ปลอดประสพ สุรัสวดี

อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย

ปลอดประสพ สุรัสวดี (เกิด 3 มีนาคม พ.ศ. 2488) เป็นนักการเมืองและข้าราชการพลเรือนชาวไทย เขาเคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง ทั้งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปัจจุบันมีบทบาทสำคัญภายในพรรคเพื่อไทย โดยเป็นรองหัวหน้าพรรค และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรค ในช่วงที่เป็นข้าราชการเขายังเคยดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้อำนวยการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี และศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ

ปลอดประสพ สุรัสวดี
ดร.ปลอดประสพ ในปี 2555
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าวีระชัย วีระเมธีกุล
ถัดไปวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล
รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ก่อนหน้าวิโรจน์ เปาอินทร์
(หัวหน้าพรรค)
ถัดไปสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
(หัวหน้าพรรค)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 มีนาคม พ.ศ. 2488 (79 ปี)
จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติไทย (2517—2533)
ความหวังใหม่ (2533—2543)
ไทยรักไทย (2543—2550)
พลังประชาชน (2550—2551)
เพื่อไทย (2551—ปัจจุบัน)
คู่สมรสธัญญา สุรัสวดี
ลายมือชื่อ

ประวัติ

แก้

ปลอดประสพ เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2488 เป็นบุตรของหลวงอนุการนพกิจ (ปรารภ สุรัสวดี)[1] กับคุณหญิงกรองทอง สุรัสวดี (สกุลเดิม: วณิกนันทน์; ต่อมาเปลี่ยนชื่อสกุลเป็น หัสดิน)[2] ต้นตระกูลของบิดาเป็นยกกระบัตรเมืองนางรอง[1] และตัวหลวงอนุการนพกิจผู้บิดานั้น เป็นเจ้าเมืองชัยภูมิคนที่ 24[3] ส่วนมารดาเป็นธิดาคนโตของพระยาหัสดินอำนวยศาสตร์ ธรรมวิลาสวรสภาบดี อดีตประธานศาลอุทธรณ์ (สาย วณิกนันทน์) กับคุณหญิงเลื่อน หัสดินอำนวยศาสตร์[2]

ปลอดประสพ จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จบปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประมงจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จบปริญญาโทบริหารการประมงจากมหาวิทยาลัยโอเรกอนสเตทในสหรัฐอเมริกา จบปริญญาเอกนิเวศวิทยาจากมหาวิทยาลัยมานีโตบาในแคนาดา ได้รับปริญญาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เป็นดุษฎีบัณฑิตเทคโนโลยีการประมงที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเป็นดุษฎีบัณฑิตประมงที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับธัญญา สุรัสวดี (สกุลเดิม: ประชาศรัยสรเดช) บุตรีเจ้าเกรน ประชาศรัยสรเดช กับเจ้าไข่มุกต์ ประชาศรัยสรเดช สืบเชื้อสายมาจากอดีตเจ้าผู้ครองนครแพร่ มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายปิ่นสาย สุรัสวดี รองปลัดกระทรวงการคลัง และ ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง [4] และมีศักดิ์เป็นอาของ จรัสพงษ์ สุรัสวดี หรือซูโม่ตู้ นักแสดงชื่อดัง

การทำงาน

แก้

ปลอดประสพ สุรัสวดี รับราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทั่งได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมประมง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายและฟื้นฟูทะเลไทย อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) และเป็นอธิบดีกรมป่าไม้ ต่อมาได้รับตำแหน่งปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ในปี พ.ศ. 2548 นายปลอดประสพก่อนเกษียณอายุ ได้เข้ารับตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หลังจากที่คณะกรรมการของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ พิจารณาว่านายปลอดประสพไม่มีผิดทางวินัยจากอนุมัติการส่งออกเสือโคร่ง 100 ตัวไปยังประเทศจีน แม้ว่าก่อนหน้านั้นคณะกรรมการของ พลตำรวจเอก จุมพล มั่นหมายจะวินิจฉัยว่านายปลอดประสพมีความผิดก็ตาม ในปีต่อมานายปลอดประสพตำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรมตามลำดับ

สมัย พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งปลด ดร.ปลอดประสพออกจากราชการในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2548 โดยการชี้มูลความผิดจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในกรณีที่ปลอดประสพได้ลงนามอนุมัติคำขอส่งออกเสือโคร่ง 100 ตัว ของบริษัทสวนเสือศรีราชา (ศรีราชา ไทเกอร์ ซู) ไปยังสวนสัตว์ซอนยาประเทศจีน ซึ่ง ป.ป.ช. ได้พิจารณาว่าเจตนาดังกล่าวไม่ได้เป็นไปเพื่อการวิจัยตามกล่าวอ้างและถือเป็นความผิดขั้นร้ายแรง[5] อย่างไรก็ดีในภายหลัง นายปลอดประสพได้นำ พ.ร.บ. ล้างมลทิน พ.ศ. 2550 เพื่อขอใช้สิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชาชน และได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (สมัคร สุนทรเวช) ต่อมาภายหลังได้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ต่อมาคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาว่า พรบ.ล้างมลทิน พ.ศ. 2550 มาตรา 6 ระบุมิให้ลงโทษกับผู้ซึ่งได้รับการลงโทษหรือได้รับพิจารณาว่าไม่มีความผิดไปแล้ว ซึ่งในกรณีนี้ปลอดประสพเคยได้รับการพิจารณาว่าไม่มีความผิดและนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ให้ความเห็นชอบและยุติเรื่อง ในการนี้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จึงได้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ จึงถือว่าปลอดประสพ ไม่เคยถูกคำสั่งลงโทษ ต่อมาปลอดประสพได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ก่อนได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรัฐบาลของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554[6] และได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลงานของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กบอ.) ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555[7]

อนึ่งปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นผู้อำนวยการคนแรกของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โดยรับผิดชอบในแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวทางทะเลของไทยภายหลังภัยพิบัติคลื่นสึนามิ เป็นผู้ก่อตั้งและดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) และเป็นผู้ก่อตั้งเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี

นอกจากนี้ปลอดประสพ สุรัสวดีถือครองที่ดินมากที่สุดในคณะรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รวมมูลค่า 807,542,000 บาท [8]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 10[9] ซึ่งการเลือกตั้งในครั้งนั้นถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้เป็นโมฆะ เนื่องจากไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งทั้งราชอาณาจักรในวันเดียวกันได้ ซึ่งขัดรัฐธรรมนูญ[10]

วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ปลอดประสพ สุรัสวดี ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องในการโยกย้ายถวิล เปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยขาดความชอบธรรม[11]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 7[12] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

กรณีการปฏิบัติหน้าที่มิชอบเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง

แก้

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560 ปลอดประสพ สุรัสวดี ถูกศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง มีคำพิพากษา จำคุก 1 ปี แต่รอลงอาญา 2 ปี และปรับ 20,000 บาท ฐานปฏิบัติหน้ามี่มิชอบ กรณีเมื่อปี 2546 ขณะดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีคำสั่งปี 2546 สั่งยกเลิกการขึ้นดำรงตำแหน่งของนายวิฑูรย์ ชลายนนาวิน โจทก์ ในตำแหน่ง ผอ.สำนัก ( นักวิชาการป่าไม้ 9 ) โดยมิชอบ โดยศาลยังมีคำสั่งให้นายปลอดประสพ จำเลยต้องชดใช้เงินทดแทนความเสียหายโจทก์ด้วย 1.4 ล้านบาท[13]

ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 ต้องคำพิพากษาถึงที่สุด (ฎีกา) ให้ลงโทษจำคุกปี 8 เดือน (ติดคุกทันที/ไม่รอลงอาญา)เนื่องจากศาลเห็นว่าการโยกย้ายตำแหน่งดังกล่าวไม่เป็นธรรมและทำลายระบบคุณธรรม-ธรรมาภิบาล คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวโดยสรุป คือ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้ว เห็นว่า การกระทำของนายปลอดประสพ จำเลย ขณะดำรงตำแหน่งปลัด ทส. ที่ให้นายดำรงค์ออกคำสั่งใหม่ให้นายวิฑูรย์ (โจทก์) ย้ายไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัดอำนาจเจริญนั้น เป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนระดับ 8 เป็นการย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ต่ำกว่าระดับเดิม และเป็นการโยกย้ายโดยเร่งด่วน ไม่ได้หารือต่อคณะกรรมการ ที่จำเลยอ้างว่ามีปัญหาเรื่องตำแหน่งใหม่ของโจทก์

เมื่อมีการโอนย้ายสังกัดกรมป่าไม้จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาสังกัดกระทรวงทรัพยากรฯ ซึ่งจากคำเบิกความของพยานที่ตอบคำถามยังได้ความว่าตำแหน่ง ผอ.สำนักงานวิชาการ 9 นั้น ก็จะมีกระบวนการสรรหาผู้มีคุณสมบัติซึ่งโจทก์ก็มีคุณสมบัติ จึงต่างจากที่จำเลยอ้าง

ดังนั้นการออกคำสั่งยกเลิกการแต่งตั้งโจทก์ และการย้ายนายดำรงค์มาในตำแหน่งทับซ้อนกับโจทก์จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้ได้รับความเสียหายและทางเจริญก้าวหน้าในอาชีพของโจทก์ ซึ่งการแต่งตั้งโยกย้ายระบบราชการนอกจากความเหมาะสมแล้วจะต้องคำนึงถึงคุณธรรมและธรรมาภิบาล แต่เมื่อพิจารณาจากพฤติการณ์ของจำเลยแล้ว เป็นการกระทำที่ทำลายระบบคุณธรรมและธรรมาภิบาลในระบบราชการ จึงไม่ควรรอการลงโทษ และที่ศาลอุทธรณ์ฯ กำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย 1.4 ล้านบาทนั้นเหมาะสมแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

ศาลฎีกาจึงพิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายตามมาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 ฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ ให้จำคุกรวม 1 ปี 8 เดือน โดยให้ออกหมายคดีถึงที่สุดด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ปลอดประสพ สุรัสวดี เคยได้รับและถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์[14] ชั้นสูงสุดตระกูลต่างๆ ดังนี้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "พระยา "ปลอดประสพ" ผู้เจรจาลับ กับคนในตระกูล 100 ปี". ประชาชาติธุรกิจ. 16 กันยายน 2553. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา (2544). ประวัติครู คุรุสภาจัดพิมพ์เนื่องในวันครู 16 มกราคม พ.ศ. 2544 (PDF). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. p. 63. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-03-28. {{cite book}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  3. "คำเตือนพระยา "ปลอดประสพ" แสลงหู "คุณชายสุขุมพันธุ์" ปีหน้าก็ท่วมอีก ล้านเปอร์เซ็นต์!! และไอเดียเพื่อไทย-นิวไทยแลนด์". มติชนออนไลน์. 3 พฤศจิกายน 2554. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  5. ชงฟัน "ปลอดประสพ" คดีส่งเสือโคร่งไปจีนคม ชัด ลึก ฉบับวันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2550
  6. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 3
  7. พระบรมราชโองการประกาศ ใหรัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรีราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนพิเศษที่ 164 ง วันที่ 28 ตุลาคม 2555 หน้า 1
  8. "ท็อป 10 รมต.ปู ครองที่ดิน "ปลอด"รวยสุด "เหลิม"ติดโผที่เยอะอันดับสาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-08. สืบค้นเมื่อ 2013-06-06. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  9. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  10. "มติศาล รธน. 6 ต่อ 3 ชี้การเลือกตั้ง 2 ก.พ. เป็นโมฆะ". Manager. 2014-03-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-22. สืบค้นเมื่อ 2014-03-21. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  11. เปิดรายชื่อ รมต. ตกเก้าอี้พร้อมยิ่งลักษณ์ ข่าวไทยรัฐ ออนไลน์
  12. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  13. คุก”ปลอดประสพ”1 ปี คดียกเลิกตำแหน่ง”วิฑูรย์ ชลายนนาวิน”ชดใช้ 1.4 ล้าน
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า 4 เล่ม 138 ตอน 10 1 มีนาคม 2564
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๘, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๗
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๕, ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๘๔, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๓, ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า ปลอดประสพ สุรัสวดี ถัดไป
วีระชัย วีระเมธีกุล    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ครม. 60)
(9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555)
  วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล
วิโรจน์ เปาอินทร์    
รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
(3 กรกฎาคม - 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562)
  สมพงษ์ อมรวิวัฒน์