พิจิตต รัตตกุล
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พิจิตต รัตตกุล ชื่อเล่น โจ อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์)[2] อดีตหัวหน้าพรรคถิ่นไทย และเคยดำรงตำแหน่งอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
พิจิตต รัตตกุล ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร | |
ดำรงตำแหน่ง 3 มิถุนายน พ.ศ. 2539 – 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 | |
ก่อนหน้า | กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา |
ถัดไป | สมัคร สุนทรเวช |
อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช | |
ดำรงตำแหน่ง 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 | |
ก่อนหน้า | รองศาสตราจารย์ ดร.บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย |
ถัดไป | รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อนันต์ มโนมัยพิบูลย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 สิงหาคม พ.ศ. 2489 อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2539) ถิ่นไทย (พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2545) มหาชน (พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2548) รวมใจไทยชาติพัฒนา (พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551) |
คู่สมรส | ชารียา ปิณฑกานนท์[1] |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติแก้ไข
พิจิตต รัตตกุล หรือ ดร.พิจิตต รัตตกุล เกิดเมื่อ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2489 เป็นบุตรของนายพิชัย รัตตกุล และ คุณหญิงจรวย รัตตกุล[3] สมรสกับ ชารียา ปิณฑกานนท์ มีลูกสาว 2 คน ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ด้วยคะแนน 768,994 คะแนน ในชื่อของกลุ่มมดงาน (ซึ่งภายหลังบางส่วนได้จัดตั้งเป็นพรรคถิ่นไทย และ ดร.พิจิตต ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค)
ดร.พิจิตต รัตตกุล เคยลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ถึง 3 ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2535 ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2539 ได้รับเลือกตั้ง และครั้งที่สาม ในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ไม่ได้รับการเลือกตั้ง และเคยลงรับสมัครสมาชิกวุฒิสภา หรือ สว. กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 ก็ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ทั้งนี้ ดร.พิจิตต รัตตกุล มีภาพลักษณ์ของนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเป็นผู้ออกกฎหมายห้ามทิ้งขยะในที่สาธารณะระหว่างดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ดร.พิจิตต รัตตกุล ได้รับปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2540[4]
ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2550 ดร.พิจิตตได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ในเขต 8 กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วยเขตสวนหลวง ประเวศ บางนา พระโขนง สังกัดพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา คู่กับ ดร.จิรากรณ์ คชเสนี และ ดร.เกษมสันต์ วีระกุล ซึ่งไม่ได้รับเลือกตั้งทั้ง 3 คน
ในต้นปี พ.ศ. 2551 ดร.พิจิตตได้ประกาศลาออกจากพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา เนื่องจากไม่เห็นด้วยที่พรรคจะไปร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน และในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552 ดร.พิจิตตก็ได้ช่วยหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ เบอร์ 2 หาเสียงด้วย
ในปี พ.ศ. 2555 ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร (ปัจจุบันชื่อมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช)[5] อันเป็นสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร[6]
ในปี พ.ศ. 2557 ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ[7]
ในปี พ.ศ. 2559 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำคุก 5 ปี ในคดีจัดซื้อที่จอดรถ กทม.[8]ซึ่งต่อมาศาลฎีกาได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแก้ยกฟ้อง ดร.พิจิตต รัตตกุล ในคดีดังกล่าว เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2562 [9]
การศึกษาแก้ไข
- ระดับมัธยมศึกษา : โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- ระดับปริญญาตรี : คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาชีววิทยา
- ระดับปริญญาโท : สาขาชีววิทยาทางอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยบริกแฮมยัง สหรัฐอเมริกา
- ระดับปริญญาเอก : สาขาชีววิทยาทางอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยบริกแฮมยัง สหรัฐอเมริกา
การทำงานแก้ไข
- ผู้อำนวยการบริหารแห่งมูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center)
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงาน
- อาจารย์ประจำ ระดับ 5 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- กรรมการผู้จัดการเครดิตฟองซิเอร์สากลสยาม
- กรรมการผู้จัดการบริษัท เซเว่นอัพ บอตตลิ่ง ( กรุงเทพ) จำกัด
- ผู้จัดการโรงงานบริษัท เยาวราช จำกัด
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2545 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[12]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ พิจิตต รัตตกุล
- ↑ คำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ ๕๒/๒๕๓๖ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายพิจิตต รัตตกุล เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)
- ↑ "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2013-01-17. สืบค้นเมื่อ 2011-05-05.
- ↑ ดร.พิจิตต รัตตกุล ได้รับปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร (นายพิจิตต รัตตกุล)
- ↑ ย่อยข่าว กทม. หน้า 25, เดลินิวส์ฉบับที่ 23,016: พฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง
- ↑ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
- ↑ จำคุก 5 ปี " พิจิตต รัตตกุล " คดีจัดซื้อที่จอดรถ กทม.
- ↑ "ยกฟ้อง!"ดร.พิจิตต"คดีทุจริตจัดซื้อที่จอดรถขยะ". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2019-09-26. สืบค้นเมื่อ 2019-09-26.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- นายพิจิตต รัตตกุล Archived 2008-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | พิจิตต รัตตกุล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
รศ.ดร.บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย | อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (22 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559) |
รศ.นพ.อนันต์ มโนมัยพิบูลย์ | ||
ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา | ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (3 มิถุนายน พ.ศ. 2539 - 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2543) |
สมัคร สุนทรเวช |