กิตติรัตน์ ณ ระนอง
กิตติรัตน์ ณ ระนอง (เกิด 3 สิงหาคม พ.ศ. 2501) ชื่อเล่น โต้ง เป็นว่าที่ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย อดีตประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี (เศรษฐา ทวีสิน)[1] อดีตอดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[2] อดีตประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคด้านเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย อดีตประธานสโมสรฟุตบอลพราม แบงค็อก อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ[3] ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยชินวัตร อดีตสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ 2549
กิตติรัตน์ ณ ระนอง | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (2 ปี 271 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ดูรายชื่อ
| |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สุเทพ เทือกสุบรรณ |
ถัดไป | ประวิตร วงษ์สุวรรณ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร วิษณุ เครืองาม |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มกราคม พ.ศ. 2555 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (2 ปี 109 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล |
ถัดไป | สมหมาย ภาษี |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 18 มกราคม พ.ศ. 2555 (0 ปี 162 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | พรทิวา นาคาศัย |
ถัดไป | บุญทรง เตริยาภิรมย์ |
ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (รอพระบรมราชโองการแต่งตั้ง) | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 (0 ปี 24 วัน) | |
ก่อนหน้า | ปรเมธี วิมลศิริ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2501 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2552–2567) |
คู่สมรส | เกสรา ณ ระนอง |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้กิตติรัตน์ ณ ระนอง (ชื่อเล่น: โต้ง) เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2501 เป็นบุตรของเก่ง ณ ระนอง และวิลัดดา (สกุลเดิม หาญพานิช) สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนอัสสัมชัญ, มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, ระดับปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2523 และปริญญาโทจากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับเกสรา ณ ระนอง (สกุลเดิม ธนะภูมิ) บุตรสาวของพลเอก พร และ เรณี ธนะภูมิ มีบุตร 3 คน คือ ต้น, ต่อ และตรี ณ ระนอง[4]
การทำงาน
แก้งานธุรกิจ
แก้กิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นนักธุรกิจชาวไทย และเคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หลังพ้นตำแหน่งได้เป็นกรรมการในคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)[5] ในระหว่างปี พ.ศ. 2549 ถึงปี พ.ศ. 2551[4]
ในเดือนกันยายน 2567 กิตติรัตน์ ณ ระนอง ถูกเสนอชื่อเป็นประธานคณะกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย[6]
งานด้านการศึกษา และการกีฬา
แก้กิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นอาจารย์สอนในระดับอุดมศึกษาเคยดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการของสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างปี พ.ศ. 2549 ถึงปี พ.ศ. 2553 และอธิการบดีมหาวิทยาลัยชินวัตร ในระหว่างปี พ.ศ. 2553 ถึงปี พ.ศ. 2554[4]
รวมทั้งเคยเป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลชาติไทย ชุด 14 ปี 2002 , ชุดเอเชียนเกมส์ 2006 , ทีมชาติชุดใหญ่ 2008
ในปี พ.ศ. 2566 กิตติรัตน์ ณ ระนอง ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสโมสรฟุตบอลพราม แบงค็อก ในไทยลีก 3[7]
งานการเมือง
แก้ในปี พ.ศ. 2554 กิตติรัตน์ ณ ระนองได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี (ด้านเศรษฐกิจ)[8] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[9] ปลายปีเดียวกันสื่อมวลชนสายทำเนียบรัฐบาลได้ร่วมกันตั้งฉายาให้นักการเมืองประจำปี ซึ่งกิตติรัตน์ได้รับฉายาว่า "ปุเลง...นอง" จากกรณีที่กิตติรัตน์ร้องไห้เมื่อคราวน้ำเข้าท่วมนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคในปี พ.ศ. 2554
ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 กิตติรัตน์ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พ้นจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[10] จากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว กิตติรัตน์ได้กล่าวต่อสื่อมวลชนว่าข้อมูลตัวเลขเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่แถลงต่อสื่อมวลชนไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง หรือเรียกว่าเป็น "โกหกสีขาว" ต่อมาได้รับการกล่าวถึงในความเหมาะสม และผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของชาวต่างชาติที่มีต่อประเทศไทยจนนำไปสู่ประเด็นหนึ่งในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา
กิตติรัตน์ ณ ระนอง ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยจากที่ประชุมใหญ่พรรคเพื่อไทยเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555[11]
วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 กิตติรัตน์ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องในการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยขาดความชอบธรรม[12]
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 11[13] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ในปี พ.ศ. 2563 เขาได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[14] และต่อมาในปี พ.ศ. 2566 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งให้กิตติรัตน์ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี[1]
วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 คณะกรรมการคัดเลือกประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเลือก นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติ และ จะนำเดินการเสนอชื่อต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเมื่อคณะรัฐมนตรี เห็นชอบแล้ว ให้ทูลเกล้าฯ เพื่อทรงแต่งตั้ง[15]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[16]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[17]
- พ.ศ. 2553 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[18]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของกิตติรัตน์ ณ ระนอง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 ""เศรษฐา" เซ็นตั้ง 9 ที่ปรึกษานายกฯ "กิตติรัตน์" นั่ง ประธาน พ่วงชื่อ "เทวัญ-พิมล-พิชิต"". ไทยรัฐ. 15 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 'จารุพงษ์'ผงาดนั่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
- ↑ 4.0 4.1 4.2 บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง[ลิงก์เสีย]
- ↑ "คณะกรรมการ ก.ล.ต." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-09. สืบค้นเมื่อ 2011-08-11.
- ↑ "'กิตติรัตน์' เต็งประธานบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่ กรรมการสรรหานัดเคาะชื่อ ต.ค." bangkokbiznews. 2024-09-17.
- ↑ พราม แบงค็อกเปิดตัวสู้ศึกไทยลีก 3 ตั้ง "บิ๊กโต้ง-กิตติรัตน์" นั่งแท่นปธ.สโมสร
- ↑ แบ่งงานรองนายกฯ "ยงยุทธ" เป็นเบอร์ 1 "เฉลิม" คุมสื่อ-ตำรวจ "โกวิท" ดูแลข่าวกรอง-สมช. เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก มติชน
- ↑ พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 1
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย (จำนวน 19 ราย)
- ↑ เปิดรายชื่อ รมต. ตกเก้าอี้พร้อมยิ่งลักษณ์ ข่าวไทยรัฐ ออนไลน์
- ↑ เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
- ↑ ""กิตติรัตน์ ณ ระนอง " นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ คนที่ 5". Thai PBS.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๙, ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๓, ๕ มิถุนายน ๒๕๕๕
พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (จำนวน ๑,๙๘๒ ราย) |
ก่อนหน้า | กิตติรัตน์ ณ ระนอง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ไตรรงค์ สุวรรณคีรี | รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ (9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557) |
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล | ||
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (18 มกราคม พ.ศ. 2555 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557) |
สมหมาย ภาษี | ||
พรทิวา นาคาศัย | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 18 มกราคม พ.ศ. 2555) |
บุญทรง เตริยาภิรมย์ |
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:1