เจริญ จรรย์โกมล
เจริญ จรรย์โกมล (เกิด 1 เมษายน พ.ศ. 2503) อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ 7 สมัย สังกัดพรรคเพื่อไทย ปัจจุบันสังกัดพรรคไทยสร้างไทย
เจริญ จรรย์โกมล | |
---|---|
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (2 ปี 129 วัน) | |
ก่อนหน้า | สามารถ แก้วมีชัย |
ถัดไป | สุชาติ ตันเจริญ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 เมษายน พ.ศ. 2503 อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ความหวังใหม่ (2533–2535) ชาติไทย (2535–2544) ไทยรักไทย (2544–2549) พลังประชาชน (2549–2551) เพื่อไทย (2551–2561, 2562–2566) ไทยรักษาชาติ (2561–2562) ไทยสร้างไทย (2566–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้เจริญ (ชื่อเล่น ป๋อง) [1] เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2503 ที่อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ[2]เป็นบุตรของบุญ กับแพร จรรย์โกมล[3] จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนภูมิวิทยา จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนภูเขียว และจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
เจริญเริ่มมีแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองเมื่อได้เข้าไปศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา และได้ทำกิจกรรมต่างๆทั้งภายในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัย อาทิเช่น เคยลงสมัครเป็นประธานชมรมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง เคยเป็นนักโต้วาทีตัวแทนมหาวิทยาลัย เคยร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยในช่วงที่เป็นนักศึกษา เช่น เข้าอบรมรับฟังนโยบายพรรค เดินติดโปสเตอร์ช่วยพรรคหาเสียง โดยนายเจริญมีความชื่นชอบในแนวคิดและหลักการของพันเอก สมคิด ศรีสังคม หัวหน้าพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย และได้ยึดเป็นต้นแบบในการเจริญรอยตาม
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 เขาและบุตรชาย นาย ธนกฤต จรรย์โกมล ได้เดินทางสมัครเป็นสมาชิกพรรคไทยสร้างไทย[4]
การทำงาน
แก้เจริญ จรรย์โกมล ประกอบอาชีพเป็นทนายความ และเริ่มต้นเข้าสู่งานการเมืองโดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยภูมิ ในการเลือกตั้ง เดือนกันยายน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคชาติไทย ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทยตามลำดับ
เจริญ จรรย์โกมล เคยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร 3 คณะ คือ ประธานคณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ ประธานคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรม และประธานคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1[5]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 12 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง[6]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต 6 จังหวัดชัยภูมิ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคพลังประชาชน → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ เจริญ จรรย์โกมล ย้อนชีวิตเด็กบ้านนอกสู่รองประธานสภา มติชนออนไลน์
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง
- ↑ รายการแสดงทรัพย์สินและหนี้สินกรณีพ้นจากตำแหน่ง ส.ส. ครบ 1 ปี 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557[ลิงก์เสีย]
- ↑ "พรรคไทยสร้างไทย เปิดตัวนายเจริญ จรรย์โกมล อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ..." thainews.prd.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-29. สืบค้นเมื่อ 2023-10-29.
- ↑ เจริญ จรรย์โกมล รองปธ.สภาคนที่ 1
- ↑ เปิด 108 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ไทยรักษาชาติ ติดบ่วงยุบพรรค
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์พรรคเพื่อไทย เก็บถาวร 2011-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน