วิโรจน์ เปาอินทร์

อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย

พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ต.จ.ว. (เกิด 7 ธันวาคม พ.ศ. 2476) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[1] เป็นประธานชั่วคราวของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 ในการประชุมครั้งแรกเพื่อเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากเป็นผู้ที่มีอายุมากที่สุดของสภาในขณะนั้น รวมถึงเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง พรรคชาติไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลชวน หลีกภัย และอดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล

วิโรจน์ เปาอินทร์
วิโรจน์ ใน พ.ศ. 2562
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
11 เมษายน – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
(0 ปี 212 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
7 เมษายน – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
(0 ปี 48 วัน)
นายกรัฐมนตรีสุจินดา คราประยูร
ก่อนหน้าเจริญจิตต์ ณ สงขลา
ถัดไปวีระ ปิตรชาติ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 142 วัน)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดอ่างทอง
ดำรงตำแหน่ง
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548
(9 ปี 187 วัน)
เขตเลือกตั้งทั้งจังหวัด (2538, 2539)
อำเภอเมืองอ่างทอง, อำเภอป่าโมก และอำเภอวิเศษชัยชาญ (ยกเว้นตำบลม่วงเตี้ย) (2544)
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
28 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
(0 ปี 247 วัน)
ก่อนหน้าจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
ถัดไปสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 ธันวาคม พ.ศ. 2476 (90 ปี)
อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ประเทศสยาม
พรรคการเมืองเสรีมนังคศิลา (2498–2500)
ประชาธิปัตย์ (2500–2501)
ประชากรไทย (2535–2539)
ชาติไทย (2539–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2554–ปัจจุบัน)
คู่สมรสวินิจ เปาอินทร์
ลายมือชื่อ

ประวัติ

แก้

พลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ที่อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นบุตรของนายเซ้ง กับนางกี เปาอินทร์ [2] และเป็นอดีตสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลสำเหร่[3]

พล.ต.ท.วิโรจน์ สมรสกับนางวินิจ เปาอินทร์ ผู้พิพากษาสมทบ ศาลเด็กจังหวัดพระนครศรีอยุธยา[4] มีบุตรชายได้แก่พันตำรวจโท นราวิทย์ เปาอินทร์ ผู้อำนวยการโรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต อดีตผู้อำนวยการโรงพิมพ์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ พันตำรวจเอก อนันต์ เปาอินทร์

งานการเมือง

แก้

พลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง จากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2538, 2539 และ 2544 เขาเคยสังกัดพรรคประชากรไทย และพรรคชาติไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์ โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)[5] และก่อนที่เกษียณอายุ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี 2 สมัย คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร[6] และเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ในปี พ.ศ. 2543 แต่ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 พลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ กลับพ่ายการเลือกตั้งให้กับนางสาวเพ็ญชิสา หงษ์อุปถัมภ์ชัย ผู้สมัครหน้าใหม่จากพรรคไทยรักไทย

ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เขาลงสมัคร ส.ส. ในระบบสัดส่วนลำดับที่ 5 ของกลุ่มที่ 7 ในสังกัดพรรคพลังประชาชน[7] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 พลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ ได้ร่วมเป็นกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองของรัฐสภา[8] ต่อมาได้เข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย และรับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[9] จากนั้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 17 ของพรรคเพื่อไทยด้วย[10]พลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ ได้ร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร โดยดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการคนที่ 4 ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และเป็นประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งจากกรรมการบริหารพรรคให้ทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[11] แทนยงยุทธ วิชัยดิษฐ ที่ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 119[12]

วิโรจน์ เปาอินทร์ ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี ส.ส. ไม่ปฏิบัติตามมติพรรคร่วมฝ่ายค้านของพรรคเพื่อไทย

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 1[13] และได้รับการเลือกตั้ง ทั้งนี้ เนื่องจากเขาเป็นผู้ที่มีอายุมากที่สุดของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 เขาจึงเป็นประธานชั่วคราวในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก เพื่อเลือกประธานและรองประธานสภาฯ ต่อไป[14]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

วิโรจน์ เปาอินทร์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 'จารุพงษ์'ผงาดนั่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[ลิงก์เสีย]
  2. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-06. สืบค้นเมื่อ 2010-08-20.
  3. อดีตสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลสำเหร่[ลิงก์เสีย]
  4. บัญชีแสดงรายการรัพย์สินและหนี้สินของ พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์[ลิงก์เสีย]
  5. ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 26 (เป็นปฏิวัติโดยแท้ เรื่อง ให้อายัดและห้ามจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สิน)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
  7. รายชื่อผู้สมัครส.ส.ระบบสัดส่วน : พรรคพลังประชาชน
  8. คำสั่งรัฐสภา แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ[ลิงก์เสีย]วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
  9. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  10. "รายชื่อผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-02-05. สืบค้นเมื่อ 2021-10-01.
  11. "เพื่อไทยตั้ง "วิโรจน์ เปาอินทร์" นั่งรักษาการ หน.พรรค นัดประชุมเลือกตัวจริง 30 ต.ค." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-06. สืบค้นเมื่อ 2012-10-08.
  12. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  13. "เลือกตั้ง 2566 : เปิดลำดับบัญชีรายชื่อ 100 คน "พรรคเพื่อไทย"". pptvhd36.com.
  14. "เปิดประวัติ "วิโรจน์ เปาอินทร์" ส.ส.อาวุโสสูงสุด ว่าที่ ปธ.สภาฯ ชั่วคราว". ไทยพีบีเอส. 2023-06-20. สืบค้นเมื่อ 2023-06-21.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๕
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๔๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๖
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๒๐, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๒๗ ง หน้า ๒๒๔๑, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
ก่อนหน้า วิโรจน์ เปาอินทร์ ถัดไป
สุขวิช รังสิตพล
อำนวย วีรวรรณ
กร ทัพพะรังสี
มนตรี พงษ์พานิช
สมัคร สุนทรเวช
ทักษิณ ชินวัตร
วีรพงษ์ รามางกูร
สุวิทย์ คุณกิตติ
   
รองนายกรัฐมนตรี
(11 เมษายน พ.ศ. 25439 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543)
  ชวลิต ยงใจยุทธ
สุวิทย์ คุณกิตติ
เดช บุญ-หลง
ปองพล อดิเรกสาร
พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
กร ทัพพะรังสี
จาตุรนต์ ฉายแสง
ยงยุทธ วิชัยดิษฐ
(หัวหน้าพรรค)
   
รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
(8 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555)
  จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
(หัวหน้าพรรค)
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ    
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
(16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561
(รักษาการ)
28 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562)
  ปลอดประสพ สุรัสวดี
(รักษาการ)