัดแย้งที่รุนแรงบ่อยครั้งระหว่างนายทุนและลูกจ้าง โดยอ้างว่าจำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้[3]

ความหมายของพัฒนนิยมนั้นแตกต่างกันไปตามเวลาและจากมุมมองที่แตกต่างกัน พัฒนนิยมในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ถูกเชื่อมโยงกับสุพันธุศาสตร์และการเคลื่อนไหวแบบพอประมาณ ซึ่งทั้งคู่เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนและเป็นการริเริ่มเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายนั้น ซึ่งต่างจากพัฒนนิยมยุคแรกเริ่มที่ถูกเชื่อมโยงกับเสรีนิยมทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ[4][5][6][7][8] พัฒนนิยมร่วมสมัยส่งเสริมนโยบายสาธารณะที่พวกเขาเชื่อว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเชิงบวก ในศตวรรษที่ 21 การเคลื่อนไหวพัฒนนิยมคือ "การเคลื่อนไหวทางสังคมหรือการเมืองที่มีเป้าหมายเพื่อเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของคนธรรมดาสามัญ ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และการสนับสนุนการกระทำของรัฐบาล"[9]

อ้างอิง

แก้
  1. "Progressivism in English". Oxford English Dictionary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2019. สืบค้นเมื่อ 2 May 2017.
  2. 2.0 2.1 Harold Mah. Enlightenment Phantasies: Cultural Identity in France and Germany, 1750–1914. Cornell University. (2003). p. 157.
  3. Nugent, Walter (2010). Progressivism: A Very Short Introduction. Oxford University Press. p. 2. ISBN 9780195311068.
  4. "Prohibition: A Case Study of Progressive Reform". Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 2017-10-04.
  5. Leonard, Thomas (2005). "Retrospectives: Eugenics and Economics in the Progressive Era" (PDF). Journal of Economic Perspectives. 19 (4): 207–224. doi:10.1257/089533005775196642. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2017.{{cite journal}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  6. Roll-Hansen, Nils (1989). "Geneticists and the Eugenics Movement in Scandinavia". The British Journal for the History of Science. 22 (3): 335–346. doi:10.1017/S0007087400026194. JSTOR 4026900. PMID 11621984.
  7. Freeden, Michael (2005). Liberal Languages: Ideological Imaginations and Twentieth-Century Progressive Thought. Princeton: Princeton University Press. pp. 144–165. ISBN 978-0691116778.
  8. James H. Timberlake, Prohibition and the Progressive Movement, 1900–1920 (1970)
  9. "Progressivism". The Cambridge English Dictionary. 24 June 2020. Retrieved 3 May 2020.