ลินดา เชิดชัย
ลินดา เชิดชัย (เกิด 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2504) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ[1] สังกัดพรรคเพื่อชาติ อดีตผู้แทนการค้าไทย ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคเพื่อไทย และอดีตเลขาธิการพรรคเพื่อชาติ
ลินดา เชิดชัย | |
---|---|
ผู้แทนการค้าไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
เลขาธิการพรรคเพื่อชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 – 10 กันยายน พ.ศ. 2565 | |
ก่อนหน้า | ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ |
ถัดไป | จารุพล เรืองสุวรรณ |
ดำรงตำแหน่ง 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 3 เมษายน พ.ศ. 2564 | |
ก่อนหน้า | รัชชสรา แก้วเกิดมี |
ถัดไป | ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา |
พรรคการเมือง | พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–2561) เพื่อชาติ (2561–2566) |
คู่สมรส | อัสนี เชิดชัย |
ประวัติ
แก้ลินดา เชิดชัย เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ที่อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรของนายเอี่ยม ประกายศรีโรจน์ กับ นางเฮียะ แซ่เรียน[2] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการตลาด จากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
ลินดา เชิดชัย สมรสกับนายอัสนี เชิดชัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย และทายาทกลุ่มธุรกิจรถโดยสาร[3]
การทำงาน
แก้ลินดา เชิดชัย อดีคเคยรับราชการประจำกรมการค้าภายใน ตั้งแต่ปี 2536-2540 และเป็นเลขานุการ รมช.การคลัง (นายประภัตร โพธสุธน) จากนั้นให้เป็นที่ปรึกษา รมช.เกษตรแสหกรณ์ (นายประวัฒน์ อุตโมท) นางลินดาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดนครราชสีมา ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคพลังประชาชน ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 แต่มาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนการค้าไทย ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[4] เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (พงศ์เทพ เทพกาญจนา) ในปี พ.ศ. 2556 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง)
นางลินดา ได้เข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อชาติ และรับตำแหน่งเลขาธิการพรรค ในปี พ.ศ. 2561 และได้รับเลือกอีกครั้งในปี 2564
ในปี พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อชาติ[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-25.
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำแหน่ง ส.ส. ครบ 1 ปี 09/05/2555[ลิงก์เสีย]
- ↑ ศึกเขต3โคราช"ลินดา เชิดชัย" สะใภ้ "เจ๊เกียว" ชิงชัยรดต้นคอ"ประเสริฐ บุญชัยสุข"ศิษย์ก้นกุฏิ"สุวัจน์"
- ↑ "แจก'63เก้าอี้'ข้าราชการการเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 2011-09-15.
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 10 May 2019.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๓๐, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖