พระยาคำฟั่น[1] หรือ พระญาคำฝั้น[2][3] ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ออกพระนามว่าเจ้ามหาสุภัทรราชะ ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 1 [4] ระหว่างปี พ.ศ. 2357 - พ.ศ. 2358 และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 3 ระหว่างปี พ.ศ. 2365 - พ.ศ. 2368 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร

พระยาคำฟั่น
พระยาลำพูนไชย
ครองราชย์18 กันยายน พ.ศ. 2357 - พ.ศ. 2358
ถัดไปพระเจ้าบุญมา
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระยานครเชียงใหม่
ครองราชย์พ.ศ. 2366 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2368
ก่อนหน้าพระยาธรรมลังกา
ถัดไปพระยาพุทธวงศ์
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
อุปราชพระยาพุทธวงศ์
พระยาอุปราชนครเชียงใหม่
ดำรงพระยศพ.ศ. 2358 - พ.ศ. 2366
ก่อนหน้าพระยาธรรมลังกา
ถัดไปพระยาพุทธวงศ์
เจ้าหลวงพระยาธรรมลังกา
เกิดพ.ศ. 2299
อสัญกรรม13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2368 (71 ปี)
ราชเทวีแม่เจ้าเนตรนารีไวย
แม่เจ้าคำแปง
หม่อม14 ท่าน
พระนามเต็ม
เจ้ามหาสุภัทรราชะ
พระบุตร44 องค์
ราชสกุลณ เชียงใหม่
ราชวงศ์ทิพย์จักร
เจ้าบิดาเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว
เจ้ามารดาแม่เจ้าจันทาราชเทวี

พระราชประวัติ แก้

พระยาคำฟั่น เป็นราชโอรสลำดับที่ 8 ในเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว ผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 2 กับแม่เจ้าจันทา และเป็นพระราชนัดดา (หลานปู่) ในพระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) กับแม่เจ้าพิมพา ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์ทิพย์จักร (เชื้อเจ้าเจ็ดตน)

พระยาคำฟั่น เป็นพระอนุชาของพระเจ้ากาวิละ มีพระเชษฐา พระอนุชาและพระขนิษฐา รวม 10 พระองค์ (หญิง 3 ชาย 7) (เจ้าชายทั้ง 7 พระองค์ได้ทรงช่วยกันต่อสู้อริราชศัตรูขยายขอบขัณฑสีมาล้านนาออกไปอย่างเกรียงไกร เป็นเหตุให้มีพระสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน") มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

  1. พระเจ้ากาวิละ พระเจ้านครเชียงใหม่ พระองค์ที่ 1 (นับเป็น "เจ้านครลำปาง องค์ที่ 3" ในราชวงศ์ทิพย์จักร
  2. พระยาคำโสม พระยานครลำปาง องค์ที่ 4
  3. พระยาธรรมลังกา พระยานครเชียงใหม่ องค์ที่ 2
  4. พระเจ้าดวงทิพย์ พระเจ้านครลำปาง องค์ที่ 5
  5. เจ้าศรีอโนชา พระอัครชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
  6. เจ้าสรีวัณณา (ถึงแก่พิราลัยแต่เยาว์)
  7. พระยาอุปราชหมูล่า
  8. พระยาคำฝั้น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 และ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1
  9. เจ้าสรีบุญทัน (ถึงแก่กรรมแต่เยาว์)
  10. พระเจ้าบุญมา พระเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 2

เจ้าคำฝั้นเษกสมรสกับแม่เจ้าตาเวย ราชธิดาในเจ้าฟ้าเมืองยางแดง (หรือเมืองกันตะระวดี) อันเป็นดินแดนกะเหรี่ยงที่รุ่งเรืองและร่ำรวยมากไปด้วยไม้ขอนสักอันล้ำค่า ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้รับพระราชทานพระนามอันเป็นมงคลยิ่งแก่แม่เจ้าตาเวย ว่า "แม่เจ้าเนตรนารีไวย" แม่เจ้าตาเวยได้รับมรดกส่วนพระองค์ ในฐานะธิดาเจ้าฟ้าเมืองยางแดง เป็นที่ดินป่าไม้ขุนยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 400,000 กว่าไร่ ซึ่งปัจจุบันที่ดินดังกล่าวราชสำนักสยามได้ตัดสินให้เป็นป่าไม้ชั้น 2

เจ้าคำฟั่น ได้รับแต่งตั้งเป็นพระยาราชวงศ์[5]เมืองเชียงใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต่อมา จ.ศ. 1176 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระดำริให้รื้อฟื้นเมืองลำพูนไชยซึ่งร้างอยู่ให้กลับเป็นเมือง จึงโปรดเกล้าเลื่อนพระยาราชวงศ์คำฟั่นเป็นพระยาลำพูนไชย ครองเมืองลำพูนตั้งแต่วันพฤหัสบดี ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 11 ศกนั้น[6] ปีต่อมาทรงเลื่อนพระยาลำพูนคำฟั่นเป็นพระยาอุปราชเมืองเชียงใหม่[7] ถึง จ.ศ. 1185 จึงโปรดให้เลื่อนเป็นพระยาเชียงใหม่[8] มีพระนามว่าเจ้ามหาสุภัทรราชะ[9] หรือ เจ้ามหาสุภัทราราช[10]

พระยาคำฝั้น ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันแรม 8 ค่ำ เดือน 8 จ.ศ. 1187 ปีระกา[11] ตรงกับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2368 แต่ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ระบุว่าเป็นวันแรม 11 ค่ำ เดือน 5 ตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2368 สิริอายุได้ 71 ปี[12]

ราชโอรส ราชธิดา แก้

พระยาคำฟั่น มีราชโอรสและราชธิดา รวม 44 พระองค์ อยู่ในราชตระกูล ณ เชียงใหม่ และ ณ ลำพูน มีพระนามตามลำดับ ดังนี้[13]

การครองนครเชียงใหม่ แก้

เจ้าหลวงเชียงใหม่แห่ง
ราชวงศ์ทิพย์จักร
 พระเจ้ากาวิละ
 พระยาธรรมลังกา
 พระยาคำฟั่น
 พระยาพุทธวงศ์
 พระเจ้ามโหตรประเทศ
 พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
 พระเจ้าอินทวิชยานนท์
 เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์
 เจ้าแก้วนวรัฐ

เมื่อพระยาคำฟั่น ครองเมืองเชียงใหม่ ได้เกิดการทะเลาะวิวาทกับเจ้าราชวงศ์สุวัณคำมูน ทำให้บรรดาขุนนางได้ไปเชิญเจ้าดวงทิพย์ และเจ้าบุญมา มาประนีประนอมการวิวาทครั้งนี้ โดยแนะนำให้พระยาคำฟั่น เสด็จออกผนวชวัดเชียงมั่น แล้วไปจำพรรษาที่วัดสวนดอก จากนั้นได้มีการปล่อยรถม้าเสี่ยงทายหาเจ้าหลวงองค์ใหม่ แต่รถม้าดังกล่าวกลับมาหยุดอยู่ที่บริเวณหน้าวัดสวนดอก ซึ่งเป็นที่ประทับของพระยาคำฝั้น เหลาบรรดาเจ้านาย และขุนนางจึงได้อัญเชิญพระยาคำฝั้น ให้ลาสิกขาบทกลับมาครองนครเชียงใหม่อีกครั้ง[2]

ในช่วงรัชกาลของพระยาคำฟั่น เป็นช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต และกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี ใน พ.ศ. 2367 และพระยาหลวงฯ ประชวรในขณะที่ส่งพระยาอุปราชพุทธวงศ์และเจ้านายบางส่วนไปเฝ้ารัชกาลที่ 3 เมื่อล้นเกล้ารัชกาลที่ 3 ทรงทราบถึงอาการเจ็บป่วย จึงได้จัดส่งแพทย์หลวงมารักษาแต่อาการก็ไม่ดีขึ้น จนถึงวันอาทิตย์ เดือนห้า แรม 11 ค่ำ ในเวลาบ่าย พระยาคำฟั่นก็ถึงแก่พิราลัย ในจุลศักราช 1186 (ตรงกับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2368) สิริอายุรวม 69 ปี และพระยาอุปราชพุทธวงศ์ ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 4 โดยมีเจ้าหนานมหาวงศ์ บุตรพระยาธรรมลังกาเป็นพระยาอุปราช และเจ้าน้อยมหาพรหม บุตรพระยาคำฟั่น เป็นพระยาราชวงศ์เชียงใหม่สืบไป[2]

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. วงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่, บรรณาธิการ, เจ้าหลวงเชียงใหม่ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2539, เชียงใหม่ : คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่
  2. 2.0 2.1 2.2 "พระญาคำฝั้น เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 3". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-17. สืบค้นเมื่อ 2011-11-04.
  3. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 348
  4. เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 1[ลิงก์เสีย]
  5. วรชาติ มีชูบท (2556) เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊ค หน้า 4
  6. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย, หน้า 95
  7. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย, หน้า 96
  8. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย, หน้า 97
  9. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี, หน้า 160
  10. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, หน้า 215
  11. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย, หน้า 98
  12. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, หน้า 219
  13. วรเทวี (ณ ลำพูน) ชลวณิช. เจ้าหลวงลำพูน กรุงเทพฯ : อัมรันทร์พริ้นติ้ง. 2552
  14. พิเชษ ตันตินามชัย. "เจ้าหญิงเชียงใหม่" ศิลปวัฒนธรรม 26 : 2 ธันวาคม 2547.
บรรณานุกรม
  • ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่ : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, 2538. 320 หน้า. ISBN 974-8150-62-3
  • ประชากิจกรจักร, พระยาพงศาวดารโยนก. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2557. 496 หน้า. ISBN 978-616-7146-62-1
  • มหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ), พระยา. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2505. 35 หน้า. [พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระพิจิตรโอสถ (รอด สุตันตานนท์)]
  • อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด เค วัยอาจ (ปริวรรต). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : ตรัสวิน, 2543. 220 หน้า. ISBN 9747047683


ก่อนหน้า พระยาคำฟั่น ถัดไป
-   เจ้าผู้ครองนครลำพูน
(พ.ศ. 2357 - พ.ศ. 2358)
  พระเจ้าบุญมา
พระยาธรรมลังกา   เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
(5 พฤษภาคม พ.ศ. 2365 — 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2368)
  พระยาพุทธวงศ์