วันชัย สอนศิริ
วันชัย สอนศิริ (เกิด 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497) เป็นนักการเมืองและทนายความชาวไทย ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา [1] เป็นนักพูด ผู้บรรยายเรื่องกฎหมายทั่วไปของสภาทนายความ มีชื่อเสียงมาจากการให้ความรู้ทางกฎหมาย ในวิทยุคลื่นร่วมด้วยช่วยกัน ต่อมาเป็นผู้จัดรายการเล่าข่าว จากข่าวหนังสือพิมพ์ โดยสอดแทรกความรู้ด้านกฎหมาย และเรื่องขำขัน ทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และยูบีซี โดยจัดรายการคู่กับ ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช ทั้งคู่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในชื่อ "สองทนาย" หรือ "ทนายคู่หู" ในรายการร่วมมือร่วมใจทางทีไอทีวีแต่ได้ออกมาในปี พ.ศ. 2550 หลังการเปลี่ยนโครงสร้างสถานีของไอทีวีเป็นทีไอทีวี
วันชัย สอนศิริ | |
---|---|
![]() | |
สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 (67 ปี) |
คู่สมรส | นันทนา สอนศิริ |
ศาสนา | พุทธ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ประวัติแก้ไข
นายวันชัยเคยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตกรุงเทพมหานคร เขต 1 (เขตพระนคร และ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย) สังกัด พรรคชาติพัฒนา ในการเลือกตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2544แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง [2]
ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนกฎหมายอยู่ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, นักจัดรายการคุยสบายๆกับทนายวันชัยทางสถานีวิทยุคลื่นFM.98 MHz ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ 15.00 - 17.00 น.คู่กับมัลลิกา บุญมีตระกูล เคยเป็นพิธีกรรายการ “9 ร่วมใจ คนไทยไม่ทิ้งกัน” ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ซึ่งปฐมทัศน์เมื่อวันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ 10.05 -11.00 น.
ปัจจุบัน เป็นพิธีกรร่วมกับ รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ในรายการ "รู้ทันประเทศไทย" ทาง เอเอสทีวี นิวส์วัน และรายการ "คลายปม" ทางสทท.11 ซึ่งปฐมทัศน์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 และได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในแบบสรรหาเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2554[3]
ด้านชีวิตส่วนตัว สมรสกับนางนันทนา สอนศิริ มีบุตรสาวด้วยกัน 2 คน
การศึกษาแก้ไข
- มัธยมศึกษา โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย
- ปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ประกาศนียบัตรการอบรมกฎหมายภาษีอากร ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายและบัญชีรุ่นที่ 1 ของ ศาลภาษีอากรกลางและสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการ กระทรวงยุติธรรม
- ประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารในระดับสูง สถาบันพระปกเกล้า
การทำงานแก้ไข
- พ.ศ. 2532-2535 กรรมการทนายความ ภาค 1 และรองเลขาธิการสภาพทนายความ
- ปี พ.ศ. 2535-2538 เลขาธิการสภาทนายความ
- ปี พ.ศ. 2541-2544 เลขาธิการสภาทนายความ
- ปี พ.ศ. 2528-2532 สมาชิกเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
- ปัจจุบัน เลขาธิการสภาทนายความ
- อนุกรรมการพัฒนากฎหมายเยาวชน สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมประสานงานเยาวชนแห่งชาติ
- ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย รัตตกุล)
- ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายกร ทัพพะรังสี)
- พิธีกรรายการ “แจ้งความ” ไอทีวี
- วิทยากรรายการ “ชาวกรุงร้องทุกข์” เนชั่นทีวีและTTV
- กรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงแรงงาน
- หัวหน้าสำนักงานทนายความวันชัย สอนศิริ
- อนุกรรมการป้องปรามการละเมิดสิทธิ์ของผู้บริโภค สคบ.
- อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต
- วิทยากรตอบกฎหมายในรายการวิทยุโทรทัศน์หลายแห่ง
ผลงานแก้ไข
รายการโทรทัศน์แก้ไข
- แจ้งความ
- คนหัวหมอ (2545-2550)
- ร่วมมือร่วมใจ
- หัวหมอจ้อข่าว
- ตีข่าวเล่าความ
- 9 ร่วมใจ คนไทยไม่ทิ้งกัน
- รู้ทันประเทศไทย
- คลายปม
- ก๊วนซ่าประมาณว่า
- ถอนพิษ
รางวัลเกียรติยศแก้ไข
- โล่เกียรติคุณ “คนดีของสังคม” จากสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน FM96 MHz โดยนายพิจิตต รัตตกุล
- ประกาศ เกียรติคุณเป็นบุคคลที่ได้ทำคุณประโยชน์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ประจำปี 2546 จากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี
- รางวัลเชิดชูเกียรติผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์ “เมขลา”ครั้งที่ 22 ประจำปี 2545 ในฐานะผู้ดำเนินรายการ “แจ้งความ” ทางไอทีวี จากสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2563 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2556 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2560 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[6]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/205/111.PDF
- ↑ https://web.archive.org/web/20010124045300/http://www.dola.go.th:80/Election/Result/Informal/cc10.html ], คำอธิบายเพิ่มเติม.
- ↑ เปิด! 73 รายชื่อ ส.ว.สรรหา จากวอยซ์ทีวี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ หน้า ๑๔ เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข, ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาถรณ์ เล่ม ๑๓๔ ตอน ๔๘ ข ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐ หน้า ๓